ติดอันดับ

ไทยซื้อรถหุ้มเกราะของสหรัฐฯ จำนวน 120 คัน

รัฐบาลทหารไทยวางแผนที่จะซื้อรถหุ้มเกราะจำนวน 120 คันที่ผลิตจากสหรัฐ ฯ ภายใน พ.ศ. 2563 โดยจะได้รับชุดแรกซึ่งมีจำนวน 10 คันในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 แหล่งข่าวของกระทรวงกลาโหมของไทยกล่าว

สหรัฐฯ จำกัดความช่วยเหลือทางทหารแก่ไทยหลังจากการรัฐประหารของกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2557 แต่ความสัมพันธ์ดีขึ้นหลังจากการเลือกตั้งที่เป็นข้อพิพาทในปีนี้ ซึ่งฟื้นฟูการปกครองพลเรือนภายใต้รัฐบาลที่นำโดย พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตผู้นำคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง

พล.อ. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ภาพ) กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ประเทศไทยจะได้รับรถหุ้มเกราะทหารราบที่ผลิตจากสหรัฐฯ จำนวน 70 คันภายในปลายปีนี้ และเพิ่มเติมอีก 50 คันใน พ.ศ. 2563 แต่ไม่ได้ระบุมูลค่าของการซื้อขายดังกล่าว

“การจัดส่งครั้งแรกจะประกอบด้วยรถหุ้มเกราะจำนวน10 คัน และปลายปีจะมีรถหุ้มเกราะจำนวน 70 คัน” พล.อ. อภิรัชต์กล่าว “โดยจะมีรถหุ้มเกราะจำนวน 50 คันในรอบต่อไป”

พล.อ. อภิรัชต์กล่าวว่ารถหุ้มเกราะจะประจำการที่ฐานทัพในจังหวัดฉะเชิงเทรา ทางใต้ของกรุงเทพมหานคร

เจ้าหน้าที่สถานทูตสหรัฐฯ ไม่สามารถให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับแถลงการณ์ของผู้บัญชาการทหารบกได้ในทันที

แหล่งข่าวของกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า ไทยจ่ายค่ายานพาหนะจำนวน 47 คัน และสหรัฐฯ จะจัดหาให้ฟรี 23 คันในการซื้อของปีนี้ โดยจะซื้อเพิ่มเติม 50 คันในปีหน้า นอกจากนี้สหรัฐฯ จะช่วยเหลือกองทัพบกไทยในการบำรุงรักษายานพาหนะด้วย

แหล่งที่มาปฏิเสธที่จะระบุสาเหตุ เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้กล่าวกับสื่อ

ในเดือนกรกฎาคม โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่าได้อนุมัติข้อตกลงการขายรถหุ้มเกราะสไตรเกอร์จำนวน 60 คันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.3 พันล้านบาท)

ภายใต้การปกครองของคณะทหารผู้ยึดอำนาจการปกครอง ไทยได้ซื้อรถถังและรถรบทหารราบจากจีนเพื่อเปลี่ยนกับรุ่นเดิมของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับการวางแผนจัดตั้งศูนย์กลางร่วมกับจีนเพื่อผลิตและบำรุงรักษายุทโธปกรณ์ทางทหาร เนื่องจากความสัมพันธ์ที่นิ่งลงของรัฐบาลสหรัฐฯ และพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังจากการรัฐประหารของกองทัพบกเมื่อ พ.ศ. 2557

ซึ่งสหรัฐฯ ยังคงเป็นพันธมิตรสำคัญของไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button