นวัตกรรมแผนก

พลาสติกที่ย่อยสลายได้อาจ ปฏิวัติ ปฏิบัติการ ทางทหารและห่วงโซ่อุปทาน

ลองจินตนาการถึงเครื่องบินลำเล็ก หรือโดรนที่หายไปได้จริงหลังจาก ทำภารกิจสำเร็จ โดยไม่ทิ้งหลัก ฐานของปฏิบัติการเอาไว้ และไม่มีโอกาสที่อุปกรณ์จะตกไปอยู่ในเงื้อมมือของศัตรู หรือนึกภาพของเซ็นเซอร์ล่องหน ที่รวบรวมและส่งข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมหรือทางการแพทย์แล้วสลายไปโดยไม่ทิ้งร่องรอย

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลา โหมสหรัฐฯ ได้สนับสนุนทุนการวิจัยแก่สถาบัน เทคโนโลยีจอร์เจีย ซึ่งได้เข้าใกล้การทำให้เที่ยวบินที่สลายไปได้ดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมา

นิตยสารไซแอนทิฟิกอเมริกันรายงานว่า ทีม วิศวกรได้ผลิตวัสดุพลาสติกชนิดใหม่ที่สามารถ ขึ้นรูปเป็นแผ่นที่ยืดหยุ่นและชิ้นส่วนเครื่องจักรที่มีความทนทาน จากนั้นจะระเหยภายในไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากสัมผัสกับแสงอัลตราไวโอ เลต หรืออุณหภูมิที่สูงกว่า 80 องศาเซลเซียส

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวง กลาโหมประสบความสำเร็จในการทดสอบพลา สติกชนิดใหม่ในร่มชูชีพและเครื่องร่อนแล้ว ดร. พอล โคห์ล ศาสตราจารย์ด้านเทคนิคและสมาชิก ทีมวิศวกรรมของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย กล่าวกับไซแอนทิฟิกอเมริกันในการประชุมเมื่อเดือนสิง หาคม พ.ศ. 2562 ที่ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนียว่า “นี่คือการใช้งานที่ยอดเยี่ยมหากคุณต้องการให้สิ่งต่าง ๆ หายไปในทันที”

แม้ว่าทีมนักวิจัยหลาย ๆ ทีมได้ทำงานเกี่ยว กับพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง เพื่อการรีไซเคิลและวัตถุประ สงค์อื่น ๆ แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือวัสดุที่ สลายตัวได้ มักจะถูกทำลายลงที่อุณหภูมิห้อง อย่างไรก็ตาม วัสดุใหม่นี้อาจคงรูปได้นานถึง 20 ปีหากได้รับการป้องกันจากแสงแดด นาย โคห์ลอธิบายในการประชุมประจำปีของสมาคมเคมี อเมริกัน ทีมได้พัฒนาวิธีที่จะทำให้เกิดการย่อย สลายตามความต้องการ

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมเริ่มให้เงินทุนในการพัฒนาวัสดุที่สลาย ไปได้ สำหรับยานขนส่งทางอากาศที่เรียกว่า ระบบ ควบคุมการปล่อยทางอากาศที่ไม่สามารถกู้คืนได้ หรือ อิคารัส ซึ่งเป็นการสนับสนุนการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย (ในตำนานเทพปกรณัมกรีก ปีกของอิคารัสซึ่งทำด้วยขี้ผึ้ง ละลายเมื่อบินเข้า ใกล้ดวงอาทิตย์มากเกินไป) สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ “เพื่อเลียนแบบความไม่ คงทนของวัสดุที่นำไปสู่การตายของอิคารัส แต่ใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถดังกล่าวในสถาน การณ์ที่มีตอนจบดีขึ้น” NBC.com รายงาน

การแปรรูปขยะทางการทหาร

นอกจากนี้ สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระ ทรวงกลาโหมยังลงทุนในด้านอื่น ๆ เพื่อปฏิวัติการรีไซเคิลวัสดุในพื้นที่การรบ โดยโครงการรีซอร์ส ใหม่ของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระ ทรวงกลาโหม มุ่งมั่นยกระดับความสามารถใน การจัดการห่วงโซ่อุปทานของกองทัพสหรัฐฯ ด้วยการแปลงขยะทางการทหารที่เกิดขึ้นระหว่าง การประจำการให้เป็นคลังที่สำคัญ เช่น น้ำมันหล่อ ลื่นเคมีสำหรับอาวุธและเครื่องจักร หรือแม้กระทั่ง อาหารและน้ำ ระบบพกพาที่มีในตัวจะรีไซเคิลของ เสียที่มีพลังงานหนาแน่นในสถานที่ปฏิบัติงานและ ตามแต่ความต้องการ เพื่อสนับสนุนความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและปฏิบัติการบรรเทาภัยพิบัติ รวมถึงปฏิบัติการเร่งด่วนที่ดำเนินการโดยกองกำ ลังปฏิบัติการพิเศษ

นายเบลค เบ็กซ์ไทน์ ผู้จัดการโครงการของสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวงกลา โหมกล่าวว่า “ในสภาพแวดล้อมที่ห่างไกลหรือแร้นแค้น ซึ่งแม้แต่การชะล่าใจเรื่องสิ่งพื้นฐาน ความอยู่รอดก็ไม่สามารถทำได้ คำว่า ‘ใช้แล้วทิ้ง’ นั้นยากที่จะเกิดขึ้นได้”

สำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกระทรวง กลาโหมคาดการณ์ว่า ระบบจะผสานวิธีการเร่งปฏิกิริยาเชิงกล ทางชีวภาพ และทางเคมี รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะเติมเชื้อเพลิงบางส่วนโดยการผสมสาน ของชีวโมเลกุลและจุลินทรีย์ เช่น แทนที่ทหารจะ ทิ้ง ซองใส่อาหารสำเร็จรูปแต่นำมาเข้าสู่ระบบ เหล่า นี้และเลือกชนิดผลลัพธ์ของผลิตภัณฑ์รีไซ เคิลที่จะดัดแปลงหรือแปรรูป โดยขึ้นอยู่กับความ ต้องการของทหารในขณะนั้น

“เราหวังว่าจะช่วยให้กองกำลังทหารสามารถ ยืดเวลาในภาคสนามขยายความยืดหยุ่นในการ ปฏิบัติงาน หรือสร้างเสถียรภาพให้กับประชาชนที่มีความเสี่ยง โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เกือบทุกชนิดที่มีอยู่ในมือ” นายเบ็กซ์ไทน์กล่าว “แม้ในสถานที่ที่แห้งแล้งอื่น ๆ เราก็ยังสามารถทำ ให้การแยกย่อยขยะเป็นไปได้ และดัดแปลงให้เป็นเสบียงฉุกเฉินหรืออุปกรณ์ที่สำคัญอื่น ๆ”

โครงการรีซอร์สจะเปลี่ยนการจัดการขยะจากการเผา การฝังกลบ และการขนส่ง ไปสู่การแปลง วัสดุที่ใช้แล้วในสถานที่ปฏิบัติงานให้เป็นทรัพยา กรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งความสามารถนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมของชุมชนด้วยเช่นกัน เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button