เรื่องเด่น

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและ การเข้าถึง ขั้วโลก

ชาติต่าง ๆ ในอินโดเอเชียแปซิฟิกให้ความสนใจกับอาร์กติกและแอนตาร์กติกามากขึ้นในขณะที่รัฐบาลของตนวางแผนที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

มีการคาดการณ์ว่า ประชากรโลกที่ปัจจุบันมีอยู่ 7.1 พันล้านคนจะเพิ่มเป็น 8.3 พันล้านคนภายในปี พ.ศ. 2573 และมีความต้องการพลังงาน อาหารและน้ำมากขึ้นในขณะที่ทรัพยากรเหล่านี้กำลังค่อย ๆ ลดน้อยลง ความตึงเครียดระดับโลกดังกล่าวอาจส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ ออกค้นหาและแย่งชิงทรัพยากรและลงเอยที่ความขัดแย้งในที่สุด

“การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอาจทำให้ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้นและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น การหดหายของพื้นที่ชายฝั่งและการจมตัวของเกาะขนาดเล็กที่มีลักษณะราบต่ำจะส่งผลกระทบต่อเขตแดนทางทะเลและเขตเศรษฐกิจจำเพาะซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ” ตามที่ระบุไว้ในรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2558 หัวข้อ “จงเตรียมความพร้อม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ความมั่นคงและกองทัพออสเตรเลีย” ที่จัดทำขึ้นโดยสภาสำรวจสภาพอากาศในออสเตรเลีย “องค์กรระหว่างประเทศระดับแนวหน้าและกองทัพต่าง ๆ ทั่วโลก นับตั้งแต่กองทัพสหรัฐฯ ไปจนถึงประเทศสมาชิกนาโต (องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ) และขณะนี้ก็มีกลุ่มประเทศ จี7 ล้วนแต่พิจารณาว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติ”

ภัยคุกคามความมั่นคงดังกล่าวและการแข่งขันเพื่อช่วงชิงทรัพยากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ วางแผนที่จะรับมือกับความไม่แน่นอนของสภาพแวดล้อมในอนาคต หลายประเทศพิจารณาว่าพื้นที่อาร์กติกและแอนตาร์กติกาเป็นแหล่งทรัพยากรในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงทำให้น้ำแข็งที่ปกคลุมขั้วโลกละลาย และมีช่องทางเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่ยังไม่มีการนำมาใช้ได้ตลอดทั้งปีอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

“เมื่อทรัพยากรบางอย่างมีแนวโน้มว่าจะลดลงและความขัดแย้งทวีความรุนแรงขึ้น ทรัพยากรใหม่ที่มีอยู่อาจผลักดันให้ชาติต่าง ๆ แข่งขันกันมากขึ้น” ตามข้อมูลของสภาสำรวจสภาพอากาศ

สภาสำรวจสภาพอากาศชี้ให้เห็นว่า อาร์กติกมีสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นเป็นสองเท่าจากอัตราปกตินับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลให้น้ำแข็งละลาย การคาดการณ์บางอย่างบ่งชี้ว่า มหาสมุทรอาร์กติกอาจเป็นพื้นที่ปลอดน้ำแข็งตลอดช่วงฤดูร้อนในปลายศตวรรษนี้ ทำให้เข้าถึงน่านน้ำอาร์กติกได้ง่ายขึ้น เกิดเส้นทางเดินเรือใหม่ มีฤดูกาลขนส่งที่ยาวนานขึ้น และเข้าถึงแหล่งน้ำมันและก๊าซที่สำคัญได้มากขึ้น นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า น่านน้ำอาร์กติกไม่เคยป็นพื้นที่ปลอดน้ำแข็งเป็นเวลาอย่างน้อย 100,000 ปี

“ในระยะยาว การเข้าถึงน่านน้ำอาร์กติกได้ง่ายขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งระหว่างชาติต่าง ๆ ในเรื่องการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและการนำทรัพยากรออกมาใช้” สภาสำรวจสภาพอากาศระบุ “ทะเลจีนใต้และอาร์กติกคือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของ

สภาพภูมิอากาศที่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นและน้ำแข็งในทะเลเกิดการหดตัว อาจทำให้ความตึงเครียดทางด้านอธิปไตยระหว่างชาติต่าง ๆ มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น แม้ว่าในปัจจุบันสถาบันทางการเมืองที่มีอยู่จะประสบความสำเร็จในการจัดการกับความตึงเครียดเหล่านี้”

จีนได้แสดงความสนใจต่ออาร์กติก แม้จะยังไม่ได้เผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์เกี่ยวกับอาร์กติก แต่จีนให้ความสนใจกับภูมิภาคดังกล่าวมากขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

“แม้จะไม่มีนโยบายที่เป็นทางการ แต่ก็มีการปฏิสัมพันธ์อยู่สามแบบที่เป็นพื้นฐานของการมีปฏิกิริยาเกี่ยวกับอาร์กติกของรัฐบาลจีน ได้แก่ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจในระดับทวิภาคี และการเข้าร่วมในการกำกับดูแลในระดับภูมิภาค ปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ช่วยให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับแรงบันดาลใจของจีนต่อภูมิภาคนี้” ตามรายงานของวารสารอีสต์ เอเชีย ฟอรัม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 “ปฏิสัมพันธ์ของจีนในอาร์กติกนั้นเริ่มจากโครงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความร่วมมือกับหลายประเทศในแถบอาร์กติกเพื่อศึกษาวิจัยสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นเหตุผลหลักในการเข้าไปมีส่วนร่วมของจีน นักวิจารณ์บางรายหมดข้อสงสัยอย่างรวดเร็วว่ารัฐบาลจีนจะใช้โครงการทางวิทยาศาสตร์เพื่อซ่อนเร้นวัตถุประสงค์ทางการเมืองอื่น ๆ แต่ความท้าทายอันใหญ่หลวงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศที่จีนเผชิญอยู่ก็ไม่ควรจะถูกมองข้าม ความท้าทายเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโครงการทางวิทยาศาตร์และการวิจัยสภาพอากาศในระดับนานาชาติ”

เรือตัดน้ำแข็งอาห์โตจอดอยู่กลางลานน้ำแข็งนอกชายฝั่งเมืองโตร์นิโอซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของฟินแลนด์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เพื่อทดสอบลักษณะการรั่วไหลของน้ำมันใต้น้ำแข็งในอาร์กติก

เพื่อขจัดความสับสนใด ๆ เกี่ยวกับจุดยืนของจีนในอาร์กติก ทางการจีนได้ยอมรับว่าตนมีความสนใจในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ จีนยังเป็นประเทศผู้สังเกตการณ์ถาวรของสภาอาร์กติกอีกด้วย

“ความตั้งใจของจีนที่จะเป็นผู้สังเกตการณ์ในสภาอาร์กติกช่วยสนับสนุนมุมมองที่ว่า จีนไม่ได้ท้าทายอำนาจอธิปไตยของบรรดารัฐชายฝั่งในมหาสมุทรอาร์กติก และยังคงมุ่งมั่นให้ความเคารพต่อหลักนิติธรรมรวมถึงอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล” ตามที่นิตยสารข่าวออนไลน์ เดอะดิโพลแมต รายงานในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 “จีนกำหนดจุดยืนของตนเองและ ‘เตรียมพร้อม’ ที่จะเข้าถึงพื้นที่และนำทรัพยากรออกมาใช้ และแสวงประโยชน์จากโอกาสทางกลยุทธ์ เศรษฐกิจ การทหารและวิทยาศาสตร์ในภูมิภาคอาร์กติกในช่วงหลายปีข้างหน้า”

ในขณะเดียวกัน รัสเซียไม่ได้ปิดบังความต้องการของตนที่จะอ้างสิทธิในทรัพยากรในอาร์กติก เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 รัสเซียได้ยื่นคำร้องเพื่ออ้างสิทธิในดินแดนใหม่ต่อคณะกรรมาธิการกำหนดขอบเขตไหล่ทวีปแห่งสหประชาชาติ โดยอ้างว่าเขตไหล่ทวีปของตนนั้นมีระยะไกลออกไปในมหาสมุทรอาร์กติกมากกว่าที่เคยคิด หากการอ้างสิทธินี้ได้รับการรับรอง รัสเซียจะครอบครองอาณาเขตที่กว้างขึ้นซึ่งเป็นแหล่งประมง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรอื่น ๆ ตามรายงานของนิตยสาร นิกเกอิ เอเชียน รีวิว ในเดือนเมษษยน พ.ศ. 2556

รัสเซียมีเรือตัดน้ำแข็งอยู่แล้ว 40 ลำในภูมิภาค และเริ่มทดสอบเรือลำใหม่ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 ตามรายงานของ นิกเกอิ นิตยสารฉบับนี้ยังระบุว่า รัสเซียกำลังพิจารณาสร้า


ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ต่อกองทัพ

หลายประเทศได้ระบุว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ และเริ่มกำหนดแผนต่าง ๆ เพื่อรับมือกับความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ สภาสำรวจสภาพอากาศของออสเตรเลียได้จัดทำรายการต่อไปนี้ที่เป็นข้อปฏิบัติที่กองทัพต่าง ๆ ควรพิจารณาในการจัดการกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

การวางแผนและการปฏิบัติการทางทหาร
กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศคือปัจจัยหนึ่งในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ทางทหารของประเทศ
แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหารระดับสูงให้เป็นเจ้าหน้าที่วางแผนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เผยแพร่กลยุทธ์ในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
เข้าร่วมคณะทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อที่ตั้งฐานทัพและศักยภาพของฐานทัพ

การฝึกและการทดสอบทางทหาร
วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการฝึกทางทหาร
วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อความพร้อมของทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศและนาวิกโยธินแต่ละนาย
วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในหลักนิยมของกองทัพ โดยกำหนดวิธีการตอบสนองต่อการบรรเทาภัยพิบัติ
วิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของกองกำลังทหารและพื้นที่ปฏิบัติการ

โครงสร้างพื้นฐานของกองทัพ
กำหนดเป้าหมายในเรื่องพลังงานหมุนเวียนสำหรับฐานทัพ
ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับการเพิ่มระดับของน้ำทะเลและภาวะน้ำท่วมในฐานทัพ
ประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับสภาพอากาศที่รุนแรงสุดโต่งต่อฐานทัพที่เป็นผลมาจากสภาพภูมิอากาศ

การจัดซื้อทางทหารและห่วงโซ่อุปทาน
กำหนดเป้าหมายในเรื่องการประหยัดเชื้อเพลิงและพลังงานเมื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์และระบบปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งรวมถึงการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและเชื้อเพลิงแบบผสมผสาน
วิเคราะห์ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางพลเรือนและแรงงานพลเรือน ตลอดจนผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานของกองทัพ การปฏิบัติการและการฝึก
ใช้แนวปฏิบัติที่ยั่งยืนในการจัดซื้อจัดจ้างที่รวมถึงกองยานพาหนะสำหรับพลเรือนแบบประหยัดพลังงาน อุปกรณ์ให้แสงสว่างและกระบวนให้ความร้อนแบบประหยัดพลังงาน และกลยุทธ์ในการลดปริมาณของเสีย


จีนต้องการให้เรือต่าง ๆ ใช้เส้นทางอาร์กติก เพื่อการเดินทางที่รวดเร็วกว่า

รอยเตอร์

จีนต้องการให้เรือสัญชาติตนใช้เส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งเป็นเส้นทางที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทางระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งที่กำกับดูแลโดยรัฐบาลประกาศในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559

จีนมีกิจกรรมในภูมิภาคขั้วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหนึ่งในผู้ลงทุนด้านการทำเหมืองแร่รายใหญ่ที่สุดในกรีนแลนด์และร่วมทำข้อตกลงการค้าเสรีกับไอซ์แลนด์ เส้นทางการขนส่งที่สั้นลงโดยผ่านทางมหาสมุทรอาร์กติกจะช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ของจีนประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ตัวอย่างเช่น การเดินทางจากนครเซี่ยงไฮ้ไปเมืองฮัมบูร์กผ่านเส้นทางอาร์กติกนั้นมีระยะทาง 2,800 ไมล์ทะเล ซึ่งสั้นกว่าการเดินทางผ่านคลองสุเอซ

นอกจากนี้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 สำนักงานด้านความปลอดภัยทางทะเลของจีนได้เผยแพร่คู่มือที่มีคำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางอย่างละเอียด จากชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือไปจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนเหนือ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ ไชนา เดลี

“เมื่อมีการใช้เส้นทางนี้อย่างสม่ำเสมอ การขนส่งทางทะเลของโลกก็จะเปลี่ยนไปในทันที และจะมีอิทธิพลอย่างอย่างยิ่งต่อการค้าระหว่างประเทศ เศรษฐกิจโลก การไหลเวียนเงินทุน และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร” นายหลิว เผิงเฟย โฆษกของกระทรวงกล่าวกับหนังสือพิมพ์

เรือจีนจะแล่นผ่านเส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือ “ในอนาคต” นายหลิวกล่าวเพิ่มโดยไม่ได้ระบุช่วงเวลาที่แน่นอน เส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือส่วนใหญ่อยู่ในน่านน้ำที่แคนาดาอ้างกรรมสิทธิ์ เมื่อถูกถามว่าจีนพิจารณาว่าเส้นทางนี้เป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศหรือเป็นน่านน้ำของแคนาดา นางหัว ชุนหยิง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนกล่าวว่า จีนตั้งข้อสังเกตว่าแคนานาดามองว่าเส้นทางนี้เป็นส่วนหนึ่งของน่านน้ำตน แต่บางประเทศเชื่อว่ามันเป็นเส้นทางเดินเรือระหว่างประเทศ

ในออตตาวา โฆษกของนายสเตฟาน ดิออน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การขนส่งผ่านน่านน้ำในเส้นทางเดินเรือตะวันตกเฉียงเหนือนั้นไม่สามารถทำได้โดยพลการ

“เรายินดีให้มีการเดินเรือในน่านน้ำหากปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับของเรา แคนาดามีสิทธิโดยอิสระที่จะควบคุมน่านน้ำภายใน” นายโจเซฟ พิกเคอริลล์กล่าว

บรรดาผู้เชี่ยวชาญทางทะเลระบุว่า มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งที่บริษัทขนส่งต่าง ๆ จะประสบอุปสรรคทั้งจากน้ำแข็งในอาร์กติกที่คาดเดาไม่ได้ การขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานโดยสิ้นเชิงในภูมิภาคนี้ น่านน้ำที่ค่อนข้างตื้นเขิน การขาดแผนที่ที่ทันสมัยและค่าใช้จ่ายในการประกันภัยที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เส้นทางนี้จะมีความสำคัญเชิงกลยุทธ์สำหรับจีน นายวู หยูเสี่ยว เจ้าหน้าที่ทางทะเลอีกคนหนึ่งกล่าวกับหนังสือพิมพ์ ไชนา เดลี

น้ำแข็งในทะเลที่กำลังละลายได้กระตุ้นให้เกิดการสัญจรเชิงพาณิชย์มากขึ้น และจีนก็ต้องการที่จะดำเนินกิจกรรมมากขึ้นในอาร์กติก ซึ่งจีนระบุว่าตนมีผลประโชน์ที่สำคัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button