ติดอันดับ

เกาหลีใต้ส่งเครื่องบินเจ็ทไปเตือนเครื่องบินรบรัสเซียในเขตป้องกันทางอากาศ

เมื่อปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 เกาหลีใต้นำเครื่องบินขับไล่ขึ้นเพื่อเตือนเครื่องบินรบรัสเซียที่เข้าสู่เขตแสดงตนทางน่านฟ้าของเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นครั้งล่าสุดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลายครั้ง

เสนาธิการร่วมของกองทัพเกาหลีใต้กล่าวว่า อากาศยานทางทหารของรัสเซียหกลำบินเข้ามายังเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของเกาหลีในช่วงหกชั่วโมง เขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศแตกต่างจากน่านฟ้าของประเทศตรงที่ เป็นจุดที่ประเทศต่าง ๆ จะร้องขอให้อากาศยานจากต่างประเทศดำเนินการตามขั้นตอนพิเศษเพื่อแสดงตน

กระทรวงกลาโหมรัสเซียปฏิเสธว่าเครื่องบินทิ้งระเบิดซึ่งมาพร้อมกับเครื่องบินรบลำอื่น ๆ ของรัสเซียไม่ได้ละเมิดน่านฟ้าของประเทศใด ๆ และระบุว่าเครื่องบินกลุ่มนั้นบินอยู่เหนือน่านน้ำที่เป็นกลางในทะเลญี่ปุ่น นั่นคือทะเลเหลืองและทะเลจีนตะวันออก

ทางการรัฐเซียระบุว่าเครื่องบินขับไล่ของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นบินร่วมกับเครื่องบินทิ้งระเบิดเชิงยุทธศาสตร์ของรัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ทางการรัฐเซียเรียกว่าการลาดตระเวนตามแผน สำนักข่าวอินเตอร์แฟกซ์รายงาน

การขัดแย้งกันทางทะเลระหว่างญี่ปุ่น รัสเซีย และคาบสมุทรเกาหลี เป็นจุดที่พร้อมปะทุมานาน ท่ามกลางข้อพิพาททางน่านฟ้าในภูมิภาคหลายเหตุการณ์

“กองทัพของเราส่งเครื่องบินขับไล่ออกไปอย่างเร่งด่วน เพื่อติดตามและตรวจสอบอากาศยาน รวมทั้งถ่ายทอดข้อความเตือน” เสนาธิการร่วมระบุในแถลงการณ์ โดยเสริมว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการละเมิดเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของเกาหลีโดยเครื่องบินของกองทัพรัสเซียครั้งที่ 20 ของ พ.ศ. 2562 แล้ว

(ภาพ: เครื่องบินขับไล่ มิก-29 จากหน่วยรบ 1017 ของกองทัพอากาศและต่อต้านทางอากาศของกองทัพประชาชนเกาหลี ขึ้นบินในระหว่างการฝึกซ้อมในสถานที่ซึ่งไม่เปิดเผย)

ในเดือนกรกฎาคม สามเดือนก่อนหน้านี้ เครื่องบินรบของเกาหลีใต้ได้ยิงพลุและกระสุนเตือนหลายร้อยนัดใกล้กับเครื่องบินทิ้งระเบิดของรัสเซียที่ละเมิดเข้ามายังน่านฟ้าของเกาหลีใต้ ระหว่างช่วงที่รัสเซียเรียกว่าการลาดตระเวนทางอากาศระดับภูมิภาคร่วมระยะไกลครั้งแรกกับจีน

โดยเหตุการณ์ในเดือนตุลาคมไม่มีการยิงกระสุนเตือน เนื่องจากอากาศยานของรัสเซียไม่ได้เข้ามาในน่านฟ้าอาณาเขตของเกาหลีใต้ กองทัพสาธารณรัฐเกาหลีระบุ

เจ้าหน้าที่ของเกาหลีใต้และรัสเซียมีกำหนดนัดหมายเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการเปิดสายด่วนระหว่างกองทัพอากาศของทั้งสองประเทศ โดยเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามควบคุมการเข้ามายังเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศที่ไม่มีการรายงาน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button