ติดอันดับ

สองประเทศคู่แข่งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ล่าถอยจากจุดวิกฤติครั้งแล้วครั้งเล่า

ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ในการเผชิญหน้ากันครั้งล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ ทั้งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ต่างพิสูจน์ให้เห็นอีกครั้งถึงความเชี่ยวชาญในการถอยห่างจากจุดวิกฤติ โดยครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงหลังร่วมเจรจากันอย่างยาวนาน

ก่อนหน้านี้ เกาหลีเหนือที่มีระบอบการปกครองแบบเผด็จการไม่มีคำขอโทษต่อเกาหลีใต้และไม่แม้แต่จะออกมายอมรับข้อกล่าวหาของเกาหลีใต้ที่ว่าทุ่นระเบิดของเกาหลีเหนือทำให้ทหารเกาหลีใต้ 2 นายได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการ หลังจากที่เกาหลีเหนือแสดง “ความเสียใจ” อย่างคลุมเคลือ เกาหลีใต้ได้ตกลงที่จะยุติการกระจายเสียงโฆษณาชวนเชื่อเพื่อต่อต้านรัฐบาลเกาหลีเหนือ และคู่ปรับคู่นี้ก็พบวิธีที่จะรักษาหน้าตนเองอีกจนได้

ต่อไปนี้คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา:

  • ••

ธันวาคม พ.ศ. 2553: เกาหลีเหนือล้มเลิกแผนการตามคำขู่ก่อนหน้านี้ที่ว่าจะ “ทำการตอบโต้ชนิดสร้างความหายนะ” หลังจากที่เกาหลีใต้ดำเนินการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงใกล้กับอาณาเขตทางทะเลทางตะวันตกของเกาหลีใต้ที่มีกรณีพิพาท

ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมที่คล้ายคลึงกันของรัฐบาลเกาหลีใต้ในช่วงหนึ่งเดือนก่อนหน้านั้น ซึ่งกระตุ้นให้เกาหลีเหนือยิงปืนใหญ่โจมตี ทำให้ทหารนาวิกโยธินสองนายและประชาชนสองคนเสียชีวิตในพื้นที่ชายแดนด่านหน้าของเกาหลีใต้

เกาหลีเหนือรักษาหน้าตนเองด้วยการอ้างว่า ที่ตนไม่ตอบโต้การซ้อมรบครั้งที่สองนั้นเป็นเพราะเกาหลีใต้ดำเนินการในทางที่ยั่วยุเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

  • ••

พฤษภาคม พ.ศ. 2553: เกาหลีเหนือขู่ว่าจะ “ทำการตอบโต้สุดกำลัง” หลังจากที่รัฐบาลเกาหลีใต้เริ่มใช้การสงครามจิตวิทยาอีกครั้งเพื่อลงโทษเกาหลีเหนือที่ถูกกล่าวหาว่ายิงตอร์ปิโดโจมตีทำให้ลูกเรือชาวเกาหลีใต้เสียชีวิต 46 นายในช่วงต้นปีเดียวกัน

แม้เกาหลีใต้จะนำลำโพงกลับมาติดตั้งใหม่ แต่ก็ไม่ได้เปิดลำโพงใช้งานตามคำปฏิญาณที่กล่าวไว้ในขณะนั้น ปัจจุบันลำโพงดังกล่าวถูกใช้ในการกระจายเสียงโฆษณาชวนเชื่อข้ามชายแดน

เกาหลีเหนือแสดงท่าทีที่เป็นมิตรต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดงานรวมญาติสำหรับครอบครัวชาวเกาหลีที่พลัดพรากจากกันอันเนื่องมาจากสงครามเกาหลี นักวิเคราะห์ต่างชาติระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความพยายามที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กับโลกภายนอกและกระตุ้นการไหลเวียนช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกาหลีเหนือต้องการเป็นอย่างมาก

  • ••

ช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 (พ.ศ. 2543-2552): ในช่วงเหตุการณ์ที่เรียกว่า “วิกฤตการณ์นิวเคลียร์เกาหลีเหนือครั้งที่ 2” ความไม่เป็นเป็นมิตรได้ปะทุขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวว่าเกาหลีเหนือยอมรับเป็นการส่วนตัวว่ามีโครงการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แบบลับ ๆ หลังจากที่เผชิญหน้ากับผู้แทนทางการทูตสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงว่าด้วยเรื่องนิวเคลียร์ก่อนหน้านี้

เกาหลีเหนือปฏิเสธในเรื่องนี้ และด้วยความโกรธเคืองที่มีอยู่แล้วก่อนหน้านั้นเมื่อถูกประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช กล่าวโจมตีว่าเป็นหนึ่งใน “แกนแห่งความชั่วร้าย” ทำให้เกาหลีเหนือประกาศในช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 ว่าตนได้ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายนิวเคลียร์ ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้นก่อนที่รัฐบาลเกาหลีใต้และรัฐบาลสหรัฐฯ จะหันไปใช้การเจรจาทางการทูตในช่วงฤดูร้อนในปี พ.ศ. 2546

  • ••

พ.ศ. 2535-2537: “วิกฤตการณ์นิวเคลียร์เกาหลีเหนือครั้งที่ 1” ประกอบไปด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้แก่ เกาหลีเหนือขู่ว่าจะถอนตัวออกจากสนธิสัญญาไม่แพร่กระจายนิวเคลียร์ และรัฐบาลสหรัฐฯ สำรวจพบการโจมตีทางอากาศที่เป็นไปได้ในช่วงที่รัฐบาลสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าเกาหลีเหนือกำลังหาทางที่จะผลิตระเบิดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ขนาดใหญ่

ในปี พ.ศ. 2537 นั้นยังเป็นครั้งแรกที่เกาหลีเหนือขู่ว่าจะทำให้กรุงโซลกลายเป็น “ทะเลเพลิง” ทำให้ประชาชนเกาหลีใต้จำนวนมากรีบไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตเพื่อตุนเสบียง

การเดินทางไปยังกรุงเปียงยางของนายจิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี พ.ศ. 2537 ช่วยให้เหล่าผู้เจรจาบรรลุข้อตกลงได้ในที่สุด โดยเกาหลีเหนือตกลงที่จะระงับโครงการปรมาณูเพื่อแลกกับความช่วยเหลือ

  • ••

พ.ศ. 2511: หน่วยคอมมานโดที่ 31 ของเกาหลีเหนือได้เล็ดลอดข้ามชายแดนโดยไม่ถูกตรวจพบ และเคลื่อนกำลังเข้าไปในระยะจู่โจมที่บริเวณทำเนียบในกรุงโซลของประธานาธิบดีพัก ชุงฮี ซึ่งเป็นบิดาของนางพัก กึนฮเย ประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน หลังจากที่เตรียมพร้อมจนนาทีสุดท้าย หน่วยรักษาความมั่นคงเกาหลีใต้ได้เปิดฉากโจมตี ผู้บุกรุกเพียงคนเดียวที่ถูกจับกุมได้เผยว่าตนมาเพื่อ “เชือดคอนายพัก ชุงฮี”

แม้จะมีเรื่องราวระทึกใจ แต่สองคู่แข่งเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ก็ลงนามในข้อตกลงในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2515 เพื่อพยายามที่จะรวมตัวกันใหม่อย่างสันติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button