ข่าวผู้ก่อการร้ายแผนก

อินโดนีเซียพยายามแนะนำให้กลุ่มหัวรุนแรง เริ่มต้นชีวิตใหม่

เรื่องและภาพโดย ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ในใจกลางของเมืองโซโลซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนประจำอิสลามที่ก่อตั้งโดยนักสอนศาสนาที่ปลุกปั่นให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลีในปี พ.ศ. 2545 พนักงานร้านอาหารที่ดูธรรมดา ๆ แห่งหนึ่งกำลังจัดเตรียมอาหารอินโดนีเซียอันเรียบง่ายเพื่อพร้อมให้บริการเหมือนกับวันอื่น ๆ

ผู้จัดการร้านที่มีรูปร่างค่อนข้างเล็กและท่าทางที่กระฉับกระเฉงคล่องแคล่วรีบเดินเข้าไปในครัวแคบ ๆ และเทส่วนผสมลงไปในกระทะร้อน เพื่อทำบิสติกและอาหารอื่น ๆ ที่ลูกค้าซึ่งรวมถึงตำรวจในท้องที่กำลังรอรับประทานอยู่ นอกจากร้านนี้ เขายังมีธุรกิจรถเช่าและร้านซักรีดเนื่องจากต้องเลี้ยงดูภรรยาและลูกอีกสองคน

นายมาห์มูดี ฮาร์โยโน วัย 40 ปีผู้นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่มีอยู่เป็นล้าน ๆ ราย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลกแห่งนี้ขับเคลื่อนต่อไป เขาคือตัวอย่างหนึ่งของคนที่เปลี่ยนชีวิตจากการเป็นผู้ทำระเบิดและญิฮาดหัวรุนแรงไปเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพของสังคม

การที่เคยเป็นญิฮาดหัวรุนแรงมายาวนานไม่ได้ทำให้นายฮาร์โยโนได้รับความวางใจได้ง่ายนัก เขาเคยเป็นนักรบของแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรในฟิลิปปินส์เป็นเวลาสามปี ซึ่งเขาได้ฝึกทักษะการทำระเบิด และทำการต่อสู้ในความขัดแย้งเกี่ยวกับการแบ่งแยกศาสนาระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์ในอินโดนีเซีย ไม่ถึงปีหลังเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลีที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 202 ราย เขาก็ถูกจับกุมและถูกตัดสินว่ากระทำความผิดฐานซุกซ่อนวัสดุที่ใช้ในการทำระเบิด

มูลนิธิเอกชนแห่งหนึ่งได้ทำงานอย่างจริงจังกับนายฮาร์โยโนนับตั้งแต่ที่เขาถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำในปี พ.ศ. 2552 และยกให้เขาเป็นตัวอย่างที่ทำให้คนเห็นว่านักรบหัวรุนแรงที่แข็งกระด้างนั้นสามารถกลับเนื้อกลับตัวได้ เรื่องราวแห่งความสำเร็จนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในอินโดนีเซียที่มีชายหลายร้อยคนถูกจำคุกฐานก่อการร้ายและได้รับการปล่อยตัวโดยมีการควบคุมความประพฤติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึง 97 คนในปี พ.ศ. 2558

นับตั้งแต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา ทางการอินโดนีเซียได้มีการพัฒนาอย่างยิ่งทางด้านการรวบรวมข่าวกรองและการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายโดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ และออสเตรเลีย การจำคุกบรรดานักรบหัวรุนแรงเกือบ 800 คน และการสังหารกว่า 100 คนในการจู่โจมทำให้กลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้เครือข่ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ อ่อนแอลง เครือข่ายนี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มอัลกออิดะห์และเป็นผู้ก่อเหตุโศกนาฏกรรมในบาหลี รวมถึงการวางแผนและการโจมตีต่าง ๆ กว่า 10 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะขจัดแนวคิดแบบหัวรุนแรงให้หมดไปจากบรรดานักรบในเรือนจำบรรลุผลสำเร็จค่อนข้างน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการได้เป็นแรงบันดาลใจจากกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ ทำให้คนเหล่านี้ยึดมั่นในแนวคิดแบบสุดโต่ง ผู้กระทำผิดสองรายที่ได้แรงบันดาลใจจากกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ได้ก่อเหตุระเบิดพลีชีพในเมืองหลวงของอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559 หลังได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำเพียงไม่นานก่อนที่จะทำการโจมตี

“เราต้องยอมรับว่าโครงการขจัดแนวคิดแบบหัวรุนแรงโดยองค์กรที่ไม่ใช่รัฐและโครงการของรัฐบาลนั้นยังไม่เพียงพอ” นายทอฟิก อานดรี ผู้อำนวยการบริหารสถาบันยายาซาน ประสาสติ เพอร์ดาเมียน ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้ความช่วยเหลือแก่บรรดานักรบหัวรุนแรงที่ได้รับการปล่อยตัวโดยมีการควบคุมความประพฤติ และเป็นผู้ก่อตั้งร้านอาหารที่นายฮาร์โยโนทำงานและมีหุ้นอยู่ด้วยในขณะนี้

นายอานดรีประเมินว่าร้อยละ 40 ของบรรดานักรบหัวรุนแรงที่มีอยู่กว่า 400 คนที่ถูกปล่อยตัวภายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้กลับไปเข้าร่วมกับเครือข่ายหัวรุนแรง

นายอานดรีกล่าวว่าบางคนอาจจะอยากมีชีวิตเหมือนคนปกติ แต่มีชาวอินโดนีเซียไม่กี่คนที่ต้องการจะจ้างคนเหล่านี้หรือแม้แต่จะยอมให้อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง “เมื่อถูกปล่อยตัวออกมา คนเหล่านี้ก็ต้องพึ่งพาตนเอง สำหรับพวกเขาแล้ว สังคมก็เหมือนกับคุกหลังที่สองเพราะการไม่ยอมรับของสังคม” นายอานดรีกล่าว

ในย่านงรูกีในเมืองโซโล นายโจโก เปอร์วันโต อดีตนักรบหัวรุนแรงที่ใช้นามแฝงว่า ฮันด์โซลลาห์ กล่าวว่าเขาได้รับการยอมรับอย่างช้า ๆ จากชุมชนมุสลิมเคร่งศาสนาที่รังเกียจเขาเมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวจากคุกเมื่อสองปีที่แล้ว

หมู่บ้านแห่งนี้ที่มีถนนหนทางแคบ ๆ และบ้านเรือนที่กระจุกกันอยู่อย่างหนาแน่นแห่งนี้ เป็นแหล่งร้านขายฮิญาบที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำ อัล มุกมิน ซึ่งเป็นสถานสอนศาสนาอิสลามที่มีแนวคิดสุดโต่งที่ก่อตั้งโดยนายอาบู บาการ์ บาเชียร์ ผู้นำทางจิตวิญญาณวัยชราที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดเหตุการณ์ระเบิดที่บาหลี ซึ่งขณะนี้ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยสภาพที่อ่อนล้าในความผิดฐานให้เงินสนับสนุนแก่ค่ายฝึกญิฮาดในอาเจะห์

นายฮันด์โซลลาห์ อดีตนักเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ได้ต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับนายฮาร์โยโน และถูกจับกุมเมื่อทางการเข้าจู่โจมค่ายฝึกของนายบาเชียร์ในปี พ.ศ. 2553 นายฮันด์โซลลาห์กล่าวว่าหลังจากการที่ได้รับการปล่อยตัว บรรดาเพื่อนบ้านไม่ตอบรับคำทักทายของเขา และผู้สวดมนต์รายหนึ่งในมัสยิดเรียกเขาว่าผู้ก่อการร้ายที่ควรถูกขับไล่

“ผมตอบโต้ด้วยการทำความดี” นายฮันด์โซลลาห์ วัย 41 ปีกล่าว “ผมไม่ได้หลีกเลี่ยงพวกเขา แต่พยายามที่จะเข้าหาสังคม และพวกเขาก็ค่อย ๆ เห็นว่าผมเปลี่ยนไปแล้ว”

ปัจจุบันนายฮันด์โซลลาห์เป็นนักเทศน์ที่เป็นที่นิยมและมักจะเดินทางอยู่บ่อย ๆ ลูก ๆ ที่เกิดจากภรรยาสองคนได้รับการเลี้ยงดูด้วยรายได้จากธุรกิจอาหารขบเคี้ยวของภรรยาคนหนึ่งที่ส่งขายตามร้านอาหารและร้านค้าต่าง ๆ

ตอนนี้นายฮันด์โซลลาห์กล่าวว่าการเป็นญิฮาดหัวรุนแรงนั้นไม่ใช่เรื่องที่สมเหตุสมผลในอินโดนีเซียเพราะชาวมุสลิมไม่ได้ถูกโจมตี นายฮันด์โซลลาห์คิดเหมือนกับคนอื่น ๆ ที่ได้รับการปล่อยตัวโดยมีการควบคุมความประพฤติ เขาประณามกลุ่มรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ว่าเป็นผู้เข่นฆ่าชาวมุสลิมที่ปฏิเสธที่จะตีความศาสนาอิสลามโดยใช้แนวคิดที่สุดโต่ง

“สิ่งที่ผมทำในอดีตมันคือควา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button