ติดอันดับ

ประธานาธิบดีทรัมป์ต้อนรับนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ในการเชื่อมความสัมพันธ์ทางการค้าและความมั่นคงให้แน่นแฟ้น

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้การต้อนรับนายสก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 สำหรับการเดินทางเยือนสหรัฐฯ เป็นครั้งที่สองของคณะรัฐบาลออสเตรเลีย ส่งสัญญาณถึงความผูกพันใกล้ชิดระหว่างประเทศพันธมิตรทั้งสอง ขณะที่สหรัฐฯ ต่อสู้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและอิหร่าน

คาดการณ์ว่านายทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และนายมอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะหารือเกี่ยวกับความมั่นคงและการค้า เนื่องจากการคุกคามของจีนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ที่เป็นแหล่งพลังงาน ซึ่งสร้างความกังวลภายในภูมิภาคและสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองยังเผยแพร่แผนการซึ่งมุ่งเป้าที่การรับประกันการจัดหาแร่หายากบนพื้นโลก เนื่องจากมีความกังวลเพิ่มขึ้นว่าจีนซึ่งเป็นผู้แปรรูปและผลิตแร่รายใหญ่ที่สุดในโลกอาจยุติการจัดส่งสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีค่าเหล่านี้

หลายวันก่อนการมาเยือน สถานทูตออสเตรเลียในวอชิงตันติดป้ายประดับมีข้อความประกาศ “100 ปีแห่งสัมพันธภาพ” ระหว่างทั้งสองประเทศ ประธานาธิบดีทรัมป์ ให้การต้อนรับนายมอร์ริสันระหว่างที่เดินทางมาถึงบริเวณสนามหญ้าทางทิศใต้ของทำเนียบขาว ด้วยการยิงสลุต 19 นัดและการบรรเลงเพลงชาติของแต่ละประเทศจากวงนาวิกโยธินสหรัฐฯ (ภาพ: นายโดนัลทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (ซ้าย) และนายสก็อตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเดินตรวจพลระหว่างพิธีการมาถึงอย่างเป็นทางการบริเวณสนามหญ้าทางทิศใต้ที่ทำเนียบขาว ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2562)

“เหตุการณ์นี้นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญที่แสดงถึงสถานะความสัมพันธ์ในขณะนี้” นายแพทริก บูแคน นักวิจัยจากศูนย์ยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษากล่าว

ประธานาธิบดีทรัมป์ เริ่มต้นความสัมพันธ์อย่างราบรื่นกับนายมอร์ริสันเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยแสดงความยินดีกับชัยชนะในการเลือกตั้งที่น่าตกตะลึงทางทวิตเตอร์ ซึ่งระบุว่า “ไม่มีเพื่อนคนใดจะยอดเยี่ยม” เท่าสหรัฐอเมริกากับออสเตรเลีย

นอกจากนี้ ทั้งสองยังพบปะกันนอกรอบที่งานประชุมจี20 เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นการกระชับความสัมพันธ์อย่างมีไมตรี

เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ออสเตรเลียยังตกลงที่จะเข้าร่วมเป็นแนวร่วมป้องกันเรือบรรทุกน้ำมันและเรือบรรทุกสินค้า จากภัยคุกคามจากอิหร่านในช่องแคบเฮอร์มุซหลังจากมีการโจมตีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ กล่าวโทษรัฐบาลอิหร่าน

นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังสั่งห้ามบริษัท หัวเว่ยเทคโนโลยี จำกัด ของจีนซึ่งเป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์โทรคมนาคมชั้นนำจากเครือข่าย 5จี ของตนเองได้อย่างชะงัด สหรัฐอเมริกากล่าวว่าความสัมพันธ์ของหัวเว่ยกับจีน ทำให้อุปกรณ์เครือข่ายที่บริษัทจำหน่ายมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง

หน่วยข่าวกรองออสเตรเลียสรุปว่าจีนเป็นต้นเหตุของการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับรัฐสภาและพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุด 3 พรรคของออสเตรเลีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button