ติดอันดับ

กองทัพเรืออินโดแปซิฟิกลงทุนในปฏิบัติการกู้ภัยเรือดำน้ำ

ขณะที่จำนวนเรือดำน้ำซึ่งเข้ามาอยู่ในท้องทะเลของภูมิภาคอินโดแปซิฟิกมีเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ จึงต้องมีระบบกู้ภัยเรือดำน้ำที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยเหลือลูกเรือที่ติดค้างและกู้เรือที่เสียหาย กองทัพเรือประจำภูมิภาคทราบถึงเรื่องดังกล่าวจึงได้เพิ่มระบบกู้ภัยเรือดำน้ำและเข้าร่วมการฝึกพหุภาคี

“มีการลงทุนอย่างมากจากประเทศในภูมิภาค เพื่อบรรลุขีดความสามารถของเรือดำน้ำใหม่ ๆ หรือเพื่อปรับปรุงกองเรือที่มีอยู่” นายเคลวิน หว่อง นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมของไอเอชเอสเจนส์ดีเฟนซ์ เขียนในเอกสารทางวิชาการล่าสุดของเขา ในหัวข้อ “อุบัติเหตุเรือดำน้ำในเอเชีย การเตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด” นายหว่องประเมินว่ามีการจัดซื้อเรือดำน้ำจำนวน 80 ถึง 100 ลำโดยกองทัพเรืออินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ปากีสถาน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเวียดนาม ในระหว่าง พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2561 “เมื่อกองเรือดำน้ำใหม่และการขยายตัวตามแผนที่วางไว้ของผู้ดำเนินการปัจจุบันในเอเชียเพิ่มจำนวนเรือดังกล่าว แนวโน้มความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุเรือดำน้ำในยามสงบก็จะเพิ่มขึ้น”

ระหว่าง พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2562 มีเหตุการณ์ 36 ครั้งที่เรือดำน้ำมีส่วนก่อให้เกิดอันตรายต่อเรือหรือชีวิตมนุษย์ ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยสมาคมวิศวกรความปลอดภัยแห่งอเมริกา ในจำนวนนี้มีเหตุการณ์ 10 ครั้งที่เกิดขึ้นในน่านน้ำอินโดแปซิฟิก ทำให้มีผู้เสียชีวิต 110 ราย และบาดเจ็บ 156 ราย เรือดำน้ำ 4 ลำที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาจากอินเดีย อีก 3 ลำมาจากรัสเซีย และประเทศออสเตรเลีย ส่วนจีนและสหรัฐฯ มีต่างเคยมีส่วนเกี่ยวข้องในอุบัติเหตุ 1 ครั้ง

“การกู้ภัยที่ประสบความสำเร็จน่าจะต้องพึ่งพาความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วจากกองกำลังกู้ภัยที่ใกล้ที่สุด ไม่ว่าประเทศใดจะเป็นเจ้าของระบบเหล่านั้นก็ตาม” นายหว่องกล่าวย้ำ “ด้วยเหตุนี้ จึงมีการจัดตั้งสถาบันต่าง ๆ ขึ้น เช่น สำนักงานประสานงานการหนีภัยและกู้ภัยเรือดำน้ำระหว่างประเทศ เพื่อประสานงานพยายามให้ความช่วยเหลือในระหว่างภัยพิบัติ”

ปัจจุบันอินเดีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ จีน และสหรัฐฯ ใช้ระบบกู้ภัยเรือดำน้ำโดยเฉพาะแล้ว ตามข้อมูลของสำนักงานประสานงานการหนีภัยและกู้ภัยเรือดำน้ำระหว่างประเทศ หนึ่งในระบบที่ก้าวหน้าที่สุดซึ่งสร้างโดยเจมส์ฟิชเชอร์ดีเฟนซ์ (ภาพ) มีความสามารถในการช่วยเหลือที่ความลึกเกือบ 700 เมตร และอินเดียและสิงคโปร์จัดซื้อไปเมื่อไม่นานนี้

การกู้ภัยเรือดำน้ำที่น่าทึ่งที่สุดในน่านน้ำแปซิฟิก เป็นปฏิบัติการแบบพหุภาคีที่จัดตั้งขึ้นอย่างรวดเร็วใน พ.ศ. 2548 เพื่อช่วยลูกเรือของเรือดำน้ำขนาดเล็กของรัสเซียที่เข้าไปพันกับสายเคเบิลขนาด 200 เมตรใต้ผิวน้ำ นอกชายฝั่งคาบสมุทรคัมชัตคาของรัสเซียที่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อตอบสนองต่อสัญญาณแจ้งเหตุร้ายจากรัสเซีย ราชนาวีแห่งสหราชอาณาจักรได้ส่งยานพาหนะควบคุมระยะไกลเข้าประจำการ ตามรายงานของกองส์เบิร์ก บริษัทสัญชาตินอร์เวย์ที่จัดหายานพาหนะดังกล่าว ในช่วงเวลา 6 ชั่วโมง ยานพาหนะควบคุมระยะไกลตัดผ่านสายเคเบิล ปลดปล่อยเรือดำน้ำที่ติดอยู่ และปล่อยให้เรือดำน้ำลอยขึ้นบนผิวน้ำได้ทันขณะที่ปริมาณออกซิเจนหมดลง

สำนักงานประสานงานการหนีภัยและกู้ภัยเรือดำน้ำระหว่างประเทศช่วยประสานงานการฝึกแปซิฟิกรีชที่จัดขึ้นทุก 3 ปีให้กับการฝึกช่วยเหลือเรือดำน้ำ ซึ่งเป็นการฝึกซ้ำครั้งที่ 8 ในวันที่ 4 ถึง 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ แผนการเรียกร้องให้มีการฝึกปัญหาที่บังคับการ รวมถึงกิจกรรมซ้อมระดมกำลังพลบนโต๊ะ การประชุมสัมมนาการทางการแพทย์สองวัน และ “โครงการต่อเนื่องที่ครอบคลุมระหว่างเรือดำน้ำและระบบกู้ภัยที่เข้าร่วม” สำนักงานประสานงานการหนีภัยและกู้ภัยเรือดำน้ำระหว่างประเทศรายงาน การฝึกแปซิฟิกรีชประจำ พ.ศ. 2549 ที่เกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพ โดยมีกองทัพเรือจากออสเตรเลีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เข้าร่วม

การประชุมด้านเรือดำน้ำเอเชียแปซิฟิกเป็นอีกหนึ่งงานระดับพหุภาคีที่มุ่งเน้นการกู้ภัยเรือดำน้ำ โดยจัดขึ้นซ้ำเป็นครั้งที่ 18 ในวันที่ 12 ถึง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ในเมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการนำเสนอยานกู้ภัยเรือดำน้ำโดยกองบัญชาการกู้ภัยใต้ทะเลของกองทัพเรือสหรัฐฯ

นายมันดีป สิงห์ เป็นผู้สื่อข่าวสมทบของ ฟอรัม รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button