ติดอันดับ

อินโดนีเซียระดมชาวประมงเพื่อเผชิญหน้ากับจีน

ติดอันดับ | Jan 22, 2020:

รอยเตอร์

รัฐบาลกล่าวเมื่อต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ว่า อินโดนีเซียจะระดมชาวประมงเข้าร่วมเรือรบในทะเลจีนใต้เพื่อช่วยป้องกันจากเรือของจีน เนื่องจากการเผชิญหน้าครั้งใหญ่ที่สุดกับสาธารณรัฐประชาชนจีนมาเป็นเวลาหลายปีได้ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศที่ใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งนี้

ตามแถลงการณ์ที่รุนแรงผิดปกติ นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “จะไม่มีการเจรจาเมื่อเป็นเรื่องอำนาจอธิปไตยของเรา”

โดยการเผชิญหน้าตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ในหมู่เกาะนาตูนาทางตอนเหนือ ซึ่งเรือลาดตระเวนชายฝั่งของจีนได้สมทบกับเรือประมงจีน ทำให้ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียกับรัฐบาลจีนขุ่นหมองลง (ภาพ: นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย (กลาง) พร้อมด้วย พล.อ. กาโต นูร์มานต์โย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ซ้าย) และนายอากุส สุปริอัทนา ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ เดินผ่านเครื่องบินขับไล่และอาวุธระหว่างการฝึกซ้อมทางทหารในเกาะนาตูนา จังหวัดหมู่เกาะรีเยา ประเทศอินโดนีเซีย)

นายมาห์ฟัด เอ็มดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงอินโดนีเซียระบุกับผู้สื่อข่าวว่า จะมีการส่งชาวประมงประมาณ 120 คนจากเกาะชวาไปยังหมู่เกาะนาตูนา ซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไปทางตอนเหนือ 1,000 กิโลเมตร

นายมาห์ฟัดกล่าวว่า “เราต้องการระดมชาวประมงจากชายฝั่งทางเหนือ และอาจระดมจากพื้นที่อื่น เพื่อทำการประมงและสิ่งอื่น ๆ”

อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสี่ของโลก ระบุว่ากำลังส่งเรือรบไปยังพื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น นายอิหม่าม ฮิดายัต หัวหน้าคณะอนุกรรมการปฏิบัติการทางทะเลของหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล กล่าวกับรอยเตอร์เมื่อไม่นานนี้ว่า ขณะนี้มีเรืออินโดนีเซียหกลำประจำอยู่ในพื้นที่และกำลังเดินทางมาสมทบอีกสี่ลำ

จีนอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าระดับโลกที่อุดมไปด้วยแหล่งประมงและแหล่งพลังงานที่มีคุณค่าว่าเป็นของตน โดยอ้างกิจกรรมในประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศส่วนใหญ่ในโลกกล่าวว่า การอ้างสิทธิ์ดังกล่าวไม่มีพื้นฐานทางกฎหมาย

เรืออินโดนีเซียมักต้องเผชิญหน้ากับชาวประมงจีนนอกหมู่เกาะนาตูนา แต่การปรากฏตัวของเรือลาดตระเวนชายฝั่งของจีนยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงในปีนี้ให้มากขึ้นกว่าการที่อินโดนีเซียเคยเรียกประชุมกับทูตจีน

การเจรจาในกรุงปักกิ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ นายเกิ๋ง ฉ่วง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า จีนมีอำนาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะสแปรตลีและน่านน้ำของหมู่เกาะ รวมถึงทั้งจีนและอินโดนีเซียมีกิจกรรมการประมง “ตามปกติ” ที่นั่น นายเกิ๋งไม่ได้กล่าวถึงหมู่เกาะนาตูนาซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะสแปรตลีเป็นพิเศษ

ใน พ.ศ. 2562 จีนมีส่วนในความขัดแย้งทางทะเลที่ยืดเยื้อในเขตเศรษฐกิจที่ขยายตัวของเวียดนามและความวิตกกังวลร้อนใจกับการปรากฏตัวของกองทัพเรือนอกชายฝั่งฟิลิปปินส์และมาเลเซีย

ฟางเส้นสุดท้ายของความตึงเครียดระหว่างอินโดนีเซียกับจีนเหนือทะเลจีนใต้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2559 เมื่อเรือลาดตระเวนชายฝั่งของจีนพุ่งชนเรือประมงจีนให้เป็นอิสระ หลังทางการอินโดนีเซียสกัดตัวไว้เนื่องจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button