เรื่องเด่น

การสร้างเครือข่ายที่แข็งแกร่ง

โครงการเสริมสร้างอธิปไตยช่วยส่งเสริมความมั่นคงโดยการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ว่า พล.อ. โจเซฟ โวเทล จะเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการของกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ พล.อ.โวเทล ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ
มีการยืนยันเป็นที่แน่นอนในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2559 ว่า พล.อ. โจเซฟ โวเทล จะเข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการของกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ พล.อ.โวเทล ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ

ารรักษาอธิปไตยของประเทศอิสระและการปกป้องประชาชนจากกลุ่มหัวรุนแรงที่สร้างภัยคุกคามต่อความมั่นคงและเสถียรภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การบรรลุเป้าหมายอันสูงส่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องมีการตอบสนองของรัฐในทุกภาคส่วนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน แต่ยังต้องประกอบไปด้วยความมุ่งมั่นในระดับนานาชาติเพื่อประสานความพยายามและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่จะช่วยเพิ่มพูนความพยายามของแต่ละประเทศในการสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง

ขณะที่สำนักข่าวต่าง ๆ ทั่วโลกนำเสนอข่าวเกี่ยวกับความโหดร้ายของผู้ก่อการร้ายและเครือข่ายอิทธิพลของคนเหล่านี้ตลอดจนความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเด็นหนึ่งที่ไม่ได้ครองพื้นที่ข่าวเสมอไปก็คือความพยายามอันมุ่งมั่นและต่อเนื่องในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ และการฟื้นฟูเสถียรภาพในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง เจ้าหน้าที่ทางทหาร ผู้นำรัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อต้านและและปราบปรามผู้ก่อการร้าย ขณะที่การโจมตีทางอากาศและการปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการต่อสู้ แต่ความร่วมมือระดับโลกและการเจรจาในระดับนานาชาติจะช่วยขจัดลัทธิสุดโต่งให้หมดสิ้นไปได้ในที่สุด

“เครือข่ายของเรามีความแข็งแกร่งและกำลังเติบโต” พล.อ. โจเซฟ โวเทล กล่าวในระหว่างที่ยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ พล.อ. โวเทลได้รับการเสนอชื่อให้เข้ารับตำแหน่งผู้บัญชาการของกองบัญชาการกลางสหรัฐฯ “ด้วยเครือข่ายของเราที่มีอยู่ เราจะสามารถปราบปรามเครือข่ายข้ามชาติที่ไม่เพียงแต่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของอธิปไตยของเราเองเท่านั้น แต่ยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของโลกโดยรวมอีกด้วย”

หนึ่งในการดำเนินงานตามแนวคิดข้างต้นคือโครงการเสริมสร้างอธิปไตย ที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 โดยหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ โครงการนี้ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานของเครือข่าย และเป็นหนทางสำหรับผู้แทนจากชาติพันธมิตรในการตรวจสอบภัยคุกคามของกลุ่มหัวรุนแรง และการพัฒนาความสัมพันธ์และความเข้าใจซึ่งกันและกันในเรื่องความท้าทายระดับนานาชาติเพื่อปกป้องอธิปไตยและความมั่นคงทั่วโลก

“โครงการนี้มีเอกลักษณ์ เป็นโครงการที่ไม่เหมือนใคร” พล.อ. โวเทลกล่าว

ในแต่ละปี โครงการเสริมสร้างอธิปไตยจะเป็นศูนย์กลางการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ทางทหารและรัฐบาล เช่น ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารที่ประจำอยู่ในสหรัฐอเมริกาและผู้เชี่ยวชาญของหน่วยปฏิบัติการพิเศษ ในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ อุตสาหกรรมและผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงอื่น ๆ ได้เข้าร่วมการประชุม การสัมมนาและกิจกรรมอื่น ๆ ของโครงการเสริมสร้างอธิปไตย และร่วมหารือเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ เช่น ความมั่นคง แนวคิดสุดโต่ง บูรณภาพแห่งดินแดน เครือข่ายทางการเงินของผู้ก่อการร้าย เสถียรภาพและความขัดแย้งภายใน และอาชญากรรมข้ามชาติ

นายแลร์รี คุก ผู้จัดการโครงการเสริมสร้างอธิปไตยกล่าวว่า “โครงการเสริมสร้างอธิปไตยเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้หน่วยบัญชาการสามารถพิจารณาปัญหาได้ในหลาย ๆ แง่มุม โครงการนี้ทำให้หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ มีความรอบรู้ทางวัฒนธรรมมากขึ้น และเป็นศูนย์กลางในการระดมผู้คน ขีดความสามารถและความคิดที่จะช่วยในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศที่เร่งด่วนที่สุดบางประการ”

ในเดือนกันยายน 2015 บรรดาเจ้าหน้าที่ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการในกรุงวอชิงตันดี.ซี. ในหัวข้อ “การท้าทายแนวคิดสุดโต่ง: ปฏิสัมพันธ์กับผู้สืบทอดรุ่นต่อไป” หนึ่งในประเด็นหลักที่มีการหารือกันคือบทบาทของสื่อสังคมในการต่อสู้กับกลุ่มผู้ก่อการร้ายรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ในปัจจุบัน

ระดับความสำคัญของการเจรจาเชิงกลยุทธ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการเสริมสร้างอธิปไตยได้ดึงดูดเจ้าหน้าที่ระดับสูงต่าง ๆ จากทั่วโลกให้เข้าร่วมกิจกรรม การประชุมในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 มีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คนจาก 81 ประเทศ รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในอินโดเอเชียแปซิฟิก เช่น ออสเตรเลีย บังกลาเทศ ลาว มองโกเลีย เนปาล ฟิลิปปินส์และไทย

ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ การท้าทายแนวคิดสุดโต่ง: ปฏิสัมพันธ์กับผู้สืบทอดรุ่นต่อไป ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 โครงการเสริมสร้างอธิปไตย
ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ การท้าทายแนวคิดสุดโต่ง: ปฏิสัมพันธ์กับผู้สืบทอดรุ่นต่อไป ที่กรุงวอชิงตันดี.ซี. ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 โครงการเสริมสร้างอธิปไตย

ในระหว่างการประชุมดังกล่าว พล.ต. เจ้าฟ้าหญิงไอชา บินต์ อัล ฮุสเซน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองทูตฝ่ายทหารของจอร์แดนประจำสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวถึงความพยายามของจอร์แดนในการปราบปรามการก่อการร้าย การมีพรมแดนติดกับซีเรียและอิรักทำให้จอร์แดนได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งของประเทศเพื่อนบ้าน

“จอร์แดนคุ้นเคยกับความวุ่นวายที่อยู่รอบ ๆ ประเทศ” พล.ต. เจ้าฟ้าหญิงไอชากล่าว “สิบปีที่ผ่านมา เราได้ไว้อาลัยให้กับชาวจอร์แดนหลายคนที่ต้องสูญเสียชีวิตอย่างไร้เหตุผลด้วยน้ำมือของผู้ก่อการร้ายที่เดินเข้าไปในโรงแรมและตามงานแต่งงานพร้อมกับระเบิดตัวเอง ราว ๆ สองเดือนที่แล้ว เราได้ไว้อาลัยให้กับ ร.อ. มูอัธ อัล คาซาสเบห์ นักบินของเราที่ถูกกลุ่มอาชญากรรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์สังหารอย่างป่าเถื่อน ขอให้พระเจ้าคุ้มครองดวงวิญญาณเขาให้ได้พักผ่อนอย่างสงบสุข เหตุการณ์ดังกล่าวผลักดันให้เราดำเนินมาตรการขั้นต่อไปเพื่อทำสงครามกับลัทธิสุดโต่ง การตอบโต้ของจอร์แดนนั้นรวดเร็วและแข็งแกร่ง เราได้โจมตีเป้าหมายต่าง ๆ นับตั้งแต่คลังอาวุธและกระสุนจนไปถึงค่ายฝึกอบรม และเราจะเดินหน้าต่อไปเรื่อย ๆ

พล.ต. เจ้าฟ้าหญิงไอชาอธิบายว่าการต่อสู้กับรัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์คือข้อกังวลระดับโลกว่ามันจะกลายเป็นสงครามทางอุดมการณ์ระยะยาวที่ลุกลามไปทั่วตะวันออกกลางและแอฟริกา เอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก พล.ต. เจ้าฟ้าหญิงไอชายังได้เรียกร้องให้ต่าง ๆ จัดการกับสถานการณ์อันยากลำบากของชาวมุสลิมชายขอบที่มีความหวังเพียงเล็กน้อยว่าตนจะมีชีวิตที่สงบสุขและเจริญรุ่งเรืองในอนาคต เพื่อจะได้ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิสุดโต่งอย่างง่ายดาย

“เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเราจำเป็นต้องขจัดความสิ้นหวังและจัดการกับปัญหาในเรื่องการพัฒนาและความยากจนที่ปรากฏออกมาให้เห็นในทุก ๆ ส่วนของโลกและในทุกศาสนา” พล.ต. เจ้าฟ้าหญิงไอชากล่าว “โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตะวันออกกลางกำลังเผชิญกับความท้าทายอันใหญ่หลวง เนื่องจากในจำนวนประชากรทั้งหมดของภูมิภาคนั้นมีเยาวชนอยู่ถึงร้อยละ 70 ประเทศที่ประสบความล้มเหลวหรือกำลังจะล้มเหลวจะกลายเป็นพื้นที่เตรียมการอันเหมาะสมสำ หรับกลุ่มหัวแรงเหล่านี้ที่จะพากันยกขบวนเข้าไป พื้นที่ เพิ่มจำนวนและแพร่กระจาย เราต้องแก้ปัญหาพื้นที่เหล่านี้ตั้งแต่วันนี้ไม่ใช่วันหน้า”

การอภิปรายในที่ประชุมส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่ปัญหาเหล่านี้ที่เป็นความท้าทายร่วมกัน ไม่มีประเทศใดสามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยลำพัง

“ปัจจุบันเราได้เห็นภัยคุกคามข้ามชาติชนิดใหม่ที่กำลังคุกคามอธิปไตยของเราโดยเฉพาะ นั่นก็คือการหลั่งไหลของผู้คน ข้อมูลและเงินข้ามพรมแดนของประเทศโดยอิสระเพื่อสนับสนุนการก่อภัยคุกคามโดยตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ” พล.อ. โวเทลกล่าวคำปราศรัยต่อผู้เข้าร่วมประชุม “ความคิด การสื่อสารและการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อสรรหาสมาชิกใหม่ได้หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ไซเบอร์และเป็นแรงกระตุ้นให้กับบุคคลที่มีความคิดแบบหัวรุนแรง ซึ่งบางคนได้โยกย้ายออกจากพื้นที่เพื่อไปเป็นนักรบ และบางคนก็กลายเป็นผู้สนับสนุนนักรบ”

แม้กำลังอำนาจทางทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อต้านภัยคุกคามเหล่านี้ แต่ พล.อ. โวเทลอธิบายว่ามันก็ยังห่างไกลจากการแก้ปัญหาระยะยาวอยู่ดี “แม้เราจะมีบทบาทสำคัญ แต่เราก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งของกำลังอำนาจแห่งชาติเท่านั้น การจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนอย่างที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบันจะต้องใช้เครื่องมือเชิงกลยุทธ์ทุกรูปแบบอย่างระมัดระวังและประสานสอดคล้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการทูต ข้อมูล เศรษฐกิจตลอดจนการทหาร ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การประสานความพยายามดังกล่าวบรรลุผลสำเร็จก็คือความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือต่าง ๆ และพันธมิตรที่ดำเนินการในแต่ละหน้าที่” พล.อ. โวเทลกล่าว

ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ การหลั่งไหลข้ามชาติของผู้คนในภาวะปั่นป่วน ที่นครนิวยอร์ก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 โครงการเสริมสร้างอธิปไตย
ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ การหลั่งไหลข้ามชาติของผู้คนในภาวะปั่นป่วน ที่นครนิวยอร์ก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 โครงการเสริมสร้างอธิปไตย

นางอิซาเบล เดอ โซลา รองผู้อำนวยฝ่ายภูมิรัฐศาสตร์และความมั่นคงระหว่างประเทศแห่งสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวย้ำถึงแนวความคิดเหล่านี้ ในระหว่างการประชุม นางเดอ โซลาได้อธิบายถึงส่วนได้ส่วนเสียและบทบาทของธุรกิจในการปราบปรามแนวคิดหัวรุนแรง ซึ่งสรุปโดยย่อก็คือ ความขัดแย้งจะก่อผลเสียต่อธุรกิจ ธุรกิจจะมีการเสนองานดี ๆ ให้ทำ การให้คำปรึกษา ตลอดจนการสนับสนุนและการให้โอกาสทางการศึกษา ธุรกิจอาจเป็นแรงผลักดันที่มีค่าต่อการเสริมสร้างสังคมให้มีความแข็งแกร่ง

“บริษัทต่าง ๆ สามารถช่วยในเรื่องการส่งเสริมและเผยแพร่เนื้อหาในเชิงต่อต้านการก่อการร้ายแก่กลุ่มคนที่ถูกองค์กรหัวรุนแรงจ้างวาน” นางเดอ โซลากล่าว ตัวอย่างเช่น ธุรกิจในวงการสื่อและวงการบันเทิง จะสามารถเข้าถึงทั้งประชากรที่มีความล่อแหลมและตัวผู้ก่อการร้ายเอง ทำให้มีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเนื้อหาต่าง ๆ

ในระหว่างการสัมมนาของโครงการเสริมสร้างอธิปไตยที่กรุงวอชิงตันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 นายปีเตอร์ เบอร์เกน นักข่าวและนักวิเคราะห์ความมั่นคงของสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของสื่อที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อการนำเสนอความขัดแย้ง

“สงครามเวียดนามเป็นสงครามแรกที่มีการแพร่ภาพและข้อมูลทางโทรทัศน์ สงครามอ่าวเป็นสงครามแรกที่มีการรายงานข่าวทางช่องเคเบิลตลอด 24 ชั่วโมง และเหตุการณ์ในซีเรียก็เป็นหนึ่งในสงครามที่นำเสนอทางสื่อสังคม” นายเบอร์เกนกล่าวและอธิบายเพิ่มเติมว่า รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ใช้สื่อสังคมในการเผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มและเป็นช่องทางเข้าถึงกลุ่มคนหนุ่มสาวที่อาจจะกลายมาเป็นสมาชิกใหม่

การวิเคราะห์ภัยคุกคามที่เกิดจากกลุ่มก่อการร้าย เช่น รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ อัลกออิดะห์และโบโก ฮาราม จากมุมมองต่าง ๆ กันคือสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนากลยุทธ์ที่จะสามารถเอาชนะองค์กรเหล่

านี้ได้ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นในแง่อุดมการณ์ การเงินและการปฏิบัติการ เครือข่ายผู้คนและองค์กรที่สนับสนุนโครงการเสริมสร้างอธิปไตยจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้

“ด้วยเครือข่ายที่มีอยู่นี้ เราจะสามารถระดมกำลังและขีดความสามารถของแต่ละประเทศเพื่อต่อต้านความท้าทายข้ามชาติร่วมกัน” พล.อ. โวเทลกล่าว “การเพิ่มความโปร่งใส การสื่อสารและความร่วมมือระหว่างพันธมิตรของเรา จะทำให้การปฏิบัติการร่วมของเรามีประสิทธิภาพสูงสุด”


การประชุมของโครงการเสริมสร้างอธิปไตยก่อนหน้านี้

  • การหลั่งไหลข้ามชาติของผู้คนในภาวะปั่นป่วน เมษายน พ.ศ. 2558
  • การฟื้นฟูอธิปไตย: ยุคแห่งภัยคุกคามใหม่ เมษายน พ.ศ. 2557
  • ความท้าทายในระดับภูมิภาคต่อความมั่นคงของโลก: วัฒนธรรม ความขัดแย้ง การสนับสนุน มิถุนายน พ.ศ. 2556
  • กิจกรรมข้ามพรมแดน: การค้าที่ผิดกฎหมาย ความไว้วางใจ และความมั่นคงข้ามชาติ พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
  • สื่อสังคม: ความสำคัญ อำนาจและศักยภาพ มิถุนายน พ.ศ. 2555
  • สงครามกลางเมือง: การฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ความสมานฉันท์และการฟื้นฟู ธันวาคม พ.ศ. 2554

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button