ผู้เขียนบทความ

อินโดแปซิฟิก ดีเฟนส์ ฟอรัม ยินดีรับเนื้อหาจากผู้ร่วมสนับสนุน

กรุณาส่งบทความฉบับเต็มมาเพื่อการพิจารณาที่: ipdf@ipdefenseforum.com

เรายินดีที่จะตรวจสอบคำถามต่าง ๆ สำหรับบทความที่อาจนำไปเผยแพร่ กรุณารวมเนื้อหาสรุปโดยย่อ ชื่อ และอีเมลของคุณมาพร้อมกับเนื้อหาที่ส่งมาด้วย

IPDefenseForum.com มอบช่องทางให้กับกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิกในการให้ข้อมูลกับสมาชิกอาวุโสของกองทัพต่างประเทศ เจ้าหน้าที่กลาโหม และผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง ในภาษาของประเทศหุ้นส่วนหลายภาษาและในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อกังวลร่วมกันและส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค

IPDefenseForum.com ยังทำหน้าที่เสมือนสถานที่สำหรับผู้ร่วมสนับสนุนในการแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นด้านกองทัพและความมั่นคงในอินโดแปซิฟิก ความคิดเห็นเหล่านี้ไม่ได้แสดงถึงนโยบายหรือมุมมองของกองบัญชาการนี้หรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ แต่อย่างใด

ข้อเสนอแนะ

หากต้องการติดต่อกองบรรณาธิการของ IPDefenseForum.com กรุณาใช้แถบ “เกี่ยวกับเรา” (https://ipdefenseforum.com/about-us/)

การแก้ไข

ในการแก้ไขข้อผิดพลาดใด ๆ กรุณาส่งคำร้องสำหรับการแก้ไขผ่านทางลิงก์ “เกี่ยวกับเรา” เราจะพยายามแก้ไขข้อผิดพลาดในเนื้อหาที่เผยแพร่ในรูปแบบดิจิทัลหรือสิ่งพิมพ์โดยทันที


การเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ชุดที่ 49 ฉบับที่ 1 / 2567

ดร. อัลเฟรด โอห์เลอร์ส เข้าร่วมกับศูนย์เอเชียแปซิฟิก แดเนียล เค. อิโนะอุเอะ เพื่อการศึกษาด้านความมั่นคงใน พ.ศ. 2550 ก่อนหน้านี้ ดร. โอห์เลอร์สทำงานเป็นรองศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ดร. โอห์เลอร์สสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์การเมืองจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมคควอรี ประเทศออสเตรเลีย ดร. โอห์เลอร์สมีความเชี่ยวชาญในด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยได้สอนและมีผลงานเขียนอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นที่หลากหลาย ซึ่งมีหลายส่วนที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งภูมิภาคหมู่เกาะแปซิฟิก์ อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 8


นายพรหม เชลลานีย์ เป็นทั้งนักภูมิยุทธศาสตร์ นักวิชาการ นักเขียน และนักวิจารณ์ นายเชลลานีย์เป็นศาสตราจารย์ด้านการศึกษายุทธศาสตร์ที่ศูนย์ศึกษาวิจัยนโยบายประจำกรุงนิวเดลี นักวิจัยทุนริชาร์ด ฟอน ไวซ์เซคเคอร์ ที่วิทยาลัยโรเบิร์ต บอช ในกรุงเบอร์ลิน และสมาชิกของศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาแนวคิดหัวรุนแรงที่วิทยาลัยคิงส์คอลเลจลอนดอน นายเชลลานีย์เคยเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มที่ปรึกษานโยบาย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดียเป็นผู้นำ ก่อนหน้านั้น นายเชลลานีย์เคยเป็นที่ปรึกษาให้แก่สภาความมั่นคงแห่งชาติอินเดีย โดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประชุมกลุ่มความมั่นคงภายนอกของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 20


ดร. โจว จิงห่าว์ เป็นรองศาสตราจารย์ประจำคณะเอเชียศึกษาแห่งวิทยาลัยโฮบาร์ต แอนด์ วิลเลียม สมิธ ในนครนิวยอร์ก งานวิจัยของ ดร. โจว มุ่งเน้นเรื่องอุดมการณ์ การเมือง และศาสนาของจีน ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ดร. โจว ได้ตีพิมพ์บทความในวารสารและบทความข่าวมากมาย และได้เขียนหนังสืออีกหกเล่ม ซึ่งหนังสือเล่มล่าสุด ได้แก่ “การแข่งขันเพื่อเป็นมหาอำนาจในฐานะวิถีใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ” ตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2566 อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 42


ดร. เจนนิเฟอร์ ดาบส์ สคูบบา เป็นผู้ช่วยอาวุโส (ไม่ใช่ผู้พำนักอาศัย) แห่งศูนย์เฮสสำหรับเขตแดนใหม่ที่สถาบันวิจัยนโยบายการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ และเป็นนักวิชาการระดับโลกที่ศูนย์วิลสัน ซึ่งทั้งสองแห่งอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. นอกจากงานเขียนบทความทางวิชาการเกี่ยวกับการเมืองของประชากรแล้ว ดร. สคูบบา ยังเป็นผู้เขียน “8 พันล้านและยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ: เพศ ความตาย และการย้ายถิ่นฐานมีอิทธิพลต่อโลกของเราอย่างไร” และ “รูปแบบสงครามแห่งอนาคต: ความมั่นคงของประชากรและประเทศชาติ” ดร. สคูบบา ได้รับการฝึกอบรมที่สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยประชากร และได้ทำงานให้กับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เกี่ยวกับปัญหาประชากรและสิ่งแวดล้อม อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 48


ดร. เจค วอลลิส ก่อนหน้านี้เคยเป็นผู้นำโครงการปฏิบัติการข้อมูลและการบิดเบือนข้อมูลร่วมกับศูนย์นโยบายไซเบอร์ระหว่างประเทศของสถาบันนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ของออสเตรเลีย ซึ่ง ดร. วอลลิส ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐระหว่างประเทศ ภาคประชาสังคม และแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อต่อต้านการบิดเบือนข้อมูลโดยผู้มีบทบาทในภาครัฐและที่ไม่ใช่รัฐ งานวิจัยในระดับปริญญาเอกของ ดร. วอลลิสศึกษาว่ากลุ่มที่มีแรงจูงใจทางการเมืองรวมตัวกันผ่านเครือข่ายออนไลน์ได้อย่างไร ดร. วอลลิสได้ศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่มหัวรุนแรงภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาของกองทัพบกออสเตรเลีย และมีส่วนร่วมในโครงการศูนย์กลางนวัตกรรมขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือนาโต การวิเคราะห์เกี่ยวกับการบิดเบือนข้อมูลและการรณรงค์โฆษณาชวนเชื่อครั้งใหญ่ของเขาที่มีส่วนเชื่อมโยงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการกล่าวถึงในสื่อสิ่งพิมพ์ทั่วโลก อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 52


ความยืดหยุ่นระดับโลก ชุดที่ 48 ฉบับที่ 4 / 2566

ดร. มีมี วินน์ เบิร์ด พันโทที่เกษียณอายุราชการจากกองทัพบกสหรัฐฯ และปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์แห่งศูนย์การศึกษาด้านความมั่นคงในเอเชียแปซิฟิกแดเนียล เค. อิโนะอุเอะ ในรัฐฮาวายมีความเชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับเมียนมาเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก การพัฒนาองค์กร และการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ โดยมีผลงานที่มุ่งให้ความสนใจกับปฏิบัติการร่วมระหว่างพลเรือนและทหาร การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน และมาตรฐานการรายงานทางการเงินเชิงธุรกิจ
ดร. เบิร์ดได้รับปริญญาตรีสาขาเศรษฐศาสตร์และการบัญชีจากวิทยาลัยแคลร์มงต์ เเมคเคนนา และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาวาย เธอได้ปริญญาเอกในด้านความเป็นผู้นำการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 24


ดร. ชิเงโนริ มิชิมะ
เป็นรองกรรมาธิการและประธาน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีแห่งหน่วยงานดูแลด้านการควบรวมกิจการ เทคโนโลยีและโลจิสติกส์สำหรับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ดร. ชิเกโนริ ดูแลด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่น ความร่วมมือด้านยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศ และการยกระดับเทคโนโลยีขั้นสูงในกลุ่มรัฐบาล อุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษา ก่อนหน้านี้ เขาเคยเป็นผู้อำนวยการยุทธศาสตร์ภาควิชาเทคโนโลยีและฝ่ายบริหารโครงการของหน่วยงานดูแลด้านการควบรวมกิจการ เทคโนโลยี และโลจิสติกส์ของญี่ปุ่น ดร. ชิเกโนริ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสาขานาวาสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยโตเกียว และปริญญาเอกสาขาอุทกพลศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 40


การเปลี่ยนแปลงด้านกลาโหม ชุดที่ 48 ฉบับที่ 3 / 2566

ดร. อาร์นับ ดาส ผู้บัญชาการกองทัพเรืออินเดียที่รับราชการมานานกว่าสองทศวรรษ ซึ่งปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียในกรุงเดลี ขณะยังปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพ ดร. ดาสเป็นผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางทะเล ซึ่งทำงานเกี่ยวกับความตระหนักรู้เท่าทันสถานการณ์ใต้น้ำที่เฉพาะตัว นอกจากนี้ยังดำเนินธุรกิจในชื่อ เนิร์ดฮวานี เทคโนโลยี ซึ่งเป็นธุรกิจเกิดใหม่ที่ให้บริการแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเล ตลอดจนให้การสนับสนุนและบริการด้านการอนุรักษ์ทางทะเล ดร. ดาสเป็นผู้นำโครงการวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียในกรุงเดลี มหาวิทยาลัยโตเกียว ห้องปฏิบัติการวิจัยทางเสียงของมหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ รวมถึงโครงการวิจัยสำหรับกองทัพเรืออินเดีย ภายหลังเกษียณอายุราชการ เขาได้เขียนรายงานมากกว่า 70 ฉบับ บทหนังสือ 2 บท และหนังสือ 1 เล่ม
อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 24


น.อ. แพทริก ฮินตัน เป็นหัวหน้าคณะนักวิจัยอาคันตุกะจากกลุ่มวิจัยวิทยาศาสตร์การทหารของสถาบันรอยัลยูไนเต็ดเซอร์วิส ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยอิสระในสหราชอาณาจักร น.อ. ฮินตันเป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปืนใหญ่สังกัดกองทัพอังกฤษ และเคยทำงานโดยใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศจากภาคพื้นดินและระบบอากาศยานควบคุมระยะไกล นับตั้งแต่เข้าร่วมกองทัพเมื่อ พ.ศ. 2557 เขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ ผู้บัญชาการกองทหาร เจ้าหน้าที่บริหาร และนายทหารสารบรรณ น.อ. ฮินตัน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยสแตฟฟอร์ดเชียร์ และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยวอร์วิก ความสนใจด้านการวิจัยของเขาครอบคลุมถึงการบูรณาการระบบระยะไกลและระบบอัตโนมัติเข้ากับกองทัพบก ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลากรทางทหาร อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 36


ศาสตราจารย์เคอร์รี เค. เกอร์ชาเนค เป็นนักวิจัยจากศูนย์บัญชาการทหารสูงสุดผสมชาติยุโรปของนาโต ซึ่งตั้งอยู่ในเบลเยียม และเป็นนักวิจัยอาวุโสของมูลนิธิเพื่อการลดความเสี่ยงระดับโลกในฮาวาย ในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ศาสตราจารย์เกอร์ชาเนคเป็นนักวิชาการอาคันตุกะที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเจิ้งจื้อในไต้หวัน และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และโรงเรียนนายเรือของประเทศไทย ศาสตราจารย์เกอร์ชาเนค อดีตนาวิกโยธินของสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับกองพลทหารราบไปจนถึงสำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีประสบการณ์ด้านการบังคับบัญชาและอำนวยการในสงครามพิเศษ การต่อต้านข่าวกรอง ข่าวกรอง ทหารราบ ยานเกราะ และการสื่อสารเชิงยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังทำงานร่วมกับสำนักงานข้อมูลของสหรัฐฯ และสถานทูตสหรัฐฯ ประจำภูมิภาคอินโดแปซิฟิกด้วย อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 50


การป้องปรามแบบบูรณาการ ชุดที่ 48 ฉบับที่ 2 / 2566

พล. อ.จ. เกล็น ที. แฮร์ริส เป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการระดับโลกของกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ที่ฐานทัพอากาศอัฟฟุต รัฐเนแบรสกา พล.อ.จ. แฮร์ริสเป็นผู้นำการบัญชาการสำหรับปฏิบัติการนิวเคลียร์และรับผิดชอบต่อความพร้อมในแต่ละวันของหน่วยบัญชาการและควบคุมนิวเคลียร์สหรัฐฯ และกองกำลังป้องปรามเชิงยุทธศาสตร์ และยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการประสานองค์ประกอบ ปฏิบัติการร่วมและผสม และการสั่งการกองกำลังที่ได้รับมอบหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ และของประเทศ


พ.ต. จอห์น ยานิคอฟ จากกองทัพบกสหรัฐฯ เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการสนับสนุนข้อมูลทางทหารของหน่วยอำนวยการปฏิบัติการระดับโลกของกองบัญชาการยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ในฐานะผู้นำการบัญชาการ พ.ต. ยานิคอฟดูแลการวางแผน การบูรณาการ และการดำเนินการของปฏิบัติการสนับสนุนข้อมูลทางทหาร เขาได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพผ่านมหาวิทยาลัยมิลเลอส์วิลล์ใน พ.ศ. 2550 และจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขากลาโหมและยุทธศาสตร์ศึกษาจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เมืองเอลพาโซ ใน พ.ศ. 2564 เขาได้ปฏิบัติหน้าที่ในหลายตำแหน่ง รวมทั้งในฐานะผู้บัญชาการกองร้อยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกองพันที่ฐานทัพฟอร์ตแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา ภายใต้หน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษกองทัพบกสหรัฐฯ อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 10


พ.ต. ไบรอัน ซี. นีล เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองเชิงยุทธศาสตร์ของกองทัพบกสหรัฐฯ ในหน่วยผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร ทำการสนับสนุนปฏิบัติการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในโอเชียเนียและฟิลิปปินส์ พ.ต. นีลจบการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาข่าวกรองเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นไปที่จีน จากมหาวิทยาลัยเนชันแนลอินเทลลิเจนซ์ใน พ.ศ. 2564 พ.ต. นีลเป็นเจ้าหน้าที่ปืนใหญ่สนามในระดับยุทธวิธีและระดับปฏิบัติการมานานร่วมสิบปี รวมทั้งปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนการยิงสนับสนุนที่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการยิงของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่ฟอร์ทซิล รัฐโอคลาโฮมา อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 18


ดร. เชล โฮโรวิทซ์ เป็นศาสตราจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-มิลวอกี ดร. โฮโรวิทซ์ได้ศึกษาวิจัยเรื่องความขัดแย้งในระดับนานาชาติและความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ โดยเน้นไปที่เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ การเมืองในด้านการค้าและการเงินระหว่างประเทศ การเมืองในด้านการเปลี่ยนผ่านตลาดและการเปลี่ยนแปลงระดับสถาบันในประเทศต่าง ๆ และเอเชียตะวันออกหลังยุคคอมมิวนิสต์ ดร. โฮโรวิทซ์ได้ทำการวิจัยในจีน อินเดีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ยุโรปตะวันออก และอดีตสหภาพโซเวียต อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 34


นางไอยนา พาสชาล เป็นเจ้าหน้าที่กิจการสาธารณะที่ศูนย์ความเป็น
เลิศด้านการจัดการภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในฮาวาย ก่อนหน้า
นี้ นางพาสชาลเป็นเจ้าหน้าที่กิจการสาธารณะที่กองบัญชาการไซเบอร์สหรัฐฯ ที่
ฟอร์ทมีด รัฐแมรีแลนด์ นางพาสชาลปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพเรือสหรัฐฯ เป็นเวลาหกปี
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารมวลชน เข้าเรียนในโรงเรียนข้อมูลกลาโหมและ
ปฏิบัติหน้าที่ในกองบัญชาการต่าง ๆ รวมถึงบนเรือบรรทุกอากาศยาน ยูเอสเอส
นิมิตซ์ หน่วยงานด้านการบัญชีเพื่อเชลยศึก/ผู้สูญหายทางกลาโหม และกิจกรรมสื่อกลาโหมในแปซิฟิก
อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 48


นายปีเตอร์ คอนนอลลี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความมั่นคง และยุทธศาสตร์ซึ่งได้เขียนวิทยานิพนธ์สำเร็จไปเมื่อไม่นานมานี้ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย นายคอนนอลลีปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลา 33 ปีในฐานะเจ้าหน้าที่ทหารราบของกองทัพบกออสเตรเลีย รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ในอัฟกานิสถาน หมู่เกาะโซโลมอน โซมาเลีย ติมอร์-เลสเต นอกจากนี้ นายคอนนอลลียังได้ทำงานในรัฐสภาออสเตรเลียและกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก่อนที่จะกำกับดูแลการมีส่วนร่วมในระดับนานาชาติของกองทัพบกออสเตรเลียและศูนย์วิจัยของออสเตรเลีย อ่านเนื้อหาได้ที่หน้า 56


Back to top button