ติดอันดับ

รายงานฉบับใหม่ของอาเซียนแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่จะมีต่อไปข้างหน้า

ติดอันดับ | Feb 9, 2020:

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ได้ปรับเส้นทางการเดินหน้าในรายงานทัศนะชุมชนความมั่นคงทางการเมืองแห่งอาเซียนฉบับปรับปรุง โดยรายงานหัวข้อ “อาเซียนและนอกเหนือจากนั้น” ที่ได้รับการเผยแพร่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ประกอบด้วยบทความสามเรื่องที่มุ่งเน้นการเป็นพันธมิตรนอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจำกัดการแผ่ขยายจำนวนและการปลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงการส่งเสริมสันติภาพและการปรองดอง

สำนักเลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า “บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า อาเซียนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงนอกเหนือจากทั้งสี่มุมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความร่วมมือไม่เพียงแต่ในหมู่สมาชิกของอาเซียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศและองค์กรที่อยู่นอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศและสหภาพยุโรป”

ในปีที่ผ่านมา เหล่าผู้นำอาเซียนได้นำหลักการนี้ไปใช้เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ การเปิดกว้าง และการอยู่ร่วมกัน (ภาพ: รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน จากซ้าย: นายไซฟุดดิน อับดุลละฮ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย, นายอู จ่อ ติน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า, นายทีโอโดโร ล็อกซิน จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์, นายวิเวียน บาลากริชนัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์, นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย, นายฝ่าม บิ่งห์ มิงห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม, นายเอรีวัน ยูซอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศบรูไน, นายปรัก สุคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา, นางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย, นายสะเหลิมไซ กมมะสิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว และนายลิม จ๊อก ฮอย เลขาธิการอาเซียน ได้ถ่ายรูปหมู่ที่เมืองญาจาง ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563)

รายงานระบุว่า รัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศสมาชิกยังตกลงที่จะให้ความสำคัญด้านความร่วมมือ ซึ่งรวมถึงความมั่นคงทางทะเล การเชื่อมต่อ ความร่วมมืออย่างยั่งยืน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

“อาเซียนให้ความสำคัญกับความร่วมมือข้ามภาคส่วนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยทราบดีว่า ประเด็นในวันนี้มีหลายแง่มุมและหลากหลายมิติ โดยผ่านทางเสาหลักทั้งสามของอาเซียน ดังนั้นจึงต้องอาศัยแนวทางบูรณาการ “ทุกภาคส่วนของสังคม” ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโอกาสหรือการแก้ไขความท้าทายที่เกิดขึ้นในวิถีของอาเซียน” รายงานดังกล่าวระบุ

เมื่อกล่าวถึงความร่วมมือ อาเซียนไม่เพียงแต่ต้องทำงานร่วมกับ 10 ประเทศสมาชิกเท่านั้น แต่ยังต้องการสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจร่วมกันในการส่งเสริมสันติภาพภายในและภายนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

รายงานระบุว่า “การสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและการสร้างเครือข่ายการสนับสนุนจะช่วยให้อาเซียนสามารถป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งได้เป็นอย่างดี รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น” “เป็นไปอย่างที่คาดการณ์ไว้ว่า สันติภาพไม่ใช่เพียงแค่ภาวะปราศจากความขัดแย้งอย่างที่อาเซียนและทั่วโลกเข้าใจ แต่ยังเป็นกระบวนการที่ไม่มีวันจบสิ้นในการทำงานเพื่อมุ่งสู่ภาวะดังกล่าว ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสันติภาพที่ทุกคนควรจะมีบทบาทสำคัญ รวมถึงผู้หญิงด้วย”

คลิกที่นี่เพื่อดูรายงานฉบับเต็ม: https://asean.org/storage/2020/01/ASEAN-Political-Security-Community-Outlook_2019_No2.pdf

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button