เรื่องเด่น

การสร้างความ เชื่อมโยง

พล.ร.อ. สก็อต เอช. สวิฟต์ ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก สนับสนุนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ตามโครงการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาโดยทหารเรือระดับล่าง

น.ท. ทอม อ็อกเดน/กองทัพเรือสหรัฐฯ

พล.ร.อ. สก็อต เอช. สวิฟต์

โครงการบริดจ์เริ่มต้นขึ้นที่กองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก เพื่อให้ทหารเรือ 140,000 นายสามารถแบ่งปันวิธีการแก้ปัญหาเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง พรืเ ระ ีย ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกองทัพเรือโดยเฉพาะ โครงการบริดจ์จะเป็นแนวทางให้กับทหารเรือในการทำให้แนวคิดต่าง ๆ กลายเป็นวิธีการที่ใช้ได้จริง

พล.ร.อ. สก็อต เอช. สวิฟต์ ผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก ได้ให้การสนับสนุนโครงการนี้ที่จะช่วยขยายเครือข่ายกองทัพเรือเพื่อให้เกิดแนวคิดและการทำงานร่วมกันโดยการเพิ่มความก้าวหน้าทางการศึกษา การสร้างความขีดความสามารถ การกระตุ้นความเชื่อมโยง และการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

โครงการบริดจ์ยังสนับสนุนให้ทหารเรือมองสภาพแวดล้อมในการทำงานของตนด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์ มองว่าความท้าทายคือโอกาสมิใช่อุปสรรค โครงการบริดจ์ส่งเสริมความสามารถของทหารเรือในการสร้างและรักษาวัฒนธรรมการเปลี่ยนแปลง แรงบันดาลใจและความคิดที่สร้างสรรค์

กล่าวง่าย ๆ ก็คือ โครงการบริดจ์คือความเชื่อและพันธสัญญา ความเชื่อที่ว่าความคิดที่ดีที่สุดนั้นอาจมาจากที่ใดก็ได้ และพันธสัญญาที่ว่าจะไม่มีทหารเรือนายใดต้องหาวิธีการแก้ปัญหาโดยลำพัง

ภารกิจและเป้าหมาย

ภารกิจของโครงการบริดจ์คือการสำรวจ ค้นหา และพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวกับกองเรือโดยตรง เป้าหมายของโครงการบริดจ์คือการกำหนดพื้นที่สำหรับกองทัพเรือในการใช้ประโยชน์จากส่วนเกินทางปัญญาของกำลังพลทั้งหมด โดยการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการสู้รบ ตั้งแต่แนวคิดไปจนถึงการสร้างต้นแบบและโครงการที่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของโครงการบริดจ์คืออนาคตที่ทหารเรือสหรัฐฯ ทุกนายสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาของกองเรือโดยการสร้างแนวคิด ปรับปรุงแนวคิดและพัฒนา

แนวคิดของตนอย่างอิสระผ่านทางเสาหลักสำคัญสี่ประการ ได้แก่ การศึกษาการ การเชื่อมโยง การสร้างความเชื่อมั่นและการเปลี่ยนแปลง รากฐานนี้จะช่วยให้ผู้บัญชาการทหารเรือมุ่งเน้นความก้าวหน้าทางด้านการทำสงคราม การเรียนรู้ที่รวดเร็วขึ้น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทัพเรือและการสร้างความร่วมมือ รากฐานดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวทางของผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกในการดำรงรักษากองกำลังที่มีความยืดหยุ่น การเตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้ การเสริมสร้างความสงบเรียบร้อยระหว่างประเทศ การเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือ การใช้โอกาสและการแสดงกำลังอำนาจ

พล.ร.อ. สก็อต เอช.
สวิฟต์ ตอบคำถามของทหารเรือที่ปฏิบัติหน้าที่บนเรือยูเอสเอส สเตเร็ตต์ และเรือยูเอสเอส ดิวอี ซึ่งเป็นเรือพิฆาตติดขีปนาวุธนำวิถีชั้นอาร์ลีห์ เบิร์ก ที่ฐานทัพร่วมเพิร์ลฮาร์เบอร์-ฮิกแคมในรัฐฮาวาย เมื่อเดือนมษายน พ.ศ. 2560 [จ.อ. ไบรอน ซี. ลินเดอร์/กองทัพเรือสหรัฐฯ]
โครงการนำร่องเริ่มต้นขึ้นใน พ.ศ. 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม ซึ่งประกอบไปด้วยชุดกิจกรรมที่มีสีสันที่ทหารเรือและกะลาสีเรือที่เป็นพลเรือนทุกคนสามารถเข้าร่วมได้ที่เกาะโอวาฮู รัฐฮาวาย กิจกรรมแรกคือการประชุมเชิงปฏิบัติการในด้านการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่รวดเร็วเพื่อให้ทหารเรือเรียนรู้วิธีการสร้างแนวคิดและนำเสนอแนวคิดของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรมต่อมาจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมนำเสนอแนวคิดแก่กลุ่มผู้ชมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีการประเมินผลการปฏิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงแต่ตัดสินเนื้อหาแนวคิดของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงการนำเสนอแนวคิดอีกด้วย

จากกิจกรรมเหล่านี้ มีทหารเรือสองนายได้รับเลือกให้บรรยายสรุปต่อผู้บัญชาการกองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกและผู้นำระดับสูงคนอื่น ๆ ของกองทัพเรือในแปซิฟิกเกี่ยวกับแนวคิดของตน การนำแนวคิดไปสร้างเป็นต้นแบบ และวิธีการพัฒนาแนวคิดให้กลายเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ โครงการบริดจ์ได้จัดให้ทหารเรือเหล่านี้ทำงานร่วมกับที่ปรึกษาที่ช่วยให้คำแนะนำในเรื่องการหาองค์กรที่จะให้เงินทุนสนับสนุนและทดสอบแนวคิดของตนต่อไป

ปัจจุบัน โครงการนี้ดำเนินมาจนถึงปีที่สองและยังคงประสบความสำเร็จอย่างสูงเช่นเดิม โครงการบริดจ์จะยังคงทำให้กองเรือทั้งหมดมีความตื่นเต้นและความกระตือรือร้นเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในโครงการนำร่อง และจะกระตุ้นให้กองเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิกมีความปรารถนาที่จะทดลอง ไม่กลัวความล้มเหลวและสามารถแก้ปัญหาได้

กิจกรรมที่วางแผนไว้สองโครงการ ได้แก่ โครงการแลกเปลี่ยนแนวคิดที่ใช้เวลาห้าถึงหกสัปดาห์ในช่วงฤดูร้อน พ.ศ. 2560 ในภาคเอกชน ซึ่งเป็นความพยายามในการสร้างความเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างกองทัพเรือกับภาคอุตสาหกรรม และกิจกรรมบูทแคมป์เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ใช้เวลาห้าวันในช่วงฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2561 เพื่อให้ความรู้แก่ทหารเรือในหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โครงการบริดจ์ใช้กิจกรรมเหล่านี้ในการกระตุ้นการเรียนรู้ในโลกแห่งความเป็นจริงซึ่งจะมีการตรวจสอบและการฝึกปฏิบัติสถานการณ์การเรียนรู้ด้วยความเร็วสูง

โครงการบริดจ์ได้สร้างจิตสำนึกของการเป็นชุมชนในหมู่ “ผู้สร้างความเชื่อมโยง” ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่นี้ทำให้อุปสรรคต่าง ๆ หมดไปเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ผ่านวงจรการสร้างความคิด โครงการบริดจ์จะประสบผลสำเร็จมากที่สุดเมื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเชิงสถาบันที่สำคัญต่าง ๆ มีความเชื่อมโยงกันและอยู่ในสถานะที่ดีที่สุดที่จะช่วยกระตุ้นความรวดเร็วของระบบพัฒนาทักษะเพื่อให้แนวคิดกลายเป็นผลลัพธ์ที่นำไปใช้ได้จริง นี่คือความพยายามร่วมกันในหมู่ทหารเรือซึ่งเป็นผู้แก้ปัญหา ผู้นำระดับสูงที่ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และผู้ให้การสนับสนุนทางด้านทรัพยากรที่ทำให้สามารถพัฒนาแนวคิดให้เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button