วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแผนก

ความงดงามอัน ศักดิ์สิทธิ์

ดอกบัวอันบอบบางที่อุทยานแห่งชาติของไทยฟื้นตัวขึ้นมาใหม่หลังจากที่หายไปเป็น 10 ปี

เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษที่บึงแห่งนี้ของไทยได้เผยความลับอันน่าตระการตา นั่นก็คือดอกบัวสีชมพูที่บานสะพรั่งหลายหมื่นดอก

ทะเลแห่งสีสัน ณ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดแห่งนี้ ซึ่งอยู่ห่างจากรุงเทพมหานครไปทางใต้สามชั่วโมง เป็นความงดงามทางธรรมชาติที่น่าประทับใจที่คาดหวังว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้มีการแจ้งเตือนให้ระมัดระวังเรื่องความเปราะบางของสภาพแวดล้อม โดยเจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติได้ร้องขอให้ประชาชนงดเว้นการมาเยี่ยมชมจนกว่าบึงแห่งนี้จะมีความแข็งแรงสมบูรณ์พอที่จะรับนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามาได้

ดอกบัวเหล่านี้ซึ่งถือว่าเป็นดอกไม้ศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมไทย คือข่าวดีสำหรับชาวบ้านที่ถ่อเรือพานักท่องเที่ยวที่มาพร้อมกับกล้องถ่ายรูปเข้าชมดอกบัวที่ขึ้นบานเต็มบึงใหญ่

“อุทยานแห่งชาติกำลังอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูดอกบัว เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมแล้ว อุทยานจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชม” นายรุ่งโรจน์ อัศวกุลธารินท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดกล่าว

คำแนะนำของนายรุ่งโรจน์เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ อุทยานแห่งนี้ประกอบไปด้วยบึง แควและภูเขาหินปูนที่สูงตระหง่าน ซึ่งเป็นความหลากหลายทางสภาพภูมิศาสตร์ที่น่าทึ่ง แต่ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา อุทยานแห่งนี้ไม่มีดอกบัวให้เห็นเลย ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าเพราะเหตุใด เจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นผลรวมของภัยแล้ง มลพิษจากปุ๋ย และฟาร์มอาหารทะเลในบริเวณใกล้เคียง

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่พิทักษ์อุทยานแห่งชาติพยายามทำความสะอาดและจัดระเบียบอุทยาน และใน พ.ศ. 2560 ความพยายามดังกล่าวก็ให้ผลที่คุ้มค่า นั่นก็คือการกลับมาของบึงบัวสีชมพู

ประเทศไทยพยายามอย่างหนักที่จะสร้างสมดุลระหว่างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ให้ผลตอบแทนสูงและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีเพียงไม่กี่ประเทศที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างมาก ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 13.8 ล้านคนใน พ.ศ. 2549 เป็น 32.5 ล้านคนใน พ.ศ. 2559 ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวจีนมีส่วนที่ทำให้ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น

ผู้ที่คาดหวังว่าจะได้พบกับชายหาดที่เงียบสงบและงดงามตามธรรมชาติอย่างที่เห็นในแผ่นพับโฆษณาการท่องเที่ยวมักจะผิดหวังเมื่อเจอกับฝูงนักท่องเที่ยวที่ล้นหลาม ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 ได้มีการปิดอุทยานแห่งชาติ 61 แห่ง ซึ่งรวมถึงอุทยานทางทะเล 25 แห่งเพื่อไม่ให้นักเที่ยวเดินทางเข้าไปในหน้ามรสุม ซึ่งเป็นการปฏิบัติประจำปีเพื่อช่วยให้อุทยานฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม นักสิ่งแวดล้อมบางรายระบุว่า ระบบนิเวศที่เปราะบางที่สุดจำเป็นต้องปิดนานกว่านั้นหรือมีมาตรการในการควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้มงวดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button