ติดอันดับ

ข้อพิพาททะเลจีนใต้ยังไม่มีความคืบหน้า

เจ้าหน้าที่ฟอรัม

ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอินโดเอเชียแปซิฟิก เข้าไปเกี่ยวพันมากขึ้นในความขัดแย้งในทะเลจีนใต้

โดยที่ประเทศจีนเร่งถมดินเพื่อสร้างเกาะเทียมในทะเลที่เป็นพื้นที่พิพาท เหล่าประเทศเพื่อนบ้านจึงวิพากษ์วิจารณ์การกระทำดังกล่าวอย่างรุนแรง หลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะฟิลิปปินส์และเวียดนามได้ตำหนิการอ้างสิทธิอย่างยืนกรานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของรัฐบาลจีนเหนือทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด

จีนมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในทะเลดังกล่าวกับบรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและเวียดนาม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีการขนส่งสินค้าทางเรือเป็นมูลค่าถึงปีละ 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือประมาณ 177 ล้านบาท)

พัฒนาการที่น่าสนใจเกี่ยวกับทะเลจีนใต้ระหว่างกลางถึงปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 มีดังนี้

  • สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ไต้หวันซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้องกับข้อพิพาททะเลจีนใต้มากนัก ได้ประกาศว่าจะเพิ่มการลาดตระเวนของหน่วยยามฝั่งและสร้างท่าเรือขนาดใหญ่ในเกาะขนาดเล็กในพื้นที่พิพาท ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ปัจจุบันเกาะอิตูอาบาเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสี่ของหมู่เกาะสแปรตลี หลังจากที่จีนได้ทำการถมดินที่แนวปะการังมิสชีฟ แนวปะการังเฟียรี ครอส และแนวปะการังซูบี
  • มาเลเซียใช้แนวทางระมัดระวังในเรื่องข้อพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้กับรัฐบาลจีน อย่างไรก็ดี สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของมาเลเซียกล่าวว่า การก่อสร้างของจีนบนเกาะสแปรตลีเป็น “การยั่วยุที่ไร้เหตุผล”
  • ในการหยุดยั้งจีน นายแอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กล่าวเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ว่า กองทัพสหรัฐฯ จะเดินเรือและบินไปในทุกที่ที่กฎหมายระหว่างประเทศอนุญาตให้ทำได้ รวมถึงในทะเลจีนใต้ด้วย โดยนายคาร์เตอร์ได้กล่าวหลังจากที่ได้พบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย รายงานของสื่อยังให้ข้อมูลเพิ่มว่า สหรัฐฯ อยู่ระหว่างพิจารณาปฏิบัติการเสรีภาพในการเดินเรือภายในแนว 12 ไมล์ทะเลที่จีนอ้างสิทธิรอบเกาะที่สร้างบนแนวปะการังในหมู่เกาะสแปรตลี
  • จีนปฏิเสธว่าได้ใช้กองกำลังทหารเข้าควบคุมทะเลจีนใต้ โดยกล่าวว่าการก่อสร้างมีวัตถุประสงค์ทางพลเรือนเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ การวิจัยทางทะเลและการอำนวยความสะดวกให้การเดินเรือเป็นไปโดยปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส รายงานว่า การแสดงท่าทีดังกล่าวของจีนไม่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศ
  • หนังสือพิมพ์ โยมิยูริ ชิมบุน เผยว่า เพื่อการแสดงท่าทีเป็นมิตรมากขึ้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจีนแถลงเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 ว่า จีนพร้อมที่จะดำเนินการฝึกร่วมกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่พิพาท ซึ่งจะรวมถึงเรื่องการเผชิญหน้ากันโดยบังเอิญ การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย และการบรรเทาภัยพิบัติ
  • ข้อเท็จจริงบนพื้นที่ข้อหนึ่งที่ได้เปลี่ยนไปคือ ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 จีนได้เริ่มเปิดดำเนินการประภาคารสูง 50 เมตรสองแห่งบนแนวปะการังคูอาร์เตอรอนและแนวปะการังจอห์นสันเซาท์ในหมู่เกาะสแปรตลีตามรายงานของดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนให้ข้อมูลว่าประภาคารทั้งสองจะช่วยนำทางในการเดินเรือ นักการทูตต่างชาติและบรรดาเจ้าหน้าที่กองทัพเรือตอบโต้ว่าสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นการดำเนินการอย่างมีเล่ห์เหลี่ยมเพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนของจีน เมื่อสหรัฐฯ ส่งเรือรบเข้าไปบริเวณเกาะเทียมของจีนในครั้งหน้า เจ้าหน้าที่บนเรือจะต้องตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไรกับประภาคารขนาดใหญ่ทั้งสองดังกล่าว ขณะที่เรือสมัยใหม่ส่วนใหญ่พึ่งพาเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อยืนยันตำบลที่ตั้งของเรือ แต่เรือบางลำก็ยังคงใช้ตำแหน่งที่ตั้งคงที่ที่เห็นได้จากประภาคาร และการกระทำดังกล่าวก็จะเป็นการเข้าทางกลยุทธ์ที่ “นำไปสู่การส่งเสริมการอ้างสิทธิของจีนโดยการบังคับให้ประเทศอื่นรับรองอธิปไตยของจีนอย่างมีประสิทธิผลจากการกระทำ” ตามคำอธิบายที่นายเอียน สตอรีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเลจีนใต้จากสถาบันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาของสิงคโปร์ ได้ให้ไว้กับสำนักข่าวรอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button