มองภูมิภาคแผนก

ไทย: บริษัทพลังงาน ขยายกิจการ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทพลังงานไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งบริษัทชั้นนำด้านน้ำมันและก๊าซ บริษัทเหมืองถ่านหินและสาธารณูปโภคด้านพลังงาน บริษัทพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ล้วนกำลังขยายกิจการทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยปรับใช้แนวปฏิบัติและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นจากภายในประเทศ ไทยกำลังเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากนโยบายพลังงานร่วมสองทศวรรษของรัฐบาลที่ได้ให้การสนับสนุนภาคส่วนนี้ นอกจากนี้บริษัทต่าง ๆ กำลังได้รับผลกำไรจากราคาน้ำมันและก๊าซที่กำลังฟื้นตัวจากช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวมาสามปี ความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เริ่มแข่งขันกับเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

นอกจากนี้ แม้ว่ารัฐบาลทหารที่ปกครองไทยมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2557 จะไม่ได้เข้าไปมีบทบาทในภาคพลังงาน แต่ได้มีการมุ่งเป้าไปที่การใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง นโยบายการปฏิรูปที่มีมานานได้เปลี่ยนให้บริษัทปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานของไทย ได้กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซในระดับนานาชาติที่ประสบความสำเร็จ กระตุ้นการพัฒนาของบริษัทผลิตไฟฟ้าอย่างบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด และสนับสนุนธุรกิจเกิดใหม่ด้านพลังงานทดแทนอย่างบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด

“ธุรกิจพลังงานในไทยได้พัฒนาความเชี่ยวชาญในภาคส่วนนี้ และอยู่ในสถานภาพที่สามารถสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทั่วภูมิภาค” นายโรเบิร์ต แกรนท์ หัวหน้าฝ่ายเอเชียแปซิฟิกแห่งบริษัทเอสเอ็นซี-ลาวาลินของแคนาดา ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมและการก่อสร้างที่มุ่งเน้นเรื่องพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และการทำเหมือง

ประเทศสมาชิก 10 ประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) มีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 98 ล้านล้านบาท) ตามข้อมูลจากบริษัทวิจัยสตาทิสตา

การใช้พลังงานของอาเซียนพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 60 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ตามข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งยังระบุอีกว่า ความต้องการพลังงานของภูมิภาคอาจเติบโตขึ้นไปอีกสองในสามส่วนภายใน พ.ศ. 2583 บริษัทที่มุ่งที่จะมีส่วนร่วมในการเติบโตในอาเซียนและที่อื่น ๆ มีทั้งบริษัทบี. กริมม์ เพาเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาพลังงานของไทยที่มีสินทรัพย์ในเวียดนามและลาว และบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ ซึ่งกำลังสร้างโรงงานพลังงานถ่านหินในจีน

“คุณสามารถเห็นกิจกรรมที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนชาวไทยในภูมิภาคอาเซียนแล้ว” นายแกรนท์กล่าว

ตลาดหลักทรัพย์ในไทยสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวนี้อย่างชัดเจน โดยหุ้นของบริษัทพลังงานต่าง ๆ ได้พุ่งสูงขึ้นเกือบร้อยละ 75 ตั้งแต่ต้น พ.ศ. 2559 ในขณะที่ตลาดโดยรวมมีการเติบโตน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของบริษัทพลังงาน นอกจากนี้ยังได้กระตุ้นให้เกิดการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นจำนวนมาก โดยบริษัทพลังงานของไทยสามารถรวบรวมเงินกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 6.55 หมื่นล้านบาท) จากการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2560

เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 บริษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ซึ่งเป็นบริษัทผลิตพลังงานที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสามของไทย ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยเงินทุนจำนวนสูงสุดเท่าที่ไทยเคยมีมาในทศวรรษนี้ โดยมีมูลค่ากว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 2.29 หมื่นล้านบาท) บรัษัทกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ระบุว่าบริษัทคาดว่าจะเพิ่มรายได้เป็นจำนวนร้อยละ 18 ใน พ.ศ. 2561 โดยผลส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนจำนวนมากด้านพลังงานไฟฟ้าในเวียดนาม เงินทุนที่ได้รับจากการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกจะนำมาใช้ในการชำระหนี้และสร้างโรงงานไฟฟ้าในภูมิภาคแห่งใหม่ บริษัทกัลฟ์ระบุ รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button