เรื่องเด่น

ไอซิส ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กระชากหน้ากากกลุ่มก่อการร้ายในรูปแบบใต้ดิน และเป้า หมายในภูมิภาคที่สุ่มเสี่ยง

ดร. นัมระตา กอสวามี

งานวิจัยเกี่ยวกับการก่อการร้าย ความไม่สงบ และสงครามข้อมูล บ่งชี้ว่าผู้ก่อการร้ายและกลุ่ม ผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้ความรุนแรงเพื่อเป้าหมาย ทางการเมือง มักจะเคลื่อนไหวตามการสนับสนุนจากคนจำนวนมาก ความชอบธรรม อุดมการณ์ และความไม่พอใจในท้องถิ่น

ซึ่งเป็นความจริงของกลุ่มผู้ก่อการร้าย เช่น อัลกออิดะห์ และรัฐอิสลามอิรักและซีเรีย หรือ ไอซิส ที่มุ่งประเด็นความไม่พอใจของชาวมุสลิมเพื่อความชอบ ธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยอ้างว่าตนเป็นตัวแทน ของกลุ่มที่ถูกสังคมปฏิเสธ ซึ่งต่อสู้เพื่อไถ่บาปและศักดิ์ศรี

แม้ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ยอมรับกลุ่มดังกล่าวที่เชื่อ เรื่องวันสิ้นโลก ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนชาวมุสลิม แต่ก็ยังมีกลุ่มเป้าหมายที่พิสูจน์แล้วว่าถูกชักจูงได้ง่าย กุญแจ สำคัญคือการค้นหาว่าใครคือกลุ่มส่วนน้อยที่สนับสนุน ความรุนแรงประเภทนี้ และมุ่งจำกัดอิทธิพลของกลุ่มก่อ การร้ายโดยการเชื่อมต่อกลุ่มส่วนใหญ่ที่ปิดปากเงียบ และ “มักจะเป็นกลาง” กับกลุ่มส่วนน้อยที่ต่อต้านกลุ่ม และกิจกรรมก่อการร้ายอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่กลุ่มก่อการร้ายประกาศการมีตัวตน

โดยปกติแล้ว คนกลุ่มนี้ต้องการการรับรองความ ปลอดภัยจากกองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย เนื่อง จากผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ความขัดแย้งได้รับการกระตุ้น ให้ปกป้องตนเองและประสบกับความเครียดสูง เป้าหมายหลักของกลุ่มผู้ก่อการร้าย เช่น ไอซิส คือ การทำลายความชอบธรรมของรัฐ ส่งเสริมความวุ่นวาย และเข้าควบคุมประชาชนกลุ่มเป้าหมายในระยะสั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระยะยาวในการสร้างโครงสร้างรัฐของ ตนเอง ไอซิสได้ใช้กลยุทธ์ในการบีบบังคับ ชักจูง และข่มขู่ประชาชนเพื่อสนับสนุนเหตุชนวนทางการเมือง โดยดำ เนินการด้วยการตั้งตนเป็นรัฐบาลคู่ขนาน ถ่ายทอดการมีอยู่ของตนอย่างชัดแจ้ง และคุกคามประชาชนผ่านการครอบครองอาวุธ ซึ่งมีผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ที่ไม่ให้การสนับสนุน

หญิงชาวมุสลิมปล่อยนกพิราบเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ระหว่างการชุมนุมต่อต้านไอซิสในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ป้ายดังกล่าวมีข้อความว่า “ไอซิสไม่ใช่เสียงของอิสลาม หยุดฆ่านักข่าว” ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ไอซิสวางกรอบการเคลื่อนไหวของตนไว้ภายในงาน เขียนทางศาสนาอิสลามเรื่องวันสิ้นโลกที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวกับจุดจบของเวลาและแสดงแนวคิด เกี่ยวกับรัฐเคาะลีฟะฮ์ ว่าเป็นพื้นที่ซึ่งพระเมสสิยาห์ หรือมะฮ์ดีจะปรากฏตัว ด้วยเหตุนี้ ไอซิสจึงยึดเมืองที่ ไม่สำคัญทางยุทธศาสตร์อย่าง ดาบิก ในซีเรียซึ่งอ้างอิง ในงานเขียนเกี่ยวกับวันสิ้น โลก ในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่ง “นักรบครูเสดตะวันตก” จะพ่ายแพ้

การเข้ายึดครองดินแดนอย่างรวดเร็วของไอซิสในอิรักและซีเรียเมื่อ พ.ศ. 2557 ด้วยโครงสร้างองค์กรที่เป็นความลับและเป้าหมายในการจัดตั้งรัฐอิสลามที่ปกครองแบบ รัฐเคาะลีฟะฮ์โดยใช้กฎหมายชะรีอะฮ์ เป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มก่อการร้ายมุ่งเน้นการขยายดินแดนแนวใหม่ ซึ่งได้ รับอิทธิพลอย่างมากจากอัลกออิดะห์ในอิรักที่นำโดยนายอาบู มูซาบ อัลซาร์กาวี ในแง่กลยุทธ์และการแสดงให้ เห็นถึงการใช้ความรุนแรง รวมถึงการตัดหัวชาวต่างชาติในวิดีโอ ไอซิสยังคงพัฒนากลยุทธ์การโฆษณาชวนเชื่อโดยการถ่ายทอดสดวิดีโอและสุนทรพจน์ไปยังผู้คนนับล้าน

แตกต่างจากอัลกออิดะห์ที่มีเป้าหมายระยะยาวในการมุ่งเป้า ไปที่ชาติตะวันตก ไอซิสมุ่งเป้าโจมตีศัตรูใกล้ตัวมากขึ้น นั่นคือ ชีอะฮ์และผู้ที่ไม่ยึดถือการตีความอิสลามในแบบของไอซิส นอก จากนี้ยังผลิตภาพยนตร์ สารคดีสั้น และคลิปเสียงของตนเองเกี่ยวกับ ลักษณะที่รัฐอิสลามควรเป็น จากนั้นใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเผยแพร่วิดีโอและรูปภาพ ซึ่งแตกต่างจากอัลกออิดะห์ที่ใช้การออกอากาศเสียง และวิดีโอเทปผ่านเครือข่ายอย่างอัลญะซีเราะฮ์

ไอซิสใช้การปรากฏตัวในโลกออนไลน์เพื่อเข้าถึงชาวมุสลิมทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากชาติตะวันตก โดยเรียกพวกเขาว่า “ไม่กี่คนที่ได้รับเลือกจากดินแดนที่ห่างไกล” และใช้มุสลิมชาวอังกฤษหรือแคนาดา อย่างชาญฉลาดเพื่ออธิบายความเป็นอยู่ในรัฐเคาะลีฟะฮ์ที่ปกติสุข มั่งคั่ง และเป็นสวรรค์ทางศาสนา ในวิดีโอหนึ่ง มีสมาชิกไอซิสชาวแค นาดาอธิบายว่าเขาชอบชีวิตปกติในแคนาดา ทั้งรายได้ดีและมีความสุข กับชีวิตที่ดีมากเพียงใด แต่เมื่อมีการเรียกจากรัฐเคาะลีฟะฮ์ที่มาเยือน ในรูปแบบของแล็ปท็อป นี่ถือว่าเป็นภาระหน้าที่ทางศาสนาสำหรับชาวมุสลิมที่แท้จริงทุกคน

ซึ่งวิดีโอดังกล่าวมุ่งเป้าไปที่เยาวชนมุสลิมที่ชักจูงง่ายในชาติ ตะวันตก โดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบริติชหรือแบบแคนาดา ผลกระทบนี้ทำให้เยาวชนหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 16 ถึง 35 ปี เดินทางไปยังรัฐเคาะลีฟะฮ์ ไอซิสตีแผ่วาทกรรมของตน ในรูปแบบการผสมลัทธิการยึดถือนิกาย แนวคิดวันสิ้นโลก การโหยหา กาหลิบหรือผู้ปกครองสูงสุด และความตั้งใจที่จะเผยแพร่การโฆษณาชวนเชื่อไปให้ไกลมากกว่าเพียงประชาชนที่พูดภาษาอาหรับ นิตยสาร วิดีโอ รวมถึงการออกอากาศด้วยเสียงของไอซิสมีหลายภาษาและ สามารถเข้าถึงได้ง่าย

โดยมีการออกแบบที่ลื่นไหลและตอบสนองต่อความเชี่ยวชาญใน การใช้อินเทอร์เน็ตของคนยุคใหม่ กลุ่มผู้นำของไอซิสส่วนใหญ่นั้นมาจากประเทศอิรักอันเป็นพื้นที่ความไม่พอใจของนิกายซุนนีอย่างมีนัย สำคัญ รวมทั้งทหารในยุคของนายซัดดัม ฮุสเซน ระดับพันเอกขึ้นไป นั่นหมายความว่าไอซิสนำการฝึกอบรมทางทหารเป็นเวลานานหลาย ปี กลวิธีการ เอาชีวิตรอด เครือข่ายท้องถิ่น และประสบการณ์ที่เจ้าหน้าที่ทหารเหล่านี้ได้รับจากที่เคยดำรงตำแหน่งภายใต้ระบอบเผด็จการของ นายฮุสเซน การหล่อหลอมความมอมเมาทางศาสนาการยึดติดกับชี วิตและคำสอนของศาสดาอย่างสุดโต่ง การรณรงค์ในสื่อสังคมออนไลน์ การท่องคัมภีร์อัลกุรอาน บรรพบุรุษ ชาติพันธุ์ และวัฒนธรรมทางการ ทหารเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดผลสำเร็จที่รวดเร็วแก่ไอซิส เมื่อเผยแพร่สิ่ง เหล่านี้เข้าไปในซีเรียและอิรัก สงครามกลางเมืองในซีเรียช่วยจัดการ หลาย ๆ เรื่องให้ไอซิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อควบคู่ไปกับระบอบการปกครองของนายบัชชาร อัลอะซัด ที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นใจว่าจะไม่ตก เป็นเหยื่ออีกรายของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับชะตากรรมของตูนิเซีย อียิปต์ และลิเบีย

ยิ่งไปกว่านั้น แม้ว่าอัลกออิดะห์จะจัดตั้งกลุ่มย่อยสำหรับดินแดน ต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้จัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์ ไอซิสจัดตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์ขึ้นมา และเผยแพร่แผนที่ที่ระบุถึงดินแดนต่าง ๆ รวมถึงบังกลาเทศ พม่า อินเดีย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นเป้าหมายในการขยายการแสดงตนและ เขตแดน เพื่อจุดมุ่งหมายนี้ ไอซิสใช้ประโยชน์จากแนวคิดของเมืองโคราซาน ซึ่งเป็นยุคทองตามประวัติศาสตร์ของอิสลาม ความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากหะดีษในหนังสือสุนัน อัต ติรมิซีย์ ว่าจะมีธงสีดำลอยขึ้นมาจาก โคราซาน และแพร่กระจายไปยังมักกะฮ์และเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นเมืองสำ คัญที่ฝังรากลึกในศาสนาอิสลาม ไอซิสวาดภาพการต่อสู้ครั้งสุดท้าย ระหว่างผู้ศรัทธาที่แท้จริงและผู้ปฏิเสธศรัทธาไว้ที่อินเดีย (สงครามศักดิ์ สิทธิ์ของชาวมุสลิมกับอินเดีย)

บีบีซีรายงานว่า ในช่วงกลางเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 พันธมิตร ของซีเรียที่ได้รับการหนุนหลังจากสหรัฐอเมริกาประกาศว่า ไอซิสได้สูญ เสียอำนาจควบคุมส่วนสุดท้ายของดินแดนในซีเรียไปแล้ว นำมาซึ่ง “จุดจบอย่างเป็นทางการของ ‘รัฐเคาะลีฟะห์’ ที่ประกาศใน พ.ศ. 2557”

อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลว่าไอซิสจะมุ่งขยายพื้นที่ไปยังอัฟกานิสถาน จากนั้นจะผ่านจังหวัดโคราซานไปยังเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามเป้าหมาย “ที่ยังเหลืออยู่และการขยายตัว” ของกลุ่ม

สมาชิกหน่วยพิเศษ 88 เพื่อการต่อต้านการก่อการร้ายของอินโดนีเซีย นำตัวนายอามาน อับดุลเราะห์มาน ผู้สอนศาสนาหัวรุนแรงและนายหน้าผู้ล่อลวงคนเข้ากลุ่ม ไอซิส เข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 นายอับดุลเราะห์มานถูกตัดสินประหารชีวิตในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 ในข้อหายุยงให้เกิดการโจมตีที่ร้ายแรง 5 ครั้งในอินโดนีเซีย ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

เป้าหมายที่กำหนด

ไอซิสต้องการแผ่ขยายพื้นที่ไปยังบังกลาเทศ พม่า อินเดีย และอินโดนีเซีย โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เกิดการโจมตีนักเขียน บล็อกที่ส่งเสริมการแยกศาสนาออกจากรัฐและชาวต่างชาติอย่างรุนแรง ซึ่งไอซิสถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อเหตุโดยเฉพาะเป้าหมายที่เป็นชาวต่างชาติ ไอซิสระบุชื่อบังกลาเทศไว้ในคำประกาศเจตนา “การฟื้นคืนญิฮาดในเบงกอล” และเตือนว่าจะใช้บังกลาเทศเป็นฐานในการขยายพื้นที่เข้าสู่พม่าและอินเดียต่อไป อคติที่เพิ่มขึ้นในบังกลาเทศ รวมทั้งความแตกแยกทางการเมืองระหว่างพรรคสันนิบาตอวามีและพรรคชาตินิยมบังกลาเทศ เกี่ยวกับการเรียกตัวผู้นำกลุ่มญะมาอะห์ อิสลามียะห์ หรือ เจไอ มาสอบสวนคดีอาญาที่รัฐบาลพรรคสันนิบา ตอวา มีดำเนินการ ก่อให้เกิดบรรยากาศของความแตกแยกและความ เกลียดชังอย่างร้ายแรง องค์กรต่าง ๆ เช่น อิสลามี ชฮาตรา ชิบีร์ ซึ่งมี เป้าหมายสถาปนากฎหมายชะรีอะฮ์ขึ้นในบังกลาเทศ ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการใช้ความรุนแรงกับนักเขียนบล็อกที่ส่งเสริมการแยกศาสนาออกจากรัฐ เรื่องราวยิ่งทวีความซับซ้อนจากข้อเท็จจริงที่ ว่าแม้รัฐธรรมนูญบังกลาเทศบัญญัติให้ฆราวาสนิยมเป็นหนึ่งในหลักกฎ หมาย แต่ศาสนาประจำชาติยังคงเป็นอิสลาม

บังกลาเทศ

ทั้งไอซิสและอัลกออิดะห์ในอนุทวีปอินเดียมุ่งขยายพื้นที่ไปยังบังกลา เทศ โดยใช้ประโยชน์จากความแตกแยกภายในประเทศ รัฐบาลบังกลา เทศไม่ยอมรับว่ามีกลุ่มไอซิสอยู่ภายในเขตแดนของตน และโยนความ ผิดเกี่ยวกับความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายภายในประเทศ ในพื้นที่ชนบทของบังกลาเทศที่รัฐมีบทบาทน้อย อาจเป็นฐานให้กับการก่อตั้งกลุ่มไอซิส พื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงอาจเป็นค่ายผู้อพยพชาวโรฮีนจา ตลอดจนพื้นที่คอกส์บาร์ซาร์ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องโรงงานอาวุธขนาดเล็กที่ผิด กฎหมายและเป็นสถานที่ลำเลียงอาวุธผิดกฎหมายขนาดเล็ก เนื่องจาก อยู่ใกล้กับสามเหลี่ยมทองคำซึ่งเป็นที่บรรจบชายแดนพม่า ลาว และไทย

สหรัฐฯ และบังกลาเทศออกแถลงการณ์ร่วมกันเมื่อ พ.ศ. 2559 ระบุถึงภัยคุกคามเหมือนกันที่มาจากกลุ่มไอซิสและอัลกออิดะห์ นอกจากนี้ บังกลาเทศยังมีส่วนร่วมในกองทุนพันธมิตรเพื่อการต่อต้านการก่อการ ร้ายของสหรัฐฯ ซึ่งหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯ และบัง กลาเทศอาจทำงานภายในกรอบการทำงานดังกล่าวเพื่อแบ่งปันข่าวกรอง สำหรับส่วนที่มีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษคือการที่ไอซิสใช้แอปฯ เช่น ไวเบอร์ วีแชท และวอตส์แอปป์ในการแบ่งปันอุดมการณ์และสรรหาผู้ที่ เต็มใจเข้า ร่วม บังกลาเทศยังขาดระบบการกำกับดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อตรวจตรากิจกรรมเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือของนานาชาติสามารถผลักดันการเพิ่มขีดความสามารถนี้ได้

ตำรวจบังกลาเทศยืนเฝ้าระวัง หลังปิดล้อมอาคารที่มีกลุ่มติดอาวุธต้องสงสัยซ่อนตัวอยู่ในเมืองธากา ประเทศบังกลาเทศ เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559

พม่า

พม่าได้เห็นการใช้ความรุนแรงกับชาวโรฮีนจาที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของประชากรส่วนใหญ่ของพม่าที่นับถือศาสนาพุทธ ชาวมุสลิมโร ฮีนจาไม่ได้รับสัญชาติทั้งที่อาศัยอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคน และส่วน ใหญ่หลบหนีจากความรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไปขอลี้ภัยในประ เทศบังกลาเทศที่อยู่ติดกัน ในการก่อร่างสร้างประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ เอ็นแอลดี ไม่ประสบ ความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของชนกลุ่มนี้ ทำให้ชาวโรฮีนจา ไม่มีสิทธิ์มีเสียง ชาวมุสลิมกล่าวหาว่าพรรคเอ็นแอลดีย่อหย่อนใน หลักการประชาธิปไตย ขณะที่พระสงฆ์ในศาสนาพุทธ เช่น พระอาชีน วีระธู ปลุกระดมความรู้สึกต่อต้านมุสลิมขึ้น ทั้งไอซิสและอัลกออิดะห์ ต่างสังเกตเห็นวิกฤตดังกล่าว และปฏิญาณว่าจะต่อสู้ในนามโรฮีนจา ชาวมุสลิมโรฮีนจามีกลุ่มติดอาวุธ เช่น ฮาราคาห์ อัล ยาคิน และองค์กรความเป็นปึกแผ่นโรฮีนจา ที่อ้างว่าต่อสู้เพื่อชาวโรฮีนจา กลุ่มฮาราคาห์ อัล ยาคินโจมตีกองทัพพม่าและตำรวจตระเวนชายแดน ทำให้เกิดปฏิบัติการปราบปรามการก่อกบฏ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งใหญ่

มีข้อกังวลว่าชาวมุสลิมโรฮีนจา อาจหลงโฆษณาชวนเชื่อและการ สรรหาพรรคพวกของกลุ่มไอซิส นายวาการ์ อัดดิน ผู้อำนวยการใหญ่ สหภาพโรฮีนจาอารกัน ต่อต้านมุมมองดังกล่าวอย่างหนัก โดยเชื่อว่าการ เชื่อมโยงวิกฤตโรฮีนจาเข้ากับกลุ่มไอซิส เป็นความพยายามโดยมีเจตนาหันเหความสนใจของนานาชาติไปจากวิกฤตด้านมนุษยธรรมที่ดำเนินอยู่ นอกจากนี้ ชาวมุสลิมโรฮีนจานับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนีสายกลาง และปฏิบัติตามลัทธิซูฟี ศาสนาอิสลามที่เคร่งในหลักคำสอนแบบสุดโต่ง ของกลุ่มไอซิสจึงดึงดูดใจได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งพื้นที่ที่ไอซิสมีเป้าหมาย จะขยายไปในพม่า มีกลุ่มกบฏติดอาวุธชาติพันธ์ุที่แข็งแกร่งอย่างว้าและ คะฉิ่นอยู่ ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการปรากฏตัวตนของไอซิส

อินเดีย

ไอซิสต้องการยึดครองดินแดนในอินเดียผ่านทางปากีสถานและอัฟกานิสถาน โดยก่อตั้งฐานทัพในทั้งสองประเทศก่อน แล้วจึงใช้กลยุทธ์การทำสงครามแบบยืดเยื้อกับอินเดีย ทั้งนี้ ไอซิสต้องการร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายของอินเดีย เช่น อินเดียนมูจาฮีดีน อันซาร์อัต ตอฮีดฟีบีลาดอัลฮินด์ และจูนัดอัลคาลิฟาเอฮินด์ โดยอ้างถึงการจลาจลในรัฐคุชราตเมื่อ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นปัญหาในแคชเมียร์และการปฏิบัติต่อชาวมุสลิมในอินเดียที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดู ว่าเป็นสาเหตุในการขยายตัวของกลุ่มก่อการร้ายเข้าสู่อินเดีย ไอซิสเยาะหยันชาวมุสลิมในอินเดียที่อยู่อย่างสันติ
ร่วมกับชาวฮินดูหรือพวกที่ไม่เชื่อในศาสนาอิสลาม และพยายามปลุก ปั่นให้คนเหล่านั้นดำเนินการก่อการร้ายในอินเดีย ในวิดีโอเมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไอซิสให้คำมั่นว่าจะต่อสู้เพื่อชาวมุสลิมในอัสสัม แคชเมียร์ และคุชราต ทั้งยังเย้ยหยันผู้สอนศาสนามุสลิมชาวอินเดีย ที่ยืนหยัดต่อต้านยุทธวิธีสุดโต่ง และกำหนดให้กลุ่มผู้สอนศาสนากลุ่มนี้ เป็นพวกนอกรีต ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ไอซิสก่อการร้ายในอินเดีย ครั้งแรกโดยการวางระเบิดบนรถไฟ ทำให้มีผู้โดยสารบาดเจ็บ 10 ราย ทางฝั่งของอินเดียระบุว่า มีปัจจัยสี่ประการที่จำกัดความน่าสนใจของไอซิสในอินเดีย ได้แก่ โครงสร้างทางการเมืองแบบมีผู้แทนซึ่งเป็นโครงสร้างสังคมแห่งความหลากหลายที่หลอมรวมหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกันและสร้างความกลมเกลียวในสังคม การออกฟัตวา (กฤษฎีกาทางกฎหมาย) ต่อต้านไอซิสโดยอุลามะ (นักคิดทางศาสนา) มุสลิมชาวอินเดียที่มีอิทธิพล รวมทั้งเครือข่ายองค์กรต่อต้านการก่อการร้ายและกองกำลังพิเศษที่ทำ งานร่วมกันเพื่อจำกัดลัทธิการก่อการร้าย พื้นที่สุ่มเสี่ยงที่สำคัญสองแห่ง ในอินเดียคือแคว้นต่าง ๆ ที่รัฐมีบทบาทน้อย ตลอดจนกระแสลัทธิชาติ นิยมฮินดูที่เพิ่มขึ้น

อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียมองการต่อสู้กับกลุ่มไอซิสในแง่ของอุดมการณ์ กล่าว คือเป็นการต่อสู้ระหว่างอิสลามสายกลางกับอิสลามหัวรุนแรง โดยมีอิสลามนิ กายซุนนีสายกลางในแบบของประเทศเองเป็นคู่ต่อสู้ที่เหมาะสมกับไอซิส อย่างไรก็ตาม ไอซิสยังคงพยายาม แผ่ขยายบทบาทในอินโดนีเซีย โดยมีผู้นำกลุ่มไอซิสชาวอินโดนีเซีย เช่น นายบาชรัมสยาห์ เมนนอร์ อัสมาน นายบาห์รัน นาอิม และนายกีกีห์ เดวา ที่ปฏิบัติการจากอิรักและซีเรีย นายบาชรัมสยาห์ ได้รับการแต่งตั้งจากนายอาบู บักร์ อัล บักดาห์ดี ให้เป็นผู้นำกองพัน ไอซิสในเอเชียวันออกเฉียงใต้ที่ชื่อว่าคาติบาห์ นูซันตารา อย่างไรก็ตาม กลุ่มก่อการร้ายหลัก ๆ ในอินโดนีเซียรวมทั้งกลุ่มเจไอมองไอซิสว่าเป็นคู่ปรับ นอกจากนี้ องค์กรภาคประชาสังคมของอินโดนีเซีย เช่น นาฮ์ดาตุล อูลามะ และเวทีภราดรภาพแห่งสภานักคิดทางศาสนาอินโดนีเซีย ไม่ยอมรับอุดมการณ์ของไอซิส แต่แสดงคำสอนทางศาสนาบนพื้นฐาน ของพหุนิยม ความอดกลั้น และการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมแทน สถาบันการเมืองอินโดนีเซียยึดถือคุณค่าทางประชาธิปไตย และชาวมุสลิมเองก็ร่วมมีบทบาทอย่างดี อดีตประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เช่น นายอับดุลเราะห์มาน วาฮิด มีบทบาทสำคัญในการยอมรับความหลาก หลายของประเทศ ในฐานะส่วนหนึ่งของหลักการปัญจศีลว่าด้วยการ อยู่ร่วมกันอย่างสันติ

หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายพิเศษ เช่น หน่วยพิเศษ 88 ประสบความสำเร็จในการขัดขวางแผนการที่ถูกปลุกปั่นจากไอซิส โดยหน่วยดังกล่าว ได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และออสเตรเลียในด้านการฝึกและการ แบ่งปันข่าวกรอง มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อต้านการเผยแพร่ สารของไอซิสในพื้นที่ไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง เพราะไอซิสอาจเป็นศัตรูที่ ใช้การส่งสารในสนามรบไซเบอร์ที่ก้าวหน้าที่สุด เมื่อพ่ายแพ้ในสนามรบ โดยเฉพาะในรัฐเคาะลีฟะห์ตามที่ประกาศไว้ ทำให้ไอซิสสูญเสียอำนาจ ที่ดูไร้เทียมทานซึ่งเคยดึงดูดให้ชาวต่างชาตินับพันเข้าร่วม สารเหล่านี้ จะต้องส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายโดยพันธมิตรในระดับภูมิภาคของสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นภาษาในภูมิภาคนั้น ๆ บางครั้งการได้ทราบว่าใครเป็นนักรบไอซิสหัวรุนแรงและใครเป็นผู้รักชาติที่ไม่จริงใจ ก็มีความสำคัญต่อการตัดสินใจดำเนินการกับพวกหัวรุนแรงโดยตรงอย่างชาญฉลาด

การเจาะเข้าบัญชีของผู้ที่เห็นอกเห็นใจกลุ่มไอซิส อาจเผยให้เห็นข่าวกรองที่มีประสิทธิภาพได้ ที่ยิ่งไปกว่านั้นคือมีการบรรยายเกินจริงอย่างมากเรื่องบทบาทของผู้หญิงในกลุ่มไอซิส ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดบทบาทตามเพศสภาพที่อธิบายในศาสนาอิสลาม และได้รับผลกระทบจากความรู้สึกส่วนตัว บ่อยครั้ง ผู้หญิงก็เข้าร่วมกับไอซิสด้วยเหตุ ผลเช่นเดียวกับผู้ชาย นั่นคือการเห็นด้วยกับหลักคำสอนเชิงอุดมการณ์ ความมีอัตลักษณ์ร่วมกัน และการตอบโต้ต่อการเลือกปฏิบัติที่ได้รับรู้ หรือเกิดขึ้นจริงกับพี่น้องชาวมุสลิม

กลยุทธ์การต่อต้านที่แนะนำ

ขณะนี้ไอซิสก้าวข้ามพรมแดนไปแล้วเช่นเดียวกับอัลกออิดะห์ โดย ผ่านทางพื้นที่ไซเบอร์ การถอนรากถอนโคนภัยคุกคามจากไอซิสต้อง ใช้กลยุทธ์ห้าแฉก ประการแรก ต้องใช้แรงของกองทัพที่ประจำการภาค พื้นดินเพื่อทำลายฐานทัพของไอซิส จึงต้องใช้กลยุทธ์การปฏิเสธไม่ให้ เข้า พื้นที่ แรงดึงดูดหลักของไอซิสมาจากเรื่องดินแดนและรัฐเคาะลีฟะห์ การไม่ยอมรับเรื่องเหล่านี้จะทำให้ไอซิสสูญเสียความน่าสนใจไปมาก กลยุทธ์การปฏิเสธไม่ให้เข้าพื้นที่นี้จะต้องประกอบด้วยการตอบโต้ทาง ทหาร พร้อม ๆ กับการส่งเสริมการปกครองพลเรือน นั่นคือการสถาปนา โครงสร้างรัฐที่มุสลิมทั้งนิกายซุนนีและชีอะห์เชื่อว่าตนมีบทบาทเทียบ เท่ากัน แง่มุมนี้มีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากไอซิสสูญเสียดินแดน ให้กับแนวร่วมนานาประเทศเมื่อหลายเดือนก่อน

กลุ่มก่อการร้ายซึ่งอ่อนกำลังลงนี้มีแนวโน้มจะหลบซ่อน ทำตัว กลมกลืนไปกับพลเมือง แล้วรวมกลุ่มอีกครั้งในภายหลัง ดังนั้น หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯ จึงต้องร่วมมือกับชาติ พันธมิตรเพื่อช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการปกครองของพันธมิตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

สมาชิกหน่วยพิเศษ 88 ของอินโดนีเซียเดินผ่านซากปรักหักพังหลังการโจมตีโบสถ์คริสต์ที่ดำเนินการตามแบบไอซิส ในเมืองสุราบายา เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 รอยเตอร์

ประการที่สอง คือการตั้งคำถามอย่างเปิดเผยต่อการตีความศาสนา อิสลามของไอซิส โดยใช้ประโยชน์จากคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้อาวุโสชาวมุสลิมในอินโดนีเซียและอินเดียเป็นผู้ใช้งานกลยุทธ์ข้อนี้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างผลกระทบทางสังคม โดยเฉพาะในการต่อต้านกลยุทธ์ด้านสื่อสังคมออนไลน์ของไอซิส ซึ่งอาจทำให้เกิดกลยุทธ์ในส่วน “การตอบโต้ผู้ส่งสาร” โดยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างประ เทศพันธมิตรหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษของสหรัฐฯ ทั้งแบบทวิ ภาคีหรือผ่านทางเวทีพหุภาคี

ประการที่สาม เผยแพร่ความแตกแยกภายในของไอซิส และเปิด เผยสภาพที่ย่ำแย่จากการปกครองของไอซิส การตีแผ่ความจริงของสิ่งที่ เรียกว่า สวรรค์ เป็นเรื่องสำคัญมาก ในกรณีนี้ ผู้ที่แปรพักตร์จากไอซิสมี บทบาทสำคัญ เนื่องจากเรื่องเล่าจากคนเหล่านี้มีความน่าเชื่อถือยิ่งกว่าการรณรงค์ที่หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ ดำเนินการ

ประการที่สี่ ผสานความพยายามต่อต้านการก่อการร้ายของ ไอซิสให้เป็นหนึ่งเดียว การต่อสู้เพื่อเอาชนะไอซิสใช้เวลานาน เนื่องมาจากวัตถุ ประสงค์ที่ผสมปนเปและความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง ของผู้ที่ต่อสู้กับไอซิส เช่น กองทัพตุรกีกับกองกำลังชาวเคิร์ดไม่เป็น
มิตรกัน กองทัพรัสเซียโจมตีกองกำลังฝ่ายค้านของซีเรียซึ่งต่อสู้กับ ไอซิส และความแตกแยกรวมทั้ง ความเข้าใจผิดอีกมากในค่ายผู้ ต่อต้าน นี่เป็นสมรภูมิที่ซับซ้อน และการเพิ่มความพยายามจะมีส่วนช่วยให้เกิดความพยายามต่อต้านการก่อการร้ายในอนาคต ความร่วม มือเพื่อการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงความพยายามในการ ฝึกร่วม การประเมินข่าวกรองและการวางแผนยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะ กับประเทศที่ไอซิสกำหนดให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการในอนาคต จะช่วย ขัดขวางขีดความสามารถต่าง ๆ ที่ไอซิสพัฒนาขึ้นในการสร้างเครือข่ายการก่อการร้าย

เป้าหมายของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ คือการวิ เคราะห์และบรรลุเป้าหมายในการตอบโต้ความพยายามแพร่ขยายการก่อการร้ายไปทั่วพรมแดนของไอซิส ภายในขอบเขตของการต่อต้านการก่อการร้ายและการปราบปรามการก่อกบฏ การทำความเข้าใจลักษณะการสร้างเครือข่ายของไอซิสในประเทศต่าง ๆ ที่อยู่นอกรัฐเคาะลีฟะห์ในอิรักและซีเรีย ช่วยให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์ไม่เพียงต่อการทำลายเครือข่ายดังกล่าว แต่ยังเป็นการสร้างความตระหนักถึงความพยายามที่มีลักษณะคล้ายกันกับไอซิสในสหรัฐฯ อีกด้วย ไอซิสใช้กลยุทธ์เดียวกันในตะวันตก โดยมีเป้าหมายกระตุ้นให้พลเมืองตะวันตกเข้าร่วมรัฐเคาะลีฟะห์ และดำเนินการโจมตีในนามของตนในประเทศบ้านเกิดเช่นเดียวกับที่ไอซิสทำในอินเดีย ยิ่งไอซิสสูญเสียดินแดนในอิรักและซีเรียมากเท่าใด ก็มีแนวโน้มที่กลุ่มนี้จะดึงกลยุทธ์ที่ไม่ใช้รัฐเป็นฐานมาใช้อย่างรวด เร็วขึ้นเท่านั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อม เพราะการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็ว

ฟอรัม ตัดตอนบทความนี้จาก “ไอซิส 2.0: โอกาสและความสุ่มเสี่ยงของเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก เฉียงใต้” ของ ดร. นัมระตา กอสวามี โดยได้รับความอนุเคราะห์จากนายโรเบิร์ต เอ. นอร์ตัน และนายเกรก เอส. วีฟเวอร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในรายงาน 18-6 ของมหาวิทยาลัยปฏิบัติการพิเศษร่วม เมื่อ พ.ศ. 2561 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปฏิบัติการพิเศษร่วม และมีการเรียบเรียงเนื้อหาเพื่อให้เหมาะ สมกับการนำเสนอของ ฟอรัม กรุณาเข้าชมที่: https://jsou.libguides.com/jsoupublications

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button