เรื่องเด่น

การพัฒนาความมั่นคงทางทะเลใน ทะเลซูลู

การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างกองทัพฟิลิปปินส์และหน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตก กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก

ฝ่ายกิจการสาธารณะ หน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตก

มิภาคสามชายแดนแห่งนี้ที่มีอาณาเขตติดต่อกับสามประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียและฟิลิปปินส์ เป็นพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยเส้นทางเดินเรือบางส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุดในโลก ตลอดจนความมหัศจรรย์ของระบบนิเวศที่ไม่มีใครเทียบได้ ภูมิภาคนี้เป็นที่ตั้งของหมู่เกาะซูลู ซึ่งเป็นแนวหมู่เกาะในพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในทะเลที่อุดมสมบูรณ์และธรรมชาติที่งดงาม ชายหาดและแนวปะการังบางแห่งที่งดงามบริสุทธิ์ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถพบได้ในบริเวณเที่มีความ

หลากหลายทางชีวภาพอย่างเต็มที่แห่งนี้ รวมถึงอุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮาซึ่งมีพื้นที่มากกว่า 130,000 เฮกตาร์ และน่าจะมีสายพันธุ์ปะการัง ปลาและสัตว์ทะเลอื่น ๆ มากกว่าพื้นที่ใด ๆ ในโลกที่มีลักษณะคล้ายกัน

ความสำคัญทางนิเวศวิทยาและวัฒนธรรมของภูมิภาคนี้สอดคล้องกันกับความสำคัญทางยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นประตูเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย ไกลออกไปทางใต้ ช่องแคบมะละกาเป็นหนึ่งในเส้นทางสัญจรทางน้ำที่พลุกพล่านที่สุดในโลก และเป็นเส้นทางเดินเรือที่สั้นที่สุดในการขนส่งน้ำมันระหว่างอ่าวเปอร์เซียและทวีปเอเชีย ช่องแคบมะละกาเป็นช่องทางบังคับที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกสำหรับการขนส่งน้ำมัน ซึ่งแต่ละวันจะมีการลำเลียงน้ำมันผ่านช่องแคบแห่งนี้มากกว่า 15 ล้านบาร์เรล (ขณะที่ช่องแคบ

ฮอร์มุซมีการลำเลียงน้ำมันผ่าน 17 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ตามข้อมูลของสำนักงานบริหารข้อมูลพลังงานของสหรัฐฯ เมื่อเรือบรรทุกน้ำมันมีความลึกมากกว่าระดับความลึกสูงสุดของช่องแคบมะละกา ทางเลือกก็คือการเดินทางอ้อมไปทางใต้เพื่อผ่านทางช่องแคบลอมบอก ช่องแคบมากัสซาร์ เส้นทางเดินเรือซีบูตูหรือช่องแคบมินโดโร ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในพื้นที่สามชายแดน

เจ้าหน้าที่กรมตำรวจน้ำแห่งชาติฟิลิปปินส์นายหนึ่งทำหน้าที่ระวังป้องกัน ในขณะที่เจ้าหน้าที่คนอื่น ๆ ควบคุมตัวนายทหารติดต่อทางด้านการฝึกของหน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตก ซึ่งแสดงบทบาทเป็นผู้ค้ายาเสพติดในระหว่างการฝึกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่เมืองเปอร์โต พรินเซซา ประเทศฟิลิปปินส์
จ.อ. คริสโตเฟอร์ ฮูเบนทอล/กองทัพอากาศสหรัฐฯ

แม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติที่ความอุดมสมบูรณ์ แต่ภูมิภาคนี้ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญในด้านการกำกับดูแลและความเจริญรุ่งเรือง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมอย่างมีนัยสำคัญระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคส่งผลให้เกิดความตึงเครียดที่บานปลายไปสู่การใช้ความรุนแรง พื้นที่นี้มีกิตติศัพท์ที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในเรื่องความไร้ระเบียบและความรุนแรงโดยส่วนหนึ่งเนื่องมาจากความท้าทายทางเศรษฐกิจ การเติบโตของประชากรและความกดดันในเรื่องทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีสาเหตุมาจากการประมงผิดกฎหมายและการรุกล้ำโดยบุคคลภายนอก

การค้าที่ผิดกฎหมายทุกชนิดเป็นกิจกรรมที่แพร่หลายอย่างยิ่งตลอดทั่วภูมิภาค การลักลอบค้าของเถื่อน ยาเสพติด อาวุธและแม้กระทั่งมนุษย์คือปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการขาดเสถียรภาพ

โจรสลัดและการปล้นเรือในช่องแคบมะละกาและช่องแคบสิงคโปร์ที่มีการรายงานไปยังองค์การทางทะเลระหว่างประเทศมีจำนวนสูงสุดในปี พ.ศ. 2558 โดยมีเหตุการณ์ทั้งสิ้น 134 ครั้งจากเหตุการณ์ทั้งหมด 303 ครั้งที่มีการรายงานเข้ามา ตามด้วยเหตุการณ์ในทะเลจีนใต้จำนวน 81 ครั้ง ตามที่ระบุในรายงานที่ชื่อ ภาพรวมด้านการขนส่งทางทะเล พ.ศ. 2559 โดยที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา

ภูมิประเทศที่ขรุขระของหมู่เกาะในน่านน้ำที่ใช้ร่วมกันระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีนอกเกาะบอร์เนียว ทำให้กลุ่มก่อการร้าย

เจ้าหน้าที่ตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์มีส่วนร่วมในการฝึกปราบปรามยาเสพติดที่จัดขึ้นโดยหน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตก
ร.อ. เจสัน เลนอร์/กองทัพบกสหรัฐฯ

ต่าง ๆ เช่น เจมาห์ อิสลามิยาห์ มีพื้นที่สำหรับการฝึก ดำรงความต่อเนื่องและเติบโตอย่างค่อนข้างจะที่จะปลอดภัย เขตปกครองตนเองของชาวมุสลิมในมินดาเนาในทะเลซูลูเป็นที่อยู่ของกลุ่มหัวรุนแรงอื่น ๆ รวมถึงกลุ่มอาบูไซยาฟและกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร กลุ่มต่าง ๆ เหล่านี้ใช้ประโยชน์จากพรมแดนที่มีช่องทางแทรกซึมได้เพื่อทำการฝึก ดำรงความต่อเนื่องและลงมือปฏิบัติการโดยรอดพ้นจากการถูกลงโทษตามกฎหมายทั่วทั้งภูมิภาค

อาชญากรรมและกิจกรรมของกลุ่มหัวรุนแรงคือความจริงที่เกิดขึ้นทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นการลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ การปล้นสะดมทางน้ำและการโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตประจำวันของประชาชนในภูมิภาคนี้ ผลที่ตามมาคือการประมงถูกกฎหมายและการค้าถูกรบกวนมากยิ่งขึ้นจนทำให้มาเลเซีย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ต้องพิจารณาหาหนทางใหม่ ๆ ในการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขความกังวลด้านความมั่นคง

ความร่วมมือด้านความมั่นคง

ภายในอาณาเขตฟิลิปปินส์ หลายปีแล้วที่กองทัพฟิลิปปินส์มีส่วนร่วมอย่างมากในการต่อสู้กับภัยคุกคามความมั่นคงภายในเหล่านี้ การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกาช่วยให้กองทัพฟิลิปปินส์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่งในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค จนกระทั่งขณะนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์มีความพร้อมที่จะเริ่มถ่ายโอนภารกิจไปให้กับหน่วยรักษาความมั่นคงที่กำกับดูแลโดยหน่วยบังคับใช้กฎหมายทางพลเรือน สหรัฐอเมริกาสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจนี้ผ่านความพยายามต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ฟิลิปปินส์รักษาระดับมาตรฐานในการรักษาความมั่นคงและการกำกับดูแลตลอดทั่วภูมิภาค ภารกิจนี้ไม่ได้ดำเนินไปโดยปราศจากความเสี่ยงและความท้าทาย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษฟิลิปปินส์ 44 นาย เสียชีวิตอย่างสลดในระหว่างการติดตามผู้ก่อการร้ายที่เป็นเป้าหมายสำคัญบนเกาะมินดาเนา

เพื่อสนับสนุนรัฐบาลฟิลิปปินส์ในการพัฒนาหน่วยบังคับใช้กฎหมายทางพลเรือนที่มีขีดความสามารถและความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายในพื้นที่ทางใต้ หน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตก ที่เป็นหน่วยเฉพาะกิจปราบปรามยาเสพติดของกองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นแปซิฟิก ได้เริ่มจัดการฝึกและให้การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานสำหรับภารกิจปราบปรามยาเสพติดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติฟิลิปปินส์

ในปี พ.ศ. 2550 หน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตกร่วมกับโครงการฝึกและการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศด้านการสืบสวนคดีอาญา กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ได้เริ่มทำงานร่วมกับกรมตำรวจน้ำแห่งชาติฟิลิปปินส์ในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือ เพื่อปฏิบัติหน้าที่และดำเนินภารกิจการบังคับใช้กฎหมายทั่วทั้งทะเลซูลู

เพื่อสนับสนุนหน่วยดังกล่าว หน่วยเฉพาะกิจร่วมระหว่างหน่วยงานในภาคพื้นตะวันตกได้สร้างสถานที่ปฏิ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button