ติดอันดับ

ญี่ปุ่นสนใจเข้าร่วมกลุ่มขีปนาวุธของนาโต

รอยเตอร์

แหล่งข่าวรายงานว่า ญี่ปุ่นสนใจที่จะเข้าร่วมกลุ่มพัฒนาขีปนาวุธของนาโต ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของรัฐบาลญี่ปุ่นในการเข้าร่วมโครงการป้องกันแบบพหุภาคี อันเป็นความเคลื่อนไหวที่กำลังได้รับการสนับสนุนจากกองทัพเรือสหรัฐฯ เพราะอาจจะเป็นการปูทางให้ญี่ปุ่นได้ริเริ่มโครงการความร่วมมือที่คล้ายกันนี้ในเอเชีย

กลุ่มขีปนาวุธนาโตที่ประกอบไปด้วยประเทศต่าง ๆ 12 ประเทศได้ร่วมทุนกันและกำกับดูแลการพัฒนาขีปนาวุธซีสแปร์โรว์ ซึ่งเป็นอาวุธที่ทันสมัยสำหรับติดตั้งบนเรือและออกแบบมาเพื่อทำลายขีปนาวุธเรี่ยผิวน้ำต่อต้านเรือและโจมตีอากาศยาน ขีปนาวุธดังกล่าวผลิตขึ้นโดยบริษัทเรย์ธีออนและบริษัทเจนเนอรัล ไดนามิกส์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอาวุธของสหรัฐฯ

ขีปนาวุธขององค์การนาโตที่มีสมาชิก 12 ประเทศนี้ เป็นกลุ่มที่ดูแลด้านการพัฒนาและร่วมแบ่งเบาภาระด้านค่าใช้จ่ายของขีปนาวุธซีสแปร์โรว์ ซึ่งเป็นอาวุธที่มีฐานยิงบนเรือ โดยถูกออกแบบให้มีอานุภาพในการทำลายขีปนาวุธต่อต้านเรือแบบโจมตีเรี่ยผิวน้ำและโจมตีอากาศยาน ขีปนาวุธนี้ผลิตโดยบริษัทอาวุธของสหรัฐฯ ที่ชื่อเรย์ธีออน แอนด์ เจเนอรัล ไดนามิกส์ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่จากกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือที่กรุงเฮกเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มขีปนาวุธ กองทัพเรือญี่ปุ่นและแหล่งข่าวของสหรัฐฯ ที่คุ้นเคยกับการเดินทางดังกล่าวระบุกับรอยเตอร์

แหล่งข่าวจากญี่ปุ่นสองรายที่คุ้นเคยกับโครงการดังกล่าวระบุว่า การสนทนาในหัวข้อนี้ของรัฐบาลญี่ปุ่นยังอยู่ในระยะแรกเริ่ม แม้ว่าการเข้าร่วมกับกลุ่มจะเป็นความเคลื่อนไหวที่สอดคล้องกับระเบียบวาระด้านความมั่นคงที่แข็งแกร่งมากขึ้นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งรวมถึงการยกเลิกกฎหมายห้ามการส่งออกอาวุธที่ใช้มานานหลายสิบปีไปเมื่อปีที่แล้ว

ขีปนาวุธจะตรงกับจุดประสงค์ของระเบียบวาระด้านความมั่นคงที่เข้มแข็งของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยการยกเลิกกฎหมายห้ามส่งออกอาวุธเมื่อปีที่แล้ว ทั้ง ๆ ที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับมาตลอดระยะเวลาสิบปีก็ตามแหล่งข่าวดังกล่าวไม่ประสงค์ออกนามเพราะไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลกับสื่อ

กลุ่มขีปนาวุธดังกล่าวที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยสมาชิกสี่ประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา วางแผนว่าจะพัฒนาและปรับปรุงขีปนาวุธซีสแปร์โรว์ให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ขีปนาวุธจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยความร่วมมือของสี่ประเทศรวมทั้งสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีปนาวุธซีสแปร์โรว์รุ่นปรับปรุงใหม่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าการมีญี่ปุ่นเข้าร่วมนอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระด้านค่าใช้จ่ายของโครงการแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมองเห็นบทบาทของญี่ปุ่นในฐานะผู้นำความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมทางทหารแบบพหุชาติในเอเชียในช่วงเวลาที่กองทัพที่ทันสมัยและการแสดงออกอย่างยืนกรานของจีนกำลังเป็นที่น่าหวาดกลัวต่อหลายประเทศในภูมิภาค แหล่งข่าวของสหรัฐฯ กล่าว

ความร่วมมือดังกล่าวซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นน้อยมากในเอเชียนั้น อาจสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงด้านความมั่นคงนอกเหนือจากการเป็นพันธมิตรทางทหารแบบทางการที่ส่วนใหญ่มักจะเกี่ยวพันกับรัฐบาลสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคที่หลากหลายของสหรัฐฯ

“เราคิดว่าโครงการนี้จะทำให้ญี่ปุ่นสามารถวางรากฐานสำหรับโครงการการส่งออกด้านการป้องกันประเทศโครงการอื่น ๆ ในอนาคต” แหล่งข่าวสหรัฐฯ กล่าว “เรายินดีต้อนรับกิจกรรมความร่วมมือด้านความมั่นคงประเภทนี้ในภูมิภาคจากญี่ปุ่น”

เมื่อขอให้แสดงความคิดเห็น โฆษกของกองทัพเรือญี่ปุ่นเขียนลงในอีเมลดังนี้ “กองทัพเรือสหรัฐฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการซีสแปร์โรว์ซีสแปร์โรว์กับเรามาตลอด เนื่องจากเรามีเป้าหมายที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดหาขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศที่ติดตั้งบนเรือ เราจึงกำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อหาทางเลือกที่จำเป็น”

กองทัพเรือสหรัฐฯ ระบุว่ายังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ในทันที ส่วนองค์การนาโตก็ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นใด ๆ

ญี่ปุ่นเสริมสร้างสายสัมพันธ์ในเอเชียให้แข็งแกร่งขึ้นแล้ว

ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่มีฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมทางทหารที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก แต่บริษัทต่าง ๆ อาทิ มิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ กลับผลิตอาวุธให้แก่กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นเพียงแห่งเดียวมาเป็นเวลานานเนื่องจากญี่ปุ่นมีกฎหมายห้ามการส่งออกอาวุธกฎหมายห้ามส่งออกอาวุธ

หลังจากที่มีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว นายอาเบะเริ่มส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งหลาย ๆ ประเทศที่มีทุนต่ำกำลังกังวลเกี่ยวกับเกาะที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ของจีนในพื้นที่พิพาททะเลจีนใต้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 นายอาเบะเห็นพ้องกับนายเบนิกโน อากีโนที่ 3 ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีทางทหารและอาวุธยุทโธปกรณ์ นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 นายอาเบะยังได้ตกลงที่จะเริ่มการเจรจาเรื่องการถ่ายโอนอุปกรณ์และเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศกับมาเลเซีย

ออสเตรเลียกำลังพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเป็นผู้สร้างเรือดำน้ำรุ่นใหม่ให้กับออสเตรเลีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บัญชาการทหารเรือสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนอย่างเปิดเผย เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้ประเทศพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลสหรัฐฯ ที่สุดสองประเทศในเอเชียมีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นขึ้น

อย่างไรก็ตาม โครงการเหล่านี้ไม่ใช่โครงการระดับพหุชาติ

ความกังวลบางประการในญี่ปุ่น

กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ใช้ขีปนาวุธซีสแปร์โรว์แล้ว ซึ่งประกอบขึ้นในประเทศโดยบริษัทมิตซูบิชิ อิเล็กทริก ภายใต้ข้อตกลงการผลิตร่วมกันระหว่างองค์การนาโตกับผู้ผลิตของสหรัฐฯขีปนาวุธซีสแปร์โรว์แล้ว ซึ่งเป็นขีปนาวุธที่ประกอบขึ้นในประเทศโดยบริษัทมิตซูบิชิ อิเล็คทริค ภายใต้ข้อตกลงการร่วมผลิตกับนาโตและบริษัทผู้ผลิตของสหรัฐฯ

แหล่งข่าวของสหรัฐฯ เผยว่า ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะทำให้การเปลี่ยนฐานะมาเป็นหุ้นส่วนแบบเต็มรูปแบบของญี่ปุ่นทำได้ง่ายขึ้น

แหล่งข่าวของญี่ปุ่นรายหนึ่งกล่าวว่า มีการพูดถึงข้อกังวลในญี่ปุ่นเกี่ยวกับอำนาจในการควบคุมการผลิตที่ลดลงเมื่อญี่ปุ่นเข้าเป็นหุ้นส่วน แม้ว่าการแบ่งเบาเรื่องค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นยินดี

“เรื่องที่กังวลก็คือ จะมีผลอย่างไรต่อความมั่นคงหากเราต้องคอยพึ่งพาประเทศอื่น” แหล่งข่าวชาวญี่ปุ่นกล่าวโดยอ้างถึงความเป็นไปได้ที่การจัดส่งกำลังบำรุงด้านอาวุธยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จากประเทศอื่นอาจเกิดการหยุดชะงักได้ง่ายกว่าการที่สามารถผลิตได้เองในประเทศ โดยเฉพาะในช่วงเวลาของความขัดแย้ง

นอกจากนี้ เรื่องดังกล่าวยังอาจกลายเป็นประเด็นทางการเมืองเนื่องจากบริษัทญี่ปุ่นที่เป็นผู้จัดหาส่วนประกอบต่าง ๆ ของขีปนาวุธซีสแปร์โรว์ที่ผลิตในญี่ปุ่นอาจต้องเสียโอกาสทางธุรกิจหากรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมกลุ่มขีปนาวุธ ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะถูกกระจายไปในหมู่ประเทศที่เข้าร่วมกลุ่ม

ขีปนาวุธซีสแปร์โรว์ที่ผลิตในญี่ปุ่นอาจพลาดโอกาสทางธุรกิจไปหากรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมกับกลุ่มขีปนาวุธที่ต้องกระจายการทำงานออกไปในบรรดาประเทศที่เข้าร่วมกองทัพเรือสหรัฐฯ ปรารถนาที่จะเห็นญี่ปุ่นเข้าร่วมกลุ่มขีปนาวุธหลังจากที่ข้อเสนอที่จะให้บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ เข้าร่วมกับโครงการเครื่องบินขับไล่ล่องหน เอฟ-35 ของบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน ประสบกับความล้มเหลวเมื่อปี พ.ศ. 2557

ข้าราชการฝ่ายกลาโหมของญี่ปุ่นได้คาดหวังว่า การทำงานในฐานะผู้รับจ้างช่วงของบริษัทบีเออี ซิสเต็มส์ ออฟ บริเตน ผู้ผลิตลำตัวด้านหลังของเครื่องบินขับไล่เอฟ-35 จะทำให้บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดอาวุธระดับโลกได้

อย่างไรก็ตาม ผลพิสูจน์ออกมาแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี่ อินดัสตรีส์ จะสามารถแข่งขันในเรื่องราคาของส่วนประกอบต่าง ๆ เนื่องจากความได้เปรียบของเหล่าผู้รับจ้างจากประเทศดั้งเดิมทั้งเก้าประเทศ ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของตนในส่วนของอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ สำหรับโครงการดังกล่าว

“ญี่ปุ่นตระหนักว่าควรเข้าร่วมกับกลุ่มระหว่างประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อช่วยหักกลบลบหนี้ในการซื้อ และทำให้อุตสาหกรรมของตนมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น” ผู้บริหารชาวสหรัฐฯ ที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมและรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าว

“เราจะได้เห็นญี่ปุ่นเข้าร่วมกับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งแบบทวิภาคี ไตรภาคีและพหุภาคีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button