ติดอันดับ

ประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมุ่งหวังให้องค์การนาโตเป็นพันธมิตรพหุภาคีและต้นแบบความมั่นคง

ประเทศและกองทัพในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกกำลังมุ่งหวังให้นาโตและพันธมิตรพหุภาคีที่ก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้น ช่วยรักษาสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง รวมทั้งต่อต้านการรุกรานและการบีบบังคับในภูมิภาค

ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทำงานร่วมกับนาโตมากขึ้นเรื่อย ๆเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในภูมิภาค โดยองค์กรดังกล่าวเพิ่งครบรอบ 70 ปีไปเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2562เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2530-2529) ญี่ปุ่นได้เคลื่อนไหวเพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรกับองค์การความมั่นคงร่วมของแอตแลนติกเหนือโดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้จัดตั้งการเจรจาเชิงกลยุทธ์ ซึ่งมีการลงนามในปฏิญญาทางการเมืองกับนาโตเมื่อ พ.ศ. 2556 และข้อตกลงความเป็นพันธมิตรเมื่อ พ.ศ. 2557ญี่ปุ่นและนาโตร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่การป้องกันทางไซเบอร์และความมั่นคงทางทะเล การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ไปจนถึงการวิจัยด้านการป้องกันการเผยแพร่และด้านกลาโหม ตามรายงานของเว็บไซต์นาโต

ในทำนองเดียวกัน เกาหลีใต้มีส่วนร่วมในการเจรจาและความร่วมมือกับนาโตตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ทั้งสองฝ่ายเริ่มเป็นพันธมิตรเมื่อ พ.ศ. 2555 และได้รื้อฟื้นความสัมพันธ์ดังกล่าวอีกครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เช่นเดียวกัน ออสเตรเลียเริ่มให้ความร่วมมือกับนาโตเมื่อ พ.ศ. 2548 และเป็นพันธมิตรในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เว็บไซต์นาโตยังระบุว่านิวซีแลนด์และมองโกเลียได้ลงนามในข้อตกลงความเป็นพันธมิตรกับนาโตใน พ.ศ. 2555 อีกด้วย

พันธมิตรของนาโตและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และตองงามีส่วนร่วมในการส่งกำลังทหารไปยังปฏิบัติการกองกำลังช่วยเหลือความมั่นคงระหว่างประเทศของนาโตในอัฟกานิสถานตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ถึง 2557

ขณะนี้นักวิเคราะห์บางรายกำลังเรียกร้องให้มีการจัดตั้งสภานาโต-จีน เพื่อแก้ไขผลกระทบด้านความมั่นคงจากความทะนงตัวของสาธารณรัฐประชาชนจีนและรักษาความสงบเรียบร้อยตามกฎระเบียบในระดับนานาชาติ สภาดังกล่าวจะคล้ายคลึงกับสภานาโต-รัสเซียที่สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2545

“สภาดังกล่าวจะกระตุ้นพันธมิตรให้มีการแก้ไขอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับภัยคุกคามที่กำลังเพิ่มขึ้นของจีนที่มีต่อผลประโยชน์ของนาโตในยุโรป ในอาร์กติก และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” นายแบร์รี่ พาเวล และนายเอียน บอเจซินสกี แห่งศูนย์เบรนท์สโกวครอฟท์ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ณ สภาแอตแลนติก เขียนในบทความแสดงข้อคิดเห็นในเว็บไซต์ดีเฟนซ์วันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562″กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดของตะวันตกในการเข้าปะทะกับจีนและต่อต้านการรุกรานของจีนจะต้องใช้ความร่วมมือระหว่างทวีปแอตแลนติก ไม่เพียงแต่ในขอบเขตทางการเมืองและเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงขอบเขตทางการทหารด้วย ซึ่งไม่มีสถาบันใดที่จะส่งเสริมขอบเขตทางการทหารได้ดีไปกว่านาโตอีกแล้ว”

รอยเตอร์รายงานว่านายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโตกล่าวเมื่อต้นเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ว่านาโตจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงผลกระทบจากการขยายตัวของจีนในทั่วโลกที่อาจท้าทายองค์การนาโต

นายสโตลเทนเบิร์กกล่าวถึงการลงทุนที่เป็นที่ถกเถียงของจีนว่า “นี่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายนาโตเข้าสู่แปซิฟิก แต่เกี่ยวกับการตอบสนองต่อความจริงที่ว่าจีนกำลังเข้าใกล้เรามากขึ้น ในรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในยุโรป การมีบทบาทมากขึ้นในอาร์กติก และการมีบทบาทมากขึ้นในแอฟริกาและรวมถึงในโลกไซเบอร์ด้วย”

“ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องสำคัญสำหรับนาโตที่จะต้องจัดการกับการผงาดขึ้นของจีน และเราไม่เพียงแต่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรของเราในภูมิภาคนี้อย่างออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่ยังรวมถึงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ด้วย” นายสโตลเทนเบิร์กกล่าว

(ภาพ:นายสก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย (ขวา) พบกับนายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การนาโตที่ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562)

นาโตอาจเรียนรู้จากประเทศพันธมิตรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิกรวมถึง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน ถึงวิธีที่ดีที่สุดในการยับยั้งการขยายตัวของจีนซึ่งประเทศเหล่านั้นได้เผชิญในทะเลจีนใต้ จากการที่จีนใช้ความสัมพันธ์ทวิภาคีอย่างแพร่หลายเพื่อแบ่งแยกและพิชิตดินแดน เพื่อต่อต้านการรุกรานดังกล่าว สมาชิกอาเซียนได้เพิ่มข้อตกลงด้านกลาโหมและความมั่นคงในระดับทวิภาคีต่าง ๆ ซึ่งกันและกันรวมทั้งกับประเทศอื่น ๆ ในอินโดแปซิฟิก ทำให้การจัดการความมั่นคงระดับภูมิภาคแบบพหุภาคีในภูมิภาคแห่งนี้เข้าใกล้ความเป็นจริงไปทุกขณะ นักวิเคราะห์หลายคนคาดการณ์ว่าอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยบรูไน พม่า กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม จะกลายเป็นองค์กรความมั่นคงพหุภาคีอย่างเต็มตัวในที่สุด

ประเทศในอินโดแปซิฟิกอาจได้รับประโยชน์จากบทเรียนที่นาโตได้เรียนรู้ โดยนาโตก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 และตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “สองเสาหลักที่เท่าเทียมกัน นั่นคือผลประโยชน์ด้านความมั่นคงและค่านิยม” นายลูคัส ทราคิมาวิเซียส ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจของกระทรวงการต่างประเทศลิทัวเนียเขียนในบล็อกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ให้กับเว็บไซต์ของสภาแอตแลนติก

“ความเชื่อร่วมกันในเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยทำหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อเชื่อมโยงที่ยึดเหนี่ยวประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันและช่วยฝ่าฟันสถานการณ์ทั้งการปรับโครงสร้างทางภูมิยุทธศาสตร์และปัญหาทางการเมืองที่มาจากทั้งสองฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติก” นายทราคิมาวิเซียสเขียนเกี่ยวกับนาโต “พันธมิตรจะหยัดยืนขึ้นในสถานการณ์เหล่านั้น และด้วยการปรึกษาหารือกันอย่างอุตสาหะ ประเทศเหล่านั้นจะแก้ไขความขัดแย้งและเสริมสร้างความสัมพันธ์ของตนเองครั้งแล้วครั้งเล่า”

“ผู้นำรุ่นใหม่ในปัจจุบันต้องเห็นคุณค่าและเข้าใจข้อเท็จจริงที่ว่า นาโตประสบความสำเร็จในภารกิจที่ยิ่งใหญ่เหล่านี้มาเป็นเวลาหลายปี เพราะไม่เพียงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งเครื่องชี้ทางที่สำคัญสำหรับความท้าทายที่นาโตเผชิญอยู่ในปัจจุบัน”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button