วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแผนก

ความผูกพันระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่หาได้ยากในเอเชีย

ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

นไทยตกหลุมรักญี่ปุ่นเข้าเต็มเปา ไม่ว่าจะร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีให้เลือกมากมายในห้างสรรพสินค้า หรือ “เบาเบา” กระเป๋าหรูของอิซเซ มิยะเกะ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นก็กลายเป็นของยอดนิยมในปัจจุบัน และนักท่องเที่ยวชาวไทยก็หลั่งไหลเข้าไปยังญี่ปุ่นมากเป็นประวัติการณ์เพื่อเยี่ยมเยือนประเทศที่หลาย ๆ คนมองว่าเป็นต้นแบบ

“ฉันรักประเทศญี่ปุ่น พวกเขาเอาใจใส่กับทุกอย่างที่ทำจริง ๆ” นางสาวอัญญาวี สหเฉลิมพัฒน์ อายุ 26 ปีกล่าว เธอเดินทางไปญี่ปุ่นมาแล้วมากกว่า 10 ครั้งนับตั้งแต่ไปเรียนที่นั่นเมื่อ 5 ปีก่อน เธอมีเสื้อกอมเดการ์ซงอย่างน้อย 10 ตัว แม้ชื่อจะฟังดูเหมือนภาษาฝรั่งเศส แต่จริงๆ แล้วเสื้อยี่ห้อนี้เป็นยี่ห้อดังอีกยี่ห้อหนึ่งของญี่ปุ่น

เช่นเดียวกับคนไทยจำนวนมาก เธอชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นและประทับใจในคุณภาพของสินค้าญี่ปุ่นและเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าและมีระเบียบ และในขณะเดียวกันก็ยังเคารพขนบธรรมเนียมดั้งเดิม “เราชื่นชมประเทศญี่ปุ่น” นางสาวอัญญาวีสรุป

ความผูกพันระหว่างกัน

คนญี่ปุ่นเองก็ชอบเมืองไทยเช่นเดียวกันแม้จะไม่ได้เป็นความนิยมในวงกว้างเท่า เมืองไทยถูกมองว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่อบอุ่น เรียบง่ายและเหมาะกับการหลบลี้จากสภาพสังคมที่ค่อนข้างกดดันของญี่ปุ่น และยังเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกที่สำคัญของบริษัทญี่ปุ่นมากกว่า 4,500 บริษัท รวมทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโตโยต้า ฮอนด้า และแคนนอน

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดความผูกพันระหว่างทั้งสองชาติที่หาได้ยากในเอเชีย ซึ่งความตึงเครียดทางประวัติศาสตร์ การเมืองและเขตแดนมักจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ยุ่งเหยิง

เช่นเดียวกับคนมากมายรุ่นเดียวกันกับเธอ ความรู้สึกดี ๆ ที่นางสาว

อัญญาวีมีต่อญี่ปุ่นเริ่มมาจากการดูการ์ตูนญี่ปุ่นสมัยยังเด็ก เช่น โดราเอมอน และ เซเลอร์มูน เมื่อโตขึ้นสัญชาตญาณก็บอกให้เธอเชื่อมั่นในทุกอย่างที่ “ผลิตในญี่ปุ่น” และชื่นชมกิริยามารยาทที่งดงามและอ่อนน้อมของคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ไม่ต่างจากคนไทยอีกจำนวนมาก

ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและกฎระเบียบของทางการช่วยเพิ่มพูนความผูกพันดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาตรการยกเว้นวีซ่าให้คนไทย ทำให้นักท่องเที่ยวไทยสามารถพำนักในญี่ปุ่นได้ไม่เกิน 15 วัน ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวไทยในญี่ปุ่นพุ่งขึ้นเป็นเกือบ 800,000 คนในปี พ.ศ. 2558 หรือเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากปี พ.ศ. 2554

เนื่องจากคนไทยมีรายได้มากขึ้นและสายการบินต้นทุนต่ำ เช่น แอร์เอเชีย ก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ทำให้ราคาตั๋วเครื่องบินไปญี่ปุ่นถูกลงมาก ในทำนองเดียวกัน ตอนนี้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นก็สามารถบินจากโตเกียวมายังกรุงเทพฯ ในราคาที่เกือบจะเท่ากับบินไปเมืองโอกินาวาที่ตั้งอยู่ทางใต้ของญี่ปุ่น

ประชาชนของทั้งสองประเทศดูเหมือนจะมีความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นความอ่อนโยน การเกลียดชังความขัดแย้ง และการให้ความสำคัญกับมารยาทที่เหมาะสม ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย

ความแตกต่างที่น่าค้นหา

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นและไทยยังมีอะไรที่แตกต่างกันไม่น้อย แต่นั่นกลับยิ่งทำให้วัฒนธรรมของทั้งสองประเทศมีเสน่ห์และน่าสนใจในทางที่ปกติสุข

ตัวอย่างหนึ่งก็คือพุทธศาสนา ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งสองประเทศ ในประเทศไทย พุทธศาสนาดูเหมือนจะมีบทบาทที่เปิดเผยกว่า ดังจะเห็นได้จากวัดวาอารามที่มีสีสันสะดุดตาและพระสงฆ์ที่ห่มจีวรสีส้ม ในขณะที่พุทธศาสนาในญี่ปุ่นจะมีรูปแบบที่เคร่งขรึมกว่า ทั้งสองประเทศมีราชวงศ์เหมือนกัน แต่พระมหากษัตริย์ของไทยดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากกว่าที่พระมหาจักรพรรดิมีต่อญี่ปุ่น

“เรามีความรู้สึกฉันญาติมิตร” กับคนไทยมากกว่าประเทศอื่นในเอเชีย นางมาริโกะ อุเอะฮารา ครูสอนภาษาอังกฤษจากชิกาซากิ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงโตเกียวที่เพิ่งมาเที่ยวประเทศไทยเป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 กล่าว “เรามีอะไรบางอย่างเหมือนกันซึ่งทำให้เรารู้สึกสบายใจ”

ในปี พ.ศ. 2558 มีชาวญี่ปุ่นเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยประมาณ 1.38 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับปีที่ผ่าน ๆ มา

ญี่ปุ่นกับไทยไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่ส่งผลให้ความสัมพันธ์กับบรรดาประเทศเพื่อนบ้านของทั้งสองชาติเปราะบาง

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับจีนและเกาหลีใต้มีปัญหาเพราะความขัดแย้งเรื่องดินแดนและความขุ่นข้องหมองใจที่ยังคงหลงเหลืออยู่ต่อการรุกรานของญี่ปุ่นในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง สำหรับประเทศไทยเองนั้น หลังจากต่อต้านกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสั้น ๆ ไทยก็กลายเป็นพันธมิตรของรัฐบาลญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการตลอดระยะเวลาส่วนใหญ่ของสงคราม และทำหน้าที่เป็นฐานส่งกำลังบำรุงของทหารญี่ปุ่น ดังนั้นจึงประสบกับความยากลำบากน้อยกว่าประเทศอื่น “ทางรถไฟสายมรณะ” ที่ขึ้นชื่อของญี่ปุ่นที่อยู่ทางภาคตะวันตกของไทยถูกสร้างขึ้นโดยทหารอังกฤษ อเมริกันและออสเตรเลียที่ตกเป็นเชลยสงคราม รวมทั้งกรรมกรจากชาติอื่น ๆ ในเอเชียอีกหลายพันคน

เสน่ห์ทางวัฒนธรรม

ภาพลักษณ์ที่สวยงามของญี่ปุ่นต่อคนไทยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากหนังสือ ละครและภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

นวนิยายเรื่อง คู่กรรม ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง นวนิยายเรื่องนี้ซึ่งมีชื่อภาษาอังกฤษว่า ซันเซ็ต ออน เดอะเจ้าพระยา กล่าวถึงความรักในช่วงสงครามระหว่างนายทหารเรือชาวญี่ปุ่นกับสาวไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่น พระเอกเอาชนะหัวใจของนางเอกก่อนที่ตัวเองจะเสียชีวิต

อาหารญี่ปุ่นที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นอาหารราคาแพงในประเทศไทย ได้กลายเป็นอาหารที่มีราคาจับต้องได้มากขึ้นและได้รับความนิยมสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากจำนวนร้านอาหารญี่ปุ่นที่ผุดขึ้นมากกว่า 2,300 แห่งทั่วประเทศ หรือเพิ่มขึ้นกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2551

ปัจจุบันเหตุผลหลักอย่างหนึ่งที่คนไทยอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นก็คือการได้ลองลิ้มรสชาติอาหารญี่ปุ่นแท้ ๆ ในญี่ปุ่น

นายชัยที ตันทสกุล วัย 29 ปี ผู้จัดการบริษัทเคมีซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวกล่าวว่า เขาจองร้านอาหารต่าง ๆ ในญี่ปุ่นล่วงหน้าหลายสัปดาห์ และวางแผนการเดินทางท่องเที

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button