เรื่องเด่น

การต่อต้านผลกระทบของ รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

คว“มร่วมมือท’่แข็งแกร่ง ข’ดคว“มส“ม“รถของภูม‘ภ“ค และก“รปรับแนวท“งสังคมให้เป็นไปในท‘ศท“งเด’ยวกันคือกุญแจส”คัญ

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม
ภาพโดย รอยเตอร์

รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ได้รับความนิยมพุ่งขึ้นเมื่อเกือบสองปีที่แล้ว โดยสามารถดึงดูดความสนใจของสมาชิกกลุ่มใหม่ ๆ ที่มีความหลากลายและเต็มใจมอบความภักดีและก่อเหตุการณ์รุนแรงอย่างที่สุดประเภทต่าง ๆ ตามอุดมการณ์ของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ แม้รายงานในช่วงหลัง ๆ มานี้ส่อว่า ความขัดแย้งภายในและการไม่ปฏิบัติตามคำสัญญาที่ให้ไว้ทำให้มีจำนวนผู้แปรพักตร์เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่โครงการรณรงค์ด้วยสารของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ยังคงเป็นโครงการที่มีประสิทธิภาพและสามารถดึงดูดผู้ศรัทธาใหม่ ๆ ได้ต่อไป

“รัฐอิสลามเปรียบเสมือนฝันที่เป็นจริงของผมและชาวมุสลิมทุกคน” นายราห์หมัด ชายอายุ 33 ปี ชาวอินโดนีเซียที่ให้แต่ชื่อโดยไม่มีนามสกุลและวางแผนที่จะไปเข้าร่วมกับกลุ่มหัวรุนแรงดังกล่าวในซีเรีย กล่าวกับหนังสือพิมพ์ ลอสแองเจลิสไทมส์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 “ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่จะย้อนกลับไปถึงช่วงเวลาที่รุ่งโรจน์ของศาสนาอิสลามเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยก่อน”

ความรู้สึกที่ยังคงเป็นอยู่เช่นนี้เป็นสาเหตุให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วอินโดเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลกตื่นตัว โดยได้ระแวดระวังในการออกกฎหมายใหม่ ๆ ที่ประณามรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ และจัดหาเครื่องมือต่าง ๆ พร้อมการฝึกอบรมให้แก่หน่วยงานที่มีอำนาจในการระบุตัวตน ควบคุมตัว และดำเนินคดีกับผู้ให้การสนับสนุนรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

“ความซับซ้อนของการจัดการกับภัยคุกคามด้านการก่อการร้ายที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ และความจำเป็นในการใช้ความพยายามที่ขยายวงกว้าง นับจากความมั่นคงไปจนถึงหลักนิติธรรมและความมีประสิทธิภาพของวิธีการปกครอง ตลอดจนการปิดกั้นสารจากผู้ก่อการร้ายเพื่อการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพกับการเติบโตของกลุ่มหัวรุนแรงสุดโต่งกลุ่มใหม่ ๆ ที่ปรากฏขึ้น ทั้งหมดนี้ต้องใช้แนวทางการจัดการแบบแผ่ขยายในการดำเนินการต่อต้านการก่อการร้าย” นาง ทีน่า เอส. ไคดานาว เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงและผู้ประสานงานการต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ กล่าวในระหว่างการอภิปรายกับผู้ชำนาญพิเศษเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ในหัวข้อ “อัลกออิดะห์ รัฐอิสลาม และอนาคตของการเคลื่อนไหวของญิฮาดทั่วโลก” ที่สถาบันบรุคลิงส์ ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. “เราต้องปรับแนวทางจัดการให้หลากหลายด้วยการนำพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความสามารถและมีความหลากหลายไปสู่แนวหน้า และขอความช่วยเหลือในความพยายามที่สำคัญร่วมกันในการต่อต้านการก่อการร้ายทั่วโลก”

นางไคดานาว ย้ำว่า แนวทางการจัดการการต่อต้านการก่อการร้ายที่ประสบความสำเร็จจะต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน “บทบาทที่สำคัญยิ่งของพันธมิตรของเรา ได้มีความชัดเจนขึ้นในปีที่ผ่านมาด้วยการปรากฏของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ในฐานะกองกำลังทำลายล้างสูงในอิรักและซีเรีย” นางไคดานาว กล่าว “การยึดครองดินแดนในอิรักและซีเรียอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ ความสามารถในการเข้าถึงนักรบก่อการร้ายต่างชาติอย่างต่อเนื่อง องค์กรในเครือที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก การใช้สื่อสังคมเพื่อเผยแพร่สารของตนตลอดจนเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นแบบหัวรุนแรงและสรรหาสมาชิกใหม่ และการวางแผนการโจมตีนอกดินแดนทั้งทางตรงและการโจมตีที่ได้รับแรงบันดาลใจ ทั้งหมดนี้ได้ทำให้รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

กลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่สุดด้านการต่อต้านการก่อการร้าย”

การเตรียมพร้อมสำหรับนักรบต่างชาติที่เดินทางกลับประเทศ

ทหารฟิลิปปินส์ยืนรักษาความปลอดภัยบนถนนขณะที่ออกเดินทางไปปฏิบัติการในหมู่บ้านที่ห่างไกลบนเกาะโจโล จังหวัดซูลู ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ฟิลิปปินส์ประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ว่า ได้ขึ้นบัญชีนักรบหัวรุนแรงมุสลิมกลุ่มอาบูไซยาฟเป็นองค์กรก่อการร้าย
ทหารฟิลิปปินส์ยืนรักษาความปลอดภัยบนถนนขณะที่ออกเดินทางไปปฏิบัติการในหมู่บ้านที่ห่างไกลบนเกาะโจโล จังหวัดซูลู ทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ฟิลิปปินส์ประกาศในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ว่า ได้ขึ้นบัญชีนักรบหัวรุนแรงมุสลิมกลุ่มอาบูไซยาฟเป็นองค์กรก่อการร้าย

อินโดนีเซียยังคงเป็นกังวลอย่างยิ่งเกี่ยวกับพลเมืองของตนและชาติอื่น ๆ ที่เดินทางไปยังอิรักและซีเรีย และอาจเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดและสร้างด่านหน้าของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์บนดินแดนอินโดนีเซีย

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ภัยอันตรายจากรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ยังคงมีอยู่ในระดับสูงในอินโดนีเซีย ประเทศที่มีประชากร 255 ล้านคนแห่งนี้มีประชากรชาวมุสลิมมากที่สุดในโลก และมีประวัติการโจมตีของผู้ก่อการร้ายโดยนักรบหัวรุนแรงที่กลับมาปรากฏในร่างใหม่ในช่วงต้น ๆ ที่ได้รับการฝึกกับกลุ่มอัลกออิดะห์ ในอัฟกานิสถานในคริสต์ทศวรรษที่ 1980 (พ.ศ. 2523 – 2532) ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ฉบับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 โดยรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า ทางการอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าผู้ให้การสนับสนุนรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ได้แสดงตนในบริเวณเกือบครึ่งหนึ่งของทั้ง 33 จังหวัดในอินโดนีเซีย

“ภัยคุกคามสำหรับเรานั้นรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญ กลุ่มหัวรุนแรงและผู้ก่อการร้ายหลายกลุ่มในอินโดนีเซียต้องการแก้แค้นต่อสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นความอยุติธรรมที่โลกตะวันตกกระทำต่อชาวมุสลิม” ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซาอุด นาซูชัน ผู้อำนวยการสำนักงานต่อต้านการก่อการร้ายแห่งชาติอินโดนีเซีย บีเอ็นพีที กล่าวกับเอบีซีนิวส์ของออสเตรเลียในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 “เราจึงต้องอยู่ในภาวะตื่นตัวต่อไป โดยเฉพาะหลังจากที่เหล่านักรบต่างชาติเดินทางจากอิรักและซีเรียกลับสู่อินโดนีเซีย”

หน่วยงานด้านการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซียระบุว่า มีชาวอินโดนีเซียอย่างน้อย 76 คนที่เดินทางกลับจากซีเรีย (กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า นักรบต่างชาติกว่า 25,000 คนจากกว่า 100 ประเทศได้เดินทางไปยังอิรักและซีเรียนับตั้งแต่เริ่มเกิดความขัดแย้งในภูมิภาคดังกล่าว) ความกังวลล่าสุดของอินโดนีเซียคือ เครือข่ายรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์เริ่มลักลอบนำนักรบต่างชาติเข้าประเทศจากมาเลเซีย

“เราต้องคอยระแวดระวังมากขึ้น เพราะมีข้อมูลว่าในมาเลเซียมีนักรบก่อการร้ายต่างชาติหลายพันคน ที่นั่นที่กำลังจะไปปฏิบัติการในนามของเครือข่าย ซึ่งเราไม่ทราบว่าจะเป็นที่ไหน” นายซาอุด กล่าวกับเอบีซีนิวส์

นางซิดนีย์ โจนส์ ผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการวิเคราะห์นโยบายความขัดแย้ง ซึ่งเป็นคณะทำงานระดับมันสมองที่มีฐานอยู่ที่จาการ์ตา เห็นพ้องว่าภัยคุกคามบนดินแดนอินโดนีเซียกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ “ดิฉันคิดว่า มีหลักฐานว่า มีฐานสนับสนุนในอินโดนีเซียเพียงพอให้พวกเขาจะสามารถจัดตั้งโครงสร้างของรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรียขึ้นที่นี่ได้อย่างรวดเร็วหากพวกเขาได้รับไฟเขียวจากรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย ซึ่งตอนนี้ยังไม่ได้” นางโจนส์กล่าวกลับ ลอสแองเจลิสไทมส์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 “มันจะเป็นหน่วยเล็ก ๆ และจะมีการคัดค้านในวงกว้าง แต่จะสร้างความกังวลว่าพวกเขาอาจทำตามคำสั่งประเภทอื่น ๆ ของรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย ซึ่งอาจรวมถึงการใช้ความรุนแรงด้วย”

นายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย กล่าวกับ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ว่า รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์เป็นความกังวลในแง่ระหว่างประเทศที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย และผู้นำอื่น ๆ ก็มีความคิดที่คล้ายคลึงกัน “เมื่อมีการประชุมกับประธานาธิบดีหรือนายกรัฐมนตรีจากประเทศอื่น ๆ พวกเขามักจะพูดเสมอว่าปัญหาอันดับหนึ่งคือรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย” นายวิโดโดกล่าวกับ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล

ทางการอินโดนีเซียกำลังทำงานเพื่อพัฒนากฎหมายที่เข้มงวดสำหรับการต่อสู้กับรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

ในขณะเดียวกัน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 อินโดนีเซียประกาศแผนความร่วมมือกับมาเลเซียในโครการการขจัดแนวคิดแบบหัวรุนแรง โดยคาดว่าจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559

การปรากฏของผู้แปรพักตร์

ปัจจุบัน ดูเหมือนว่าคุณลักษณะที่เคยทำให้รัฐอิสลามแห่งอิรักและ

เลแวนต์น่าดึงดูดสำหรับเหล่าผู้ติดตามเริ่มกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่เคยปฏิญาณว่าจะปฏิบัติภารกิจขององค์กรก่อการร้ายกลุ่มนี้ตีตัวออกห่าง

“ผู้แปรพักตร์จากกลุ่มที่เรียกว่ารัฐอิสลามเป็นปรากฎการณ์ใหม่ที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ” นายปีเตอร์ นิวแมน ศาสตราจารย์ด้านความมั่นคงศึกษาแห่งภาควิชาสงครามศึกษา คิงส์ คอลเลจ ลอนดอน และผู้อำนวยการศูนย์นานาชาติเพื่อการศึกษาแนวคิดแบบหัวรุนแรงได้เขียนไว้ในรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2558 ที่ศูนย์ดังกล่าวเป็นผู้จัดทำ โดยมีหัวข้อชื่อ “เหยื่อ ผู้กระทำผิด สินทรัพย์: เรื่องราวของผู้แปรพักตร์จากรัฐอิสลาม”

“การปรากฏของผู้แปรพักตร์ทำให้ภาพพจน์เรื่องความเป็นเอกภาพและความมุ่งมั่นที่รัฐอิสลามต้องการสื่อนั้นถูกทำลายลง เรื่องราวของเหล่าผู้แปรพักตร์เน้นให้เห็นถึงความขัดแย้งในตัวเองและความหลอกลวงของกลุ่ม” รายงานของนายนิวแมนระบุ

นายนิวแมนและคณะนักวิจัยได้ระบุตัวผู้แปรพักตร์ 58 ราย และได้สอบถามเกี่ยวกับเหตุผลที่ออกจากกลุ่ม จากการบอกเล่า ผู้แปรพักตร์กล่าวว่าพวกตนรู้สึกเหลือทนกับความป่าเถื่อน ความทุจริต และการสังหารชาวมุสลิมด้วยกันของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ คณะนักวิจัยเชื่อว่าการแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้อาจช่วยยับยั้งผู้อื่นจากการเข้าร่วม

“เหตุผลของผู้แปรพักตร์ในการออกจากกลุ่มอาจซับซ้อนพอ ๆ กับเหตุผลที่พวกเขาเข้าร่วม ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นผู้สนับสนุนที่แรงกล้าต่อเสรีประชาธิปไตย” รายงานกล่าว “บางคนอาจเคยก่ออาชญากรรม พวกเขาเข้าร่วมกับองค์กรเผด็จการที่มีความรุนแรงที่สุดในยุคของเรา แต่ตอนนี้พวกเขากลายเป็นศัตรูอันดับหนึ่งขององค์กรนี้”

คณะผู้วิจัยระบุว่า มีเรื่องราว 4 เรื่องที่ปรากฏขึ้นตลอดช่วงการสัมภาษณ์ผู้แปรพักตร์ ได้แก่ (1) รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์สนใจต่อสู้กับชาวมุสลิม (นิกายซุนนี) ด้วยกันเองมากกว่าการต่อสู้กับรัฐบาลของประธานาธิบดีอัสซาดแห่งซีเรีย (2) รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์เกี่ยวข้องกับการกระทำป่าเถื่อนและชั่วร้ายต่อชาวมุสลิม (นิกายซุนนี) (3) รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ดำเนินการโดยทุจริตและไม่เป็นไปตามวิถีอิสลาม (4) และการดำรงชีวิตภายใต้รัฐอิสลามแห่งอิรักและ

เลแวนต์เป็นไปอย่างโหดร้ายและน่าผิดหวัง

“การแปรพักตร์จากรัฐอิสลามเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและอันตราย ผู้ที่ต้องการแปรพักตร์จะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ความท้าทายแรกคือการแยกตัวออกจากรัฐอิสลามและเดินทางไปยังดินแดนที่รัฐอิสลามไม่ได้ยึดครอง แต่แม้แต่ผู้ที่ทำได้สำเร็จก็ใช่ว่าจะปลอดภัย” รายงานสรุป “สิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่กล้าออกมาพูดอะไรคือ ความกลัวการถูกแก้แค้น และความกังวลว่าพนักงานอัยการอาจใช้ข้อมูลที่พวกเขาเปิดเผยมากล่าวโทษกับพวกเขาเอง”

“คำแนะนำของเราคือ ให้รัฐบาลและผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองยกย่องคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรื่องราวของผู้แปรพักตร์ ให้โอกาสผู้แปรพักตร์ใด้แสดงความคิดเห็น ช่วยเหลือผู้แปรพักตร์ในการหาที่อยู่อาศัยและรับประกันความปลอดภัยของพวกเขา รวมถึงกำจัดอุปสรรคทางกฎหมายที่ไม่เอื้ออำนวยให้พวกเขาออกมาเปิดเผยตัว”

การระแวดระวังและการดำเนินความร่วมมือต่อไป

นายลี เซียนลุง ประธานาธิบดีสิงคโปร์ เห็นว่า การดำเนินการทางทหารไม่ใช่ทางเลือกเดียวในการต่อสู้กับรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

รัฐบาลต้องทำงานเพื่อโจมตีรากฐานอุดมการณ์ของกลุ่มด้วยเช่นกัน นายลี กล่าว

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพเปิดตัวการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในหัวข้อการฟื้นฟูทางศาสนาและบูรณาการทางสังคม ซึ่งเป็นการประชุมการต่อต้านการก่อการร้ายที่ออกแบบมาเพื่อแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงแนวทางการจัดการที่ครอบคลุมของสิงคโปร์เองกับประเทศที่มีความคิดเห็นตรงกัน ตามรายงานของนิตยสาร เดอะดิโพลแมท

ฟิลิปปินส์ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ที่นั่น ในการแสดงถึงความจริงจังของฟิลิปปินส์ในการปราบปรามกลุ่มหัวรุนแรง เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ฟิลิปปินส์ได้ประกาศให้กลุ่มอาบูไซยาฟเป็นองค์กรการก่อการร้าย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้กฎหมายพิเศษเพื่อประกาศให้กลุ่มอาบูไซยาฟเป็นองค์กรนักรบหัวรุนแรงกลุ่มแรกที่ผิดกฎหมายในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ทางการมีอำนาจมากขึ้นในการติดตามและดำเนินคดีกับพวกหัวรุนแรงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนยังคงเน้นว่า ภารกิจยังมีอีกมากในการต่อสู้กับรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ “แม้ว่าการจับกุมและการเข้าจู่โจมอาจช่วยลดภัยคุกคามได้ในขณะนี้ แต่การจัดการกับสาเหตุสำคัญที่เป็นรากฐานของการสนับสนุนภายในประเทศและความภักดีที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อรัฐอิสลามจะเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ สาเหตุดังกล่าวรวมถึงความเห็นอกเห็นใจในหมู่ชาวมุสลิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีต่อชาวมุสลิมด้วยกันในต่างประเทศ และการปลุกสำนึกทางการเมืองของอิสลามโดยประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางประเทศและกลุ่มอื่น ๆ ในส่วนของตน ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดสภาพที่เอื้ออำนวยต่ออุดมการณ์หัวรุนแรงและความเชื่อที่ว่าความศรัทธาของตนถูกต้องและของผู้อื่นผิด” นายประสันต์ ปรเมศวร รองบรรณาธิการของ เดอะดิโพลแมท ผู้รายงานเกี่ยวกับความมั่นคงของเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขียนไว้ในเว็บไซต์ เวิรล์ด พอลิทิกส์ รีวิว เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ว่า “และตามที่ทางการได้บันทึกข้อมูลไว้ ด้วยการก่อการร้ายที่เพิ่มมากขึ้นจากผู้ก่อการคนเดียว รวมถึงการใช้สื่อสังคมอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐอิสลามเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อครบวงจร การเผชิญหน้ากับภัยคุกคามเองกลายเป็นสิ่งที่ท้าทายมากขึ้น ทั้งหมดนี้สื่อให้เห็นถึงหนทางอันยากลำบากในภายภาคหน้าสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการจัดการกับพวกอิสลามหัวรุนแรงรูปแบบใหม่ล่าสุด ซึ่งเป็นความท้าทายที่ภูมิภาคนี้เคยคิดว่าสามารถเอาชนะได้ไปแล้ว”

ทางการทราบว่าหนทางในภายภาคหน้ามาพร้อมกับความท้าทาย แต่พวกเขาก็มุ่งมั่นที่จะต่อสู้ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้นำเครื่องมือทุกอย่างของหน่วยบังคับใช้กฎหมายที่มีในการป้องปรามรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์มาใช้

“ความท้าทายด้านการก่อการร้ายที่เราเผชิญยังคงเปลี่ยนแปลงด้วยความรวดเร็วอย่างต่อเนื่อง และเราไม่สามารถคาดการณ์ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรในทศวรรษหน้า หรือพูดจริง ๆ แล้วแม้แต่ในหนึ่งปีข้างหน้า” นางไคดานาวแห่งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าว
นางไคดานาวกล่าวว่า ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับประเทศต่าง ๆ ในการปกป้องผลประโยชน์ของตนในระยะยาวจึงจำเป็นต้องใช้ “ความมีส่วนร่วมทางการทูตที่แข่งขัน การขยายความร่วมมือของเรา การสร้างขีดความสามารถในภูมิภาคและแบบพหุภาคี และการส่งเสริมแนวทางการจัดการแบบองค์รวมและหลักนิติธรรมเพื่อต่อต้านการก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรง”


เหตุใดฉันถึงหันหลังให้รัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์

นักวิจัยจากศูนย์นานาชาติเพื่อการศึกษาแนวคิดแบบหัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมืองได้สัมภาษณ์ผู้แปรพักตร์ 58 รายจากรัฐอิสลามแห่งอิรักและเลแวนต์ถึงสาเหตุที่พวกเขาหันหลังให้กับกลุ่มดังกล่าว มีเรื่องราวสี่เรื่องที่ปรากฏขึ้นจากเรื่องเล่าของพวกเขา ต่อไปนี้คือสิ่งที่รายงานระบุเกี่ยวกับแต่ละเรื่อง

ความขัดแย้งภายใน
“หนึ่งในคำวิจารณ์จากผู้แปรพักตร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ ระดับการมีส่วนร่วมของรัฐอิสลามในการต่อสู้กับกบฏชาวซุนนีอื่น ๆ ผู้นำรัฐอิสลามถือว่ากองทัพปลดแอกซีเรีย กลุ่มอะฮอร์อัลชาม และกลุ่มญาบัดอัลนูสรา ที่เป็นเครือข่ายของกลุ่มอัลกออิดะห์ล้วนเป็นศัตรู และได้ทำการต่อสู้อย่างโหดเหี้ยมกับทุกกลุ่มดังกล่าวในขณะที่สมาชิกรากหญ้ามักมีความเป็นปรปักษ์น้อยกว่า ผู้แปรพักตร์หลายรายโต้แย้งว่าการต่อสู้กับกลุ่มซุนนีอื่น ๆ เป็นสิ่งผิด ไม่เกิดประโยชน์ และผิดกฎทางศาสนา หลายคนอธิบายถึงความขัดแย้งภายในว่าเป็น ฟิตนะห์ ซึ่งเป็นคำเชิงอาเวคที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานและถูกนำไปใช้ตลอดประวัติศาสตร์อิสลามในการอ้างถึงช่วงเวลาแห่งการแบ่งแยกภายในและการก่อความไม่สงบ”

ความป่าเถื่อนต่อชาวมุสลิม (ซุนนี)
“ผู้แปรพักตร์อีกรายหนึ่งเล่าถึงความป่าเถื่อนของกลุ่ม หลายคนในฐานข้อมูลของเราร้องทุกข์ถึงความโหดร้าย และการสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ คำให้การเหล่านี้กล่าวถึงการปฏิบัติการทางทหารที่ไม่คำนึงถึง “ความเสียหายข้างเคียง” และนำไปสู่การเสียชีวิตของสตรีและเด็กจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้แปรพักตร์ยังกล่าวถึงการฆ่าตัวประกันแบบสุ่ม การทารุณชาวบ้านอย่างมีระบบ และการสังหารเหล่านักรบโดยผู้บัญชาการของตน กระทั่งเช่นนั้น ไม่มีเหตุการณ์เจาะจงใด ๆ ที่ผู้แปรพักตร์เน้นให้เห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้เยาว์หรือผู้อื่นที่อาจเรียกได้ว่าเป็น “ธรรมจาคะ” หรือพวก “นอกรีต” ความป่าเถื่อนเดียวที่ผู้แปรพักตร์ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยคือ ความรุนแรงต่อชาว “มุสลิม” หรือมุสลิมนิกายซุนนี ซึ่งพวกเขาเชื่อว่า สิทธิของบุคคลเหล่านี้ก็ควรได้รับการคุ้มครอง ดังนั้น ความป่าเถื่อนดังกล่าวจึงดูเหมือนไม่ได้เป็นความกังวลในวงกว้างแต่เป็นการมองผ่านมุมมองของนิกายย่อย และส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดความโกรธแค้นเมื่อเหยื่อเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนีด้วยกัน”

นักศึกษาอิสลามกำลังศึกษาคัมภีร์ อัลกุรอานในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
นักศึกษาอิสลามกำลังศึกษาคัมภีร์
อัลกุรอานในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย

พฤติกรรมทุจริตและขัดต่อวิถีอิสลาม
“เรื่องราวที่เกี่ยวกับการทุจริตครอบคลุมถึงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างที่ผู้แปรพักตร์เห็นว่าเป็นสิ่งที่อยุติธรรม เห็นแก่ตัว และตรงกันข้ามกับอุดมการณ์และมาตรฐานการปฏิบัติของกลุ่ม แทบจะไม่มีใครเชื่อว่าการทุจริตเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นระบบ (แต่ผู้แปรพักตร์รายหนึ่งกล่าวถึงกลุ่มผู้นำว่าเป็น “กลุ่มพ่อค้า” ที่มีวัตถุประสงค์หลักคือการทำสัญญาเกี่ยวกับธุรกิจและน้ำมันกับคนกลุ่มเดียวกับที่พวกตนสมควรจะต่อสู้) ส่วนใหญ่แล้วเหตุการณ์ “การทุจริต” จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนของผู้บัญชาการแต่ละรายและ “เอมีร์” ที่ปฏิบัติต่อนักรบของตนอย่างทารุณและมีการเล่นพรรคเล่นพวก ผู้แปรพักตร์ชาวซีเรียร้องเรียนถึงสิทธิพิเศษที่นักรบต่างชาติได้รับซึ่งพวกตนเห็นว่าไม่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาของกลุ่มหรือของศาสนาอิสลามโดยทั่วไป”

คุณภาพชีวิต
“ผู้แปรพักตร์กลุ่มเล็ก ๆ ที่มีจำนวนมากพอควรได้แสดงความผิดหวังเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต โดยทั่วไป คนในกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่เข้าร่วมกับกลุ่มด้วยเหตุผลด้านวัตถุนิยมและความเห็นแก่ตัว โดยได้ตระหนักโดยเร็วว่า รถยนต์และสิ่งของหรูหราที่พวกเขาสัญญาว่าจะได้รับจะไม่กลายเป็นจริง นอกจากนั้น นักรบชาวตะวันตกดูจะประสบความลำบากกับการที่ไม่มีไฟฟ้าและปัจจัยพื้นฐาน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่จะเต็มใจยอมรับว่านี่คือสาเหตุที่พวกตนแปรพักตร์จากกลุ่ม อีกแง่มุมหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือประสบการณ์ในสนามรบของผู้แปรพักตร์ที่ส่วนใหญ่แล้วไม่เป็นไปตามความคาดหวังทั้งด้านการกระทำและความกล้าหาญ ผู้แปรพักตร์รายหนึ่งกล่าวว่างานของตนเป็นสิ่งที่ “น่าเบื่อ” และบ่นถึงการไม่ได้ออกปฏิบัติการ ในขณะที่คนอื่นอ้างว่านักรบต่างชาติถูก “ใช้ประโยชน์” อย่างมีระบบและถูกใช้เป็นเครื่องสังเวย ผู้แปรพักตร์สองรายตัดสินใจแปรพักตร์เมื่อเรียนรู้ว่าผู้บัญชาการของตนวางแผนให้ตนออกปฏิบัติการโดยเป็นมือระเบิดพลีชีพ พวกเขาต้องการมีประสบการณ์ในการสู้รบก่อนเพื่อมีโอกาสได้เพลิดเพลินกับรางวัลแห่งสงครามก่อนที่จะกระทำภารกิจสุดท้าย”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button