ติดอันดับ

ธนาคารกลางของอินเดียอาจใช้เครื่องมือพิเศษในการรับมือกับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา

ติดอันดับ | Apr 3, 2020: 

รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่ของรัฐสามคนกล่าวกับรอยเตอร์ว่า ธนาคารกลางของอินเดียกำลังพิจารณาใช้เครื่องมือการดำเนินนโยบายพิเศษเพื่อกระตุ้นการปล่อยสินเชื่อ ท่ามกลางความวิตกกังวลว่าการระบาดของไวรัสโคโรนาจะทำให้การฟื้นตัวของการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้

แหล่งข่าวสามแห่งที่ทราบข้อมูลดังกล่าวระบุว่า ธนาคารทุนสำรองอินเดียกำลังวางแผนที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเงินสดเข้าสู่ระบบผ่านการดำเนินงานเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวรอบที่สอง ทั้งนี้ ทั้งสามแหล่งข่าวไม่ขอเปิดเผยชื่อเพราะการหารือนั้นยังคงเป็นการหารือส่วนตัว (ภาพ: ตราประทับของธนาคารทุนสำรองอินเดียปรากฏอยู่บนประตูด้านนอกสำนักงานใหญ่ในมุมไบ)

ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อให้มีสภาพคล่องในการรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินซึ่งทรุดลงในขณะที่ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดไปทั่วกว่า 80 ประเทศ

โดยธนาคารกลางของสหรัฐฯ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงครึ่งเปอร์เซ็นต์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2563 ในการเคลื่อนไหวฉุกเฉิน

ซึ่งธนาคารกลางในออสเตรเลียรวมถึงมาเลเซียก็ลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นกัน และในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2563 ธนาคารญี่ปุ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้มีสภาพคล่องในการรักษาเสถียรภาพตลาดการเงินของประเทศ

หนึ่งในเจ้าหน้าที่กล่าวว่า ธนาคารทุนสำรองอินเดียอาจอัดฉีดเงินมากถึง 1 ล้านล้านรูปี (ประมาณ 4.29 แสนล้านบาท) ในการดำเนินงานเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวรอบใหม่ที่จะเริ่มต้นตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน

โดยมีการเสนอเงินทุนในอัตราร้อยละ 5.15 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ซึ่งถูกกว่าอัตราตลาดที่มีอยู่สำหรับเงินทุนสามปี และยังช่วยให้ธนาคารมีการระดมทุนที่ถูกลง ซึ่งสามารถส่งต่อไปถึงผู้บริโภคได้ โดยจะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ให้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและธนาคารทุนสำรองของอินเดียไม่ได้ตอบรับอีเมลที่ต้องการแสดงความคิดเห็นทันที

เจ้าหน้าที่อีกคนกล่าวว่า “การดำเนินงานเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่เรามีอยู่ และเห็นได้ชัดว่าได้รับการตอบรับอย่างดีมาก”

โดยการประกาศเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ระบุว่า ธนาคารกำลังดำเนินงานเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวด้วยเงิน 1 ล้านล้านรูปี (ประมาณ 4.29 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นการเสร็จสิ้นงวดที่วางแผนไว้ทั้งสี่งวด โดยงวดสุดท้ายคือวันที่ 9 มีนาคม

แหล่งข่าวอาวุโสซึ่งมีผู้ให้สินเชื่อที่ดำเนินการโดยรัฐกล่าวว่า “การดำเนินงานเพิ่มสภาพคล่องระยะยาวมีผลกระทบมากขึ้นในการลดต้นทุนสำหรับธนาคาร จึงสามารถกล่าวได้ว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างทันทีทันใดในตอนนี้”

โดยธนาคารกลางกล่าวว่า เมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ธนาคารกำลังติดตามการพัฒนาทั่วโลกและภายในประเทศอย่างใกล้ชิด และพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อรักษาความเชื่อมั่นของตลาดตลอดจนรักษาเสถียรภาพทางการเงินไว้

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button