ติดอันดับ

ประเทศในภูมิภาคไมโครนีเซียทนต่ออิทธิพลของจีน

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

รัฐอธิปไตยหลายแห่งที่รวมกันเป็นสหพันธรัฐไมโครนีเซียได้เคลื่อนไหวเพื่อเฝ้าระวังอิทธิพลของจีน

จีนได้เคลื่อนย้ายไปยังภูมิภาคหมู่เกาะในแปซิฟิกเพื่อดำเนินการขยายความต้องการของตนที่นั่น เนื่องจากจีนได้ดำเนินการตามแผนในการยึดครองทะเลจีนใต้อย่างก้าวร้าวได้เสร็จสมบูรณ์ โดยสร้างเกาะเทียมและจัดกำลังทางทหาร

จีนได้มุ่งเป้าไปที่สหพันธรัฐไมโครนีเซียซึ่งประกอบด้วยรัฐชุก คอสไร โปนเป และแยป รวมไปถึงประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก อย่างหมู่เกาะคุก ฟิจิ ปาปัวนิวกินี ซามัว ตองงา และวานูอาตู การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในภูมิภาคของจีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 170 เป็น 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 8.6 หมื่นล้านบาท) ตั้งแต่ พ.ศ. 2557 ถึง 2560 รายงานโดยสแตรทฟอร์ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มข่าวกรองทางการเมืองชั้นนำ

รัฐชุกของสหพันธรัฐไมโครนีเซียน่าสนใจเป็นพิเศษ เพราะสามารถมอบที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ให้กับฐานทัพจีนที่อยู่ในระยะใกล้ของกวม ด้วยเหตุนี้ รัฐชุกจึงอาจตกอยู่ในความเสี่ยงอันเนื่องมาจากแผนการของจีนในการเพิ่มพื้นที่ทางเศรษฐกิจ การเมือง และบทบาททางสังคม ดังนั้น อิทธิพลและการควบคุมของจีนทั่วทั้งภูมิภาคนี้จึงทำให้นักวิเคราะห์เป็นกังวล

สหพันธรัฐไมโครนีเซียประกอบไปด้วยเกาะมากกว่า 605 แห่ง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตรในมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 14 ของโลก สหพันธรัฐไมโครนีเซียกลายเป็นรัฐอธิปไตยในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ภายใต้ความร่วมมือด้านเสรีภาพกับสหรัฐอเมริกา ประเทศอธิปไตยในหมู่เกาะแปซิฟิกทั้งหมดที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติมีคะแนนเสียงในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในโครงการอิทธิพลของจีน (นายปีเตอร์ คริสเตียน ประธานาธิบดีสหพันธรัฐไมโครนีเซีย กล่าวถึงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 73 ที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561)

รัฐชุกจะลงคะแนนเสียงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 เพื่อพิจารณาว่าจะแยกตัวออกจากสหพันธรัฐไมโครนีเซียหรือไม่ ด้วยความกังวลต่อการแบ่งแยกซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 สภานิติบัญญัติของรัฐชุกจึงตัดสินใจขอชะลอการลงคะแนนเสียงเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นเวลาหนึ่งปี

สหรัฐฯ สนับสนุนเงินทุนประมาณร้อยละ 60 ของงบประมาณของสหพันธรัฐไมโครนีเซียภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และการแยกตัวจะทำให้ประเทศสูญเสียประมาณ 37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.1 พันล้านบาท) ต่อปีในรูปแบบการสนับสนุนต่าง ๆ ของสหรัฐฯ รวมถึงยามชายฝั่งและทรัพย์สินของหน่วยงานอื่น ๆ ตลอดจนความมุ่งมั่นในระยะยาว ขณะที่ทำให้ตนเองตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการล่าของจีน เช่น สหพันธรัฐไมโครนีเซียได้รับเงินช่วยเหลือ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท) ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 – 2546 สแตรตฟอร์รายงาน

“เรากำลังยืดระยะเวลาการมีส่วนร่วมในหมู่เกาะแปซิฟิกเพื่อคงไว้ซึ่งภูมิภาคอินโดแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง รักษาการเข้าถึง และส่งเสริมสถานะของเราในฐานะพันธมิตรด้านความมั่นคงที่ดีที่สุด” พ.ท. เดฟ อีสต์เบิร์น โฆษกกระทรวงกลาโหมกล่าวกับหนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2562

นอกเหนือจากสหพันธรัฐไมโครนีเซียแล้ว สหรัฐฯ ยังมีแผนจะกระชับความสัมพันธ์กับประเทศต่าง ๆ เช่น หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาเลา และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาอีกด้วย

“เรากำลังมองหาวิธีการที่จะก้าวขึ้นไปมีส่วนร่วมมากขึ้นในภูมิภาคย่อยอื่น ๆ ซึ่งแต่เดิมนิวซีแลนด์และออสเตรเลียเป็นผู้นำและมีบทบาทสำคัญ” พ.ท. อีสต์ เบิร์น กล่าว

ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ และไต้หวันต่างกำลังมองหาวิธีการถ่วงดุลอิทธิพลของจีน เนื่องจากพันธมิตรของสหรัฐฯ ยังมีความสนใจเชิงกลยุทธ์ในการรักษาความมั่นคงและเสรีภาพการเดินเรือทั่วภูมิภาค

นักวิเคราะห์บางคนกังวลว่ารัฐอิสระชุกจะอ่อนข้อต่ออิทธิพลของจีน ทั้งกับดักหนี้ที่อาจเกิดขึ้นและการบีบบังคับในรูปแบบอื่น ๆ

“รัฐชุกอาจจะพบว่าประเทศจีนเป็นแหล่งเงินทุนใหม่ เพื่อทดแทนข้อตกลงระหว่างประเทศที่ถูกยกเลิกไป ในขณะที่รัฐบาลจีนก็อาจถือโอกาสสร้างพันธมิตรใหม่ในแปซิฟิก แน่นอนว่าจีนยังอาจมีส่วนรับผิดชอบต่อนโยบายกลาโหมและนโยบายต่างประเทศของรัฐชุก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการจัดตั้งกองทัพในหมู่เกาะ” นักวิเคราะห์จากกลุ่มวิจัยฟิทช์โซลูชั่นคาดการณ์ ตามรายงานของบริษัทออสเตรเลียน บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น

นอกเหนือจากการลงทุนโดยตรงแล้ว ความช่วยเหลือของจีนยังเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับรัฐชุกและประเทศอื่น ๆ บนเกาะแปซิฟิกในช่วงห้าปีที่ผ่านมา สแตรตฟอร์รายงานว่า จีนให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนา 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาท) ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 ถึง 2557 ซึ่งตรงกับความช่วยเหลือด้านการพัฒนาของจีนในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม เงินอยู่ในรูปของเงินกู้สัมปทานที่ต้องชำระคืนด้วยดอกเบี้ย และมักนำไปสู่การสูญเสียอำนาจอธิปไตย ออสเตรเลียให้ความช่วยเหลือแก่ภูมิภาคมากที่สุด

ความพยายามที่จะแทรกตัวเข้ามาในสหพันธรัฐไมโครนีเซียของจีนต้องกับพบข้อสงสัย เนื่องจากผลลัพธ์เชิงลบในการลงทุนของจีนและกับดักหนี้ในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ตั้งแต่จิบูตีไปจนถึงศรีลังกา

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลของแยป โดยนายเฮนรี่ ฟาแลน ได้ยกเลิกข้อตกลงกับบริษัทจีนในการสร้างโรงแรมขนาดประมาณ 100 ห้อง ราคา 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 769 ล้านบาท) ในโคโลเนีย เมืองหลวงของแยป นายฟาแลนได้รับเลือกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 โดยมีแนวนโยบายที่ให้คำมั่นว่าจะทบทวนแผนพัฒนาที่ได้รับเงินสนับสนุนจากจีนที่มีการโต้แย้ง ตามรายงานของเรดิโอนิวซีแลนด์ องค์กรอิสระด้านสื่อมัลติมีเดียสาธารณะของนิวซีแลนด์

เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 เรดิโอนิวซีแลนด์รายงานว่า “นักพัฒนาชาวจีนในสหพันธรัฐไมโครนีเซียกำลังเผชิญกับการต่อต้านที่เพิ่มขึ้นจากชุมชนท้องถิ่น โดยมีบริษัทแห่งหนึ่งเหยียดเชื้อชาติเนื่องจากความล้มเหลวที่เผชิญอยู่ที่นั่น”

นายทอม ทามังโมว์ ผู้จัดการสำนักงานผู้มาเยือนของแยป กล่าวกับเรดิโอนิวซีแลนด์ว่า คนท้องถิ่นไม่เลือกปฏิบัติต่อชาวจีน แต่พวกเขาต้องการอนุรักษ์วัฒนธรรมของแยป และหยุดการถูกครอบงำโดยอิทธิพลของนักท่องเที่ยวและต่างชาติ

“ชาวแยปมีชีวิตรอดมาเนิ่นนานหลายปี แม้พวกเขาจะมีสิ่งต่าง ๆ เพียงเล็กน้อย ผมคิดว่าชาวแยปยังคงสามารถดำเนินชีวิตต่อไปด้วยสิ่งเล็กน้อยที่พวกเขามี นับเป็นชนชาติที่ไม่ได้กระหายจะเป็นเศรษฐีชั่วข้ามคืน… จะมีประโยชน์อะไรถ้าคนเราได้รับทุกสิ่งทุกอย่างบนโลก แต่ต้องสูญเสียความภาคภูมิใจของตนเองไป?”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button