มองภูมิภาคแผนก

เอเชีย: ประสบความสำเร็จ ยืมขี่ จักรยาน

ผู้บริโภคนับล้านในกรุงปักกิ่ง ไทเป สิงคโปร์ และเมืองใหญ่ ๆ ทั่วเอเชียหันมาเช่าจักรยานและจอดรถยนต์ไว้ที่บ้าน ผู้บริโภคเช่าจักรยานผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์เพื่อเดินทางในระยะสองสามกิโลเมตรสุดท้ายของเส้นทาง โดยจอดรถและจักรยานยนต์ไว้ที่บ้านและเลิกใช้บริการแท็กซี่

จำนวนนักปั่นที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วช่วยลดปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในจีน และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคต่างคาดการณ์ว่าภาคการใช้พลังงานจะเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เมื่อโครงการนี้เติบโตขึ้น

ความเฟื่องฟูตลอดสองปีของบริการจักรยานสาธารณะทำให้จีนมีจักรยานมากกว่า 16 ล้านคัน กระทรวงการคมนาคมของประเทศรายงาน โดยมีผู้ใช้จักรยานที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 100 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะทำให้อัตราการเติบโตของความต้องการน้ำมันและการใช้รถยนต์ลดลงภายใน พ.ศ. 2568

นักวิเคราะห์ไม่สามารถติดตามข้อมูลจำนวนจักรยานได้ทัน และไม่ยังไม่สามารถประเมินว่าอัตราการเติบโตของการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงร่วงลงไปเท่าใดจากการที่บริการเช่าจักรยานมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ จากการประเมินของอุตสาหกรรม รายงานรัฐบาล และผลสำรวจของรอยเตอร์ เห็นได้ชัดว่าบริการเช่าจักรยานส่งผลให้มีการเดินทางด้วยยานยนต์น้อยลง

“การเช่าจักรยานกำลังมาแรง ผู้คนในสังคมเชื่อว่าการทำเช่นนี้ช่วยส่งเสริมการใช้งานขนส่งมวลชน เพราะการเช่าจักรยานช่วยให้เดินทางถึงที่หมาย” นายแฮร์รี่ หลิว ที่ปรึกษาไอเฮชเอส มาร์กิต กล่าว

แม้ในช่วงที่การเช่าจักรยานยังไม่เฟื่องฟูมากนัก นักวิเคราะห์ได้ออกมาชี้แจงแล้วว่า การประหยัดเชื้อเพลิงของรถยนต์และการหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น ได้หมายความว่าการเติบโตขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงได้สิ้นสุดลงแล้ว

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ธุรกิจจักรยานสาธารณะเกิดใหม่ของจีนที่ชื่อ โมไบค์ เริ่มเปิดให้บริการในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และกรุงเทพฯ ประเทศไทย เช่นเดียวกับในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

โมไบค์ ซึ่งเริ่มเปิดตัวเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 และคู่แข่งอย่าง โอโฟ ซึ่งเป็นของจีนเช่นกัน ต่างดึงดูดเงินทุนร่วมมากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6.5 หมื่นล้านบาท) จากกองทุนร่วมลงทุนและบริษัทหุ้นนอกตลาดซึ่งรวมถึงเทมาเส็กโฮลดิงส์, เทนเซ็นต์โฮลดิงส์, ดีเอสที โกลบอล และแอนท์ ไฟแนนเชียล

ไต้หวันซึ่งรัฐบาลสนับสนุนโครงการจักรยานสาธารณะ ตั้งเป้าจะให้มีจักรยานเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของการเดินทางไปทำงานภายใน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มจากร้อยละ 5 ในขณะนี้

หน่วยงานภาครัฐประจำกรุงไทเปกำลังขยับขยายโครงการเช่าจักรยาน ยูไบค์ ซึ่งใช้ระบบสถานีจอดเพื่อให้มีสถานีเช่าจักรยานภายในระยะเดิน 10 นาทีสำหรับพลเมืองทุกคน

โอไบค์ของสิงคโปร์ และวีไบค์ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นระบบแบบอิสระทั้งคู่ ก็เปิดทำการอยู่ในไต้หวันเช่นกัน

“เมื่อบริการเช่าจักรยานเติบโตจนถึงขีดสุดถึงขั้นที่มีผลกระทบต่อทัศนคติด้านความคล่องตัวของผู้คน เมื่อนั้นก็อาจทำให้ระบบต่าง ๆ เกิดความวุ่นวาย” นายหลิวกล่าว

ทั้งนี้ การจัดการจำนวนจักรยานที่ขาดประสิทธิภาพและการใช้จักรยานบางส่วนอย่างผิดวัตถุประสงค์ อาจนำไปสู่การออกกฏหมายที่ส่งผลให้อัตราการใช้งานลดลง โดยบริการจักรยานใหม่ ๆ เพิ่งจะถูกสั่งห้ามไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ในบางพื้นที่ของเมืองต่าง ๆ ในจีนอย่างอู่ฮั่น เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว ด้วยเหตุที่ว่าจักรยานถูกทิ้งเอาไว้ตามที่สาธารณะ รอยเตอร์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button