ติดอันดับ

อินเดียกำลังวางแผนเพิ่มขีดความสามารถในการทำสงครามแบบไร้การปะทะ

ติดอันดับ | Feb 11, 2020:

มันดีป สิงห์

การโจมตีทางไซเบอร์ ยานพาหนะไร้คนขับ และหุ่นยนต์ติดอาวุธ คือสิ่งที่นักวางแผนด้านกลาโหมใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามแบบไร้การปะทะ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้อาจนำมาซึ่งโอกาสและภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ เจ้าหน้าที่กลาโหมของอินเดียจึงให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้มากยิ่งขึ้น

พล.อ. บิปิน ราวัต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอินเดีย (ในภาพ) กล่าวในการสัมมนากับกองทัพบกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ว่า “สงครามแบบไร้การปะทะกำลังเข้ามามีบทบาทกับสงครามในอนาคตมากขึ้นเรื่อย ๆ” “แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่อยู่บนพื้นโดยมีปืนไรเฟิลในมือจะไม่มีบทบาทในสงครามอีกต่อไป” พล.อ. ราวัตกล่าวย้ำ “การทำสงครามแบบไร้การปะทะจะช่วยให้เราได้เปรียบศัตรูในอนาคต ดังนั้น สิ่งสำคัญคือจะต้องเข้าใจบริบทของทิศทางที่เราต้องก้าวไปข้างหน้านี้”

ตำแหน่งของ พล.อ. ราวัต เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการทำสงครามแบบไร้การปะทะ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่และนักวิเคราะห์ของกระทรวงกลาโหม

พล.อ. วิเวก เวอร์มา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดีย เขียนในบทความของสถาบันบริการแห่งสหประชาชาติของอินเดียประจำเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ว่า “ระบบอัตโนมัติ การย่อขนาด การลักลอบ ความเร็ว และแพลตฟอร์มการโจมตีที่มีความแม่นยำได้เปลี่ยนลักษณะของสงครามไปแล้ว” พล.อ. เวอร์มา อธิบายว่า อินเดียต้องการพัฒนาขีดความสามารถเหล่านี้และเตรียมตัวที่จะป้องกันการสงครามลักษณะดังกล่าว โดย พล.อ. เวอร์มา ได้สนับสนุนการรณรงค์เพื่อความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมของ พล.อ. ราวัต รวมทั้งให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างกระทรวงต่าง ๆ และความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ

“สนามรบแบบดั้งเดิมทั้งทางบก ทางทะเล ทางอากาศ และอวกาศนั้นทับซ้อนกับพื้นที่ที่ไม่ใช่สนามรบ เช่น พื้นที่ทางเทคโนโลยี พื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางปัญญาในจิตใจมนุษย์” พล.อ. เวอร์มา กล่าวแย้งและเสริมต่อว่า “แทบทุกพื้นที่ต้องเผชิญหน้ากับสนามรบอย่างมีนัยสำคัญ”

พล.อ. ราวัต เข้าร่วมการสัมมนาพร้อมด้วยนายทหารอาวุโสอื่น ๆ ที่ปรึกษารัฐบาล ผู้นำอุตสาหกรรมกลาโหม และนักวิชาการ นอกจากการอภิปรายแล้ว การสัมมนาดังกล่าวยังเป็นเวทีสำหรับผู้คิดค้นด้านกลาโหมของอินเดียในการนำเสนอแนวคิดด้านเทคโนโลยีแก่ผู้นำด้านกลาโหมโดยตรง

พล.อ. อมัน อนันต์ โฆษกกองทัพบกอินเดีย กล่าวไว้ในแถลงการณ์ว่า พล.อ. ราวัต เน้นถึงเรื่องการยอมรับเทคโนโลยีและความมุ่งมั่นของกองทัพอินเดียในการสร้าง “วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม”

“พล.อ. ราวัต ยังเน้นย้ำถึงความต้องการใช้เทคโนโลยีแบบสองทางเพื่ออนาคต” พล.อ. อนันต์กล่าว “สำหรับเรื่องนี้ กองทัพอินเดียได้พยายามที่จะเปิดกว้างต่ออุตสาหกรรมมากขึ้น” โดยเปิดเผยข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับยุทโธปกรณ์ทางทหารที่เข้มงวดเพื่อให้เหมาะกับการค้าของภาคเอกชนมากขึ้น

โดยความต้องการของ พล.อ. ราวัต ที่อยากให้อินเดียใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อมูลขนาดใหญ่ในปฏิบัติการป้องกันนั้นเรียกว่า “ความต้องการ ณ ชั่วโมงนั้น” นางอดัมยา ชาร์มา นักเขียนด้านเทคโนโลยีชาวอินเดีย ระบุเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 หลังจากที่นายพลอนันต์กล่าวสุนทรพจน์ที่เตือนสาธารณรัฐประชาชนจีนในเรื่องปัญญาประดิษฐ์และสงครามไซเบอร์ รวมถึงภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับอินเดีย

นางชาร์มา เขียนลงในเว็บไซต์ Digit.in ซึ่งตนเองทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหารว่า “ในอินเดีย จีนมีส่วนถึงร้อยละ 35 ของการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งหมดที่ดำเนินการบนเว็บไซต์ทางการของอินเดีย ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2561”

นางชาร์มา กล่าวว่า สิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือการโจมตีจำนวนมากมีเป้าหมายเจาะจงที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญของอินเดีย ซึ่งแสดงถึงปฏิบัติการสงครามแบบไร้การปะทะ เป้าหมายการโจมตีดังกล่าวนั้นรวมถึง การโจมตีรถไฟของอินเดีย บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ศูนย์สารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์ระบบข้อมูลรถไฟ ธนาคารใหญ่สามแห่ง และศูนย์ข้อมูลรัฐบาลส่วนจังหวัดสามแห่ง

นายมันดีป สิงห์ เป็นผู้สื่อข่าวสมทบของ ฟอรัม รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button