ติดอันดับ

ออสเตรเลียกล่าวว่า ความผันผวนเป็นปัจจัยกระตุ้นความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นกับญี่ปุ่น

รอยเตอร์

ความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมืองในภูมิภาคอินโดเอเชียแปซิฟิกและส่วนอื่น ๆ ของโลกเมื่อไม่นานมานี้ กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ที่แน่นแฟ้นมากขึ้นระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและออสเตรเลีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลียกล่าวเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

“ออสเตรเลียจะรอดพ้นจากความยากลำบากของความผันผวนในภูมิภาคและทั่วโลก แต่นั่นหมายถึงความสัมพันธ์ของเรากับพันธมิตรที่ไว้ใจได้เช่นญี่ปุ่นจะสำคัญมากยิ่งขึ้น” นางจูลี บิชอป กล่าวในระหว่างปราศรัยในกรุงโตเกียว ซึ่งนางบิชอปได้พบกับนายฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น

นี่เป็นการมาเยือนญี่ปุ่นเป็นครั้งที่ห้าของนางบิชอป ซึ่งจะเดินทางไปยังกรุงปักกิ่งต่อจากนั้นเพื่อเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนภายหลังการประชุมกับนายชินโซ อะเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และนายเกน นากาตานิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ออสเตรเลียกำลังแสวงหาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งกับจีนซึ่งเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดเช่นเดียวกับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับญี่ปุ่น

ญี่ปุ่นหวังว่าความปรารถนาสำหรับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงที่ลึกซึ้งมากขึ้นของออสเตรเลียจะกระตุ้นการนำเสนอเพื่อขายฝูงเรือดำน้ำล่องหนให้กับรัฐบาลออสเตรเลีย

ในปีนี้ออสเตรเลียจะเลือกแบบสำหรับฝูงเรือดำน้ำใหม่ ญี่ปุ่นซึ่งนำเสนอเรือดำน้ำซอร์ยูขนาด 3,600 เมตริกตันในแบบที่หลากหลาย กำลังแข่งขันกับคู่แข่งจากเยอรมนีและฝรั่งเศสสำหรับการทำสัญญา

รัฐบาลสหรัฐฯ สนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคงที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและออสเตรเลีย สหรัฐฯ กำลังมองดูชาติพันธมิตรในอินโดเอเชียแปซิฟิกแบกรับบทบาทความมั่นคงที่มากขึ้นในขณะที่อิทธิพลที่เพิ่มสูงขึ้นของจีนได้เปลี่ยนสมดุลของอำนาจในภูมิภาค

นางบิชอปชี้ให้เห็นถึงความตึงเครียดในทะเลจีนใต้และ “การกระทำอันเป็นการทำลายเสถียรภาพตามอำเภอใจ” เช่น การยิงจรวดและการทดสอบนิวเคลียร์ครั้งล่าสุดของเกาหลีเหนือว่าเป็น “ความท้าทาย” ในเอเชีย

จีนกล่าวหารัฐบาลสหรัฐฯ ว่าแสวงหาความมีอิทธิพลเหนือกว่าทางทะเลโดยอ้างเสรีภาพในการเดินเรือภายหลังจากเรือพิฆาตของกองทัพเรือสหรัฐฯ แล่นเข้าไปภายใน 12 ไมล์ทะเลในหมู่เกาะที่มีข้อพิพาทในห่วงโซ่พาราเซลของทะเลจีนใต้ในช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2559

การค้าขายผ่านทะเลจีนใต้ในแต่ละปีมีมูลค่ามากกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 175 ล้านล้านบาท) นอกจากนั้น บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน และเวียดนามยังอ้างสิทธิบางส่วนของทะเลจีนใต้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button