เรื่องเด่น

โครงการความร่วมมือ เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง

 วิธีการนี้จะใช้ได้ผลกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือไม่

ดร.พี.เค. กอช

การพึ่งพาที่เพิ่มมากขึ้นและความหนาแน่นของการขนส่งสินค้าทางเรือเป็นปัจจัยกระตุ้นการขยายตัวของอาชญากรรมทางทะเลทั่วโลก ภัยคุกคามต่าง ๆ เช่น การปล้นสะดมทางน้ำ การก่อการร้ายทางทะเล การค้ายาเสพติดและอาวุธมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิมและจำเป็นต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและการธำรงรักษากฎระเบียบทางทะเลอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดการกับภัยคุกคามเหล่านี้

ความท้าทายเหล่านี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในเรื่องความร่วมมือข้ามเขตแดนทางการเมือง และความจำเป็นในการแบ่งปันข่าวกรอง ปัจจัยดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับหน่วยลาดตระเวนต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำในคาบสมุทรโซมาลี เจ้าหน้าที่เหล่านี้ปฏิบัติงานในพื้นที่กว้างใหญ่เพื่อค้นหากลุ่มโจรสลัดขนาดย่อยที่ก่อเหตุโจมตีจากเรือกรรเชียงขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวสูงภายใต้การสั่งการของเรือแม่ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง หากไม่มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วย ก็เป็นไปได้ยากที่หน่วยลาดตระเวนเหล่านี้จะบรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน
โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพราะความจำเป็นเหล่านี้ เนื่องจากกองทัพเรือต่าง ๆ จากหลายประเทศต้องปฏิบัติหน้าที่ในอ่าวเอเดนเพื่อป้องกันการโจมตีของโจรสลัดจากโซมาเลียและปุนท์แลนด์

ด้วยแนวคิดแรกเริ่มเรื่องการหาวิธีระดมความร่วมมือระหว่างหน่วยเฉพาะกิจต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำต่าง ๆ ผ่านทางปฏิบัติการอตาลันตาในโซมาเลียโดยกองกำลังทางเรือสหภาพยุโรป โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งที่มีสหรัฐฯ เป็นแกนนำจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เพื่อประสานกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างหน่วยเฉพาะกิจของชาติพันธมิตรและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้กองทัพเรือให้ได้ประโยชน์สูงสุดในภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย โครงการนี้มีกองทัพเรือที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โดยอิสระเข้าร่วมด้วยในเวลาต่อมา

กองทัพเรือของแต่ละประเทศ อาทิ จีน อินเดียและญี่ปุ่น ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เมื่อเริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 กองทัพเรือเหล่านี้ได้ประสานความร่วมมือเกี่ยวกับขบวนเรือคุ้มกันเรือสินค้าที่เดินทางผ่านช่องทางแนะนำหรับการเดินเรือ เรือของแต่ละประเทศจะปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันโดยมีประเทศหนึ่งที่ถูกใช้ชื่อเป็น “ประเทศอ้างอิง” เป็นระยะเวลาสามเดือนผลัดเปลี่ยนกันไป เกาหลีใต้เข้าร่วมโครงการนี้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555

นายอับดี อาลี โจรสลัดโซมาเลียที่มีผ้าปิดหน้ายืนอยู่ใกล้กับเรือประมงของไต้หวันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เรือลำนี้ถูกคลื่นซัดมาเกยฝั่งที่เมืองฮอบโย ประเทศโซมาเลีย หลังกลุ่มโจรสลัดได้รับเงินค่าไถ่และปล่อยลูกเรือไป ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส
นายอับดี อาลี โจรสลัดโซมาเลียที่มีผ้าปิดหน้ายืนอยู่ใกล้กับเรือประมงของไต้หวันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 เรือลำนี้ถูกคลื่นซัดมาเกยฝั่งที่เมืองฮอบโย ประเทศโซมาเลีย หลังกลุ่มโจรสลัดได้รับเงินค่าไถ่และปล่อยลูกเรือไป ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง ไม่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานงานการปฏิบัติการของกองทัพเรือหรือการปฏิบัติการทางทหารใด ๆ แต่ได้จัดการประชุมขึ้นที่บาห์เรนโดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ ตัวแทนทางทหารและทางพลเรือนจาก 33 ประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ 14 องค์กร กลุ่มอุตสาหกรรมการเดินเรือต่าง ๆ และรัฐบาลจากหลายประเทศ การ

ประชุมนี้มีกลุ่มหลัก ๆ สามกลุ่มผลัดกันเป็นประธานร่วม ได้แก่ กองกำลังผสมทางเรือ นาโต และกองกำลังทางเรือสหภาพยุโรป โดยมีแนวคิดเรื่องการแบ่งปันข้อมูลและข่าวกรองตลอดจนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการต่อต้านการแพร่ระบาดของโจรสลัด

การประชุมเหล่านี้มีการแบ่งปันข่าวกรองสองประเภท ได้แก่ ความรู้และข้อมูลทางกลยุทธ์ และทางยุทธวิธีในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ยังมีการแบ่งปันข่าวกรองทางยุทธวิธีแบบเร่งด่วนระหว่างเรือต่าง ๆ ทางเครือข่ายการสื่อสารที่ปลอดภัย เช่น เครือข่ายเมอร์คิวรีย์ เพื่อสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยแก่ขบวนเรือ

เครือข่ายเมอร์คิวรีย์ได้รับการขนานนามว่าเป็นเฟซบุ๊คสำหรับการต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำ โดยจะมีพื้นที่สำหรับการสนทนาตลอดจนข้อมูลใหม่ ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติการในแต่ละวัน เครือข่ายนี้ทำให้เกิดการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานขบวนเรือคุ้มกัน โดยมีหน้าที่หลักคือ เพื่อจัดการประชุมและการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอบนเครือข่ายเมอร์คิวรีย์ในกรณีที่จำเป็น

นอกเหนือจากการการแบ่งปันข้อมูล โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งยังสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติเพื่อการจัดการที่ดีที่สุดฉบับที่สี่สำหรับอุตสาหกรรมการเดินเรือเพื่อป้องกันการปล้นสะดมทางน้ำโดยโจรสลัดโซมาเลีย ซึ่งได้รับการรับรองจากกองกำลังทางเรือสหภาพยุโรปเช่นกัน

แนวคิดของอินเดีย

นับตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ กองทัพเรืออินเดียได้เข้าร่วมการประชุมของโครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง แม้บางภาคส่วนของรัฐบาลอินเดียอาจมีข้อกังวลอยู่บ้าง ภาคส่วนดังกล่าวเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นที่จะขยายการต่อสู้กับการปล้นสะดมทางน้ำ และคณะผู้แทนของอินเดียยังได้เข้าร่วมการประชุมของกลุ่มประสานงานขององค์การ

สหประชาชาติที่นิวยอร์กว่าด้วยเรื่องการปล้นสะดมทางน้ำ เห็นได้ชัดว่า เป้าหมายของคณะผู้แทนคือการมีส่วนร่วมในระดับนี้มากกว่า

อย่างไรก็ตาม โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งคือช่องทางที่เรือรบต่าง ๆ ของกองทัพเรืออินเดียในภูมิภาคจะนำข้อมูลไปใช้ในการลาดตระเวนการปล้นสะดมทางน้ำ และคณะผู้แทนของอินเดียก็เข้าร่วมโครงการอย่างแข็งขันตามปกติ ส่วนใหญ่แล้ว จะมีการป้อนข้อมูลเข้ามากกว่าการส่งข้อมูลออกเป็นอย่างมากเนื่องจากโครงการนี้มีแหล่งข้อมูลอยู่หลากหลาย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง ถูกยกระดับความสำคัญมากขึ้นเมื่อได้รับมอบหมายให้แสดงข้อคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดพื้นที่ความเสี่ยงสูงต่อการปล้นสะดมทางน้ำ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารแนวปฏิบัติเพื่อการจัดการที่ดีที่สุดฉบับที่สี่

การโจมตีของโจรสลัดในภูมิภาคมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ความเสี่ยงสูง เรือสินค้าที่ล่องผ่านพื้นที่นี้จึงยังคงต้องจ่ายเบี้ยประกันสูงกว่า ปัจจัยนี้เป็นตัวกระตุ้นความต้องการที่จะลดพื้นที่ความเสี่ยงสูงให้ได้อย่างรวดเร็วและประเมินความเสี่ยงใหม่

ในระหว่างที่มีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมในการใช้โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งเพื่อกิจกรรมดังกล่าว ความสำคัญของโครงการนี้ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นอย่างยิ่งยวดในมุมมองของรัฐบาลอินเดีย ขณะที่อินเดียรอรายงานของโครงการเกี่ยวกับพื้นที่ความเสี่ยงสูงซึ่งเป็นประเด็นสำคัญยิ่ง เห็นได้ชัดว่าโครงการนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อการกำหนดข้อบังคับทางเศรษฐกิจในการขนส่งสินค้าเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นแง่มุมที่อาจพัฒนาไปไกลกว่ากรอบการดำเนินงานตามกฎบัตรในการจัดตั้งโครงการ

ช่องว่างโดยธรรมชาติ

แม้ว่าโครงการแลกเปลี่ยนข้อมูล/ข่าวกรอง จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ อาทิ การปล้นสะดมทางน้ำ แต่ทุกความพยายามดังกล่าวมีข้อจำกัด อันเนื่องมาจากช่องว่างบางอย่างในระบบ

ความไว้วางใจเบื้องต้นคือรากฐานของความร่วมมือหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลใด ๆ แต่การแลกเปลี่ยนดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ยากลำบากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันในระดับต่ำ และกองทัพเรือส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติตามนโยบายสากลเรื่อง“ความจำเป็นในการแบ่งปัน” เพียงน้อยนิด

กองทัพเรือทั้งหมดที่ปฏิบัติการในอ่าวเอเดน มีกฎการรบปะทะของตนเองที่สะท้อนให้เห็นถึงการจัดลำดับความสำคัญของประเทศและส่วนใหญ่จะปกปิดเป็นความลับ สิ่งนี้ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสามารถในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข่าวกรองที่ได้มา

กองทัพเรือส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะพิจารณาว่า ความทะเยอทะยานส่วนตัวของบรรดากัปตันเรือรบหนุ่มที่ “กำลังจะออกปฏิบัติการลาดตระเวน” คือปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูล กองทัพเหล่านี้ไม่ได้ตระหนักว่ากัปตันหลายคนมักต้องการที่จะดำเนินการปฏิบัติการต่อต้านโจรสลัดด้วยตนเองเพื่อสร้างสมชื่อเสียงและเกียรติยศส่วนบุคคล แทนที่จะส่งข้อมูลให้กองทัพเรือชาติอื่น ๆ นำไปปฏิบัติ (ยกเว้นกรณีที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรูปแบบภายใต้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงกว่าที่อยู่บนเรือ)

นอกจากนี้ จังหวะเวลายังเป็นปัจจัยสำคัญในการแลกเปลี่ยนข่าวกรองทางยุทธวิธี ข้อมูลดังกล่าวขึ้นอยู่กับจังหวะเวลา และประโยชน์ของข้อมูลก็ขึ้นอยู่กับจังหวะเวลาโดยแท้จริง แม้ว่าข่าวกรองทางกลยุทธ์จะมีอายุยืนยาวกว่า แต่ความล่าช้าใด ๆ ก็ตามในการแบ่งปันข่าวกรองทางยุทธวิธีก็อาจทำให้มันกลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์

APDF_V41N1_THAi_graph5

นอกจากนี้ กองทัพเรือต่าง ๆ ยังมีค่านิยมพื้นฐานในการปฏิบัติการที่เป็นลักษณะเฉพาะและมีวิธีการทำงานที่เป็นเอกลักษณ์ของกองทัพนั้น ๆ การฝึกผสมหรือการฝึกร่วมบ่อย ๆ จะช่วยประสานช่องว่างเหล่านี้แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะขจัดไปได้ทั้งหมด ดังนั้น การบรรลุขีดความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างพันธมิตรและระหว่างเรือต่าง ๆ ที่ทำการลาดตระเวนโดยอิสระจะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลากหลายประการ เช่น ระดับของความเป็นมืออาชีพที่แสดงออกและระดับความสามารถในการทำงานร่วมกัน

เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีช่องว่างเหล่านี้ตามธรรมชาติ การพิจารณาศักยภาพในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งในภูมิภาคอื่น ๆ ของเอเชีย เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเรื่องที่คุ้มค่า

การดำเนินโครงการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แน่นอนว่าการก่อเหตุปล้นสะดมทางน้ำที่เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภูมิภาคนี้มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างกลไกแบ่งปันเปลี่ยนข้อมูลอย่างโครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้เต็มไปด้วยประเทศชายฝั่งที่มีจิตสำนึกอันแรงกล้าในเรื่องความรับผิดชอบต่ออำนาจอธิปไตยและเป็นที่ตั้งของน่านน้ำที่มีการแข่งขันกันมากที่สุดในโลก ด้วยเหตุนี้ โครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบมะละกาโดยมาเลเซีย สิงคโปร์และอินโดนีเซีย และโครงการ อายส์ อิน เดอะ สกาย
ซึ่งเป็นโครงการการลาดตระเวนทางอากาศขั้นต่าง ๆ จึงประสบปัญหาอย่างรุนแรงในปีแรก ๆ นอกเหนือจากปัญหาทางด้านความพร้อมในการปฏิบัติงาน ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา

ด้วยอุปสรรคที่มีอยู่ในภูมิภาคที่โครงการต่าง ๆ อาจต้องเผชิญ การวิเคราะห์ปัญหาที่ยังคงต้องได้รับการแก้ไขจึงเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ
a) การแข่งขันระหว่างชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคมักจะกัดกร่อนความไว้วางใจระหว่างประเทศชายฝั่ง ตัวอย่างเช่น มาเลเซียและอินโดนีเซียที่ยังคงขัดแย้งกันแม้จะมีข้อตกลงเพื่อป้องกันอุบัติการณ์ต่าง ๆ ทางทะเลระหว่างกองทัพเรือของทั้งสองประเทศ ดังนั้น แม้จะมีโครงการลาดตระเวนร่วมในช่องแคบบมะละกา แต่ความไว้วางใจซึ่งกันและกันที่ขึ้น ๆ ลง ๆ อาจทำให้การแบ่งปันข่าวกรองที่เกิดขึ้นในชั่วยามนั้นกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบากในบางครั้ง
b) ประเทศชายฝั่งทั้งหมดมีขีดความสามารถทางทะเลอันหลากหลายในระดับต่าง ๆ กัน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกองทัพเรือต่าง ๆ เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในระยะประชิดและปฏิบัติตามข่าวกรองที่มีอยู่
c) โดยทั่วไปแล้ว การจัดลำดับความสำคัญทางภูมิยุทศาสตร์ของประเทศที่แตกต่างกันจะส่งผลต่อการปฏิบัติการร่วมทางทะเลอย่างมีนัยสำคัญ และจะส่งผลต่อการแบ่งปันข้อมูลและข่าวกรอง การพัฒนาระบบที่ใช้ร่วมกันและการค้นหาผลประโยชน์ร่วมกันคือสิ่งสำคัญเพื่อช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล
d) ปัจจัยหลักอีกประการหนึ่งที่มีผลต่อการแลกเปลี่ยนข่าวกรองคือท่าทีที่มีต่อจีนและปัญหาเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ วิธีการที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศอาจส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ขณะที่อุปสรรคเหล่านี้อาจเกิดขึ้นกับโครงการใดก็ตามที่เป็นโครงการใหม่ในภูมิภาคที่มีเจตจำนงที่ดี โครงการอื่น ๆ ก็อาจส่งผลต่อการดำเนินงานของโครงการใหม่เช่นเดียวกัน ได้แก่
ภูมิภาคนี้มีศูนย์บูรณาการข้อมูลข่าวสารอยู่แล้วที่ดำเนินโครงการจากสิงคโปร์จนบรรลุผลสำเร็จตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ดังนั้น กฎบัตรของโครงการใหม่จึงไม่ควรกำหนดกรอบการทำงานที่ซ้ำซ้อนกับโครงการนี้
ในฐานะส่วนหนึ่งของมาตรการต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำในภูมิภาค ข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อการต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธในเอเชียยังคงเป็นโครงการที่ดำเนินงานทางด้านนี้โดยเฉพาะ ความสำเร็จของการทำงานได้ส่งเสริมให้โครงการนี้เติบโตขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะขยายขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติงานและมีสมาชิกเพิ่มขึ้น โครงการใหม่ไม่ควรทำงานซ้ำซ้อนกับระบบที่มีอยู่แล้วและควรช่วยส่งเสริมมาตรการต่อต้านการปล้นสะดมทางน้ำ

ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีแบบแผนของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) อาจถูกกำหนดให้ดำเนินงานภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งอาเซียนที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือและให้คำปรึกษาระดับสูงสุดของอาเซียน นอกจากนี้ ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอาจอยู่ภายใต้แผนงานที่ใหญ่กว่าอย่างการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งอาเซียนและชาติพันธมิตร ซึ่งเป็นกรอบการทำงานของอาเซียนและคู่เจรจาอีกแปดประเทศเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความร่วมมือทางกลาโหมเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาในภูมิภาค

บทสรุป

ความร่วมมือระหว่างกองกำลังทางทะเลพร้อมด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพ คืออาวุธที่มีศักยภาพในการต่อสู้กับการขยายตัวของอาชญากรรมข้ามชาติทางทะเล รวมทั้งการก่อการร้าย การอพยพที่ผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด/อาวุธ และการปล้นสะดมทางน้ำ โครงการความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และการลดความขัดแย้งบรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะในการต่อสู้กับการปล้นสะดมทางน้ำในอ่าวเอเดน

เนื่องจากอาชญากรรมทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความพยายามดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งเสริมการพัฒนาการเฝ้าระวังสถานการณ์ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังช่วยรักษาเสถียรภาพของภูมิภาคนี้ที่กำลังอยู่ในภาวะปั่นป่วนและเป็นมาตรการสร้างความเชื่อมั่นในทางปฏิบัติ โครงการใหม่นี้จะช่วยเติมเต็มช่องว่างต่าง ๆ และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมตลอดจนช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยในทะเล

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button