สุขภาพและการแพทย์แผนก

องค์การอนามัยโลกจะสร้าง ทะเบียนการวิจัยทางพันธุกรรม

องค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ว่า จะจัดทำทะเบียนทั่วโลกเพื่อติดตามการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการพันธุกรรมของมนุษย์ คณะกรรมการองค์การอนามัยโลกยังเรียกร้องให้ระงับการทำงานทั้งหมดเกี่ยวกับการแก้ไขจีโนมของเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งนำมาใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนใน พ.ศ. 2561 เพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของทารกหญิงฝาแฝด

“เทคโนโลยีการแก้ไขจีโนมสร้างคำสัญญาและความหวังที่ยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่ประสบภัยจากโรคที่เราเคยคิดว่ารักษาไม่ได้” นายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยใหญ่การองค์การอนามัยโลก (ในภาพ) กล่าวกับคณะกรรมการกำกับดูแลการแก้ไขจีโนมของร่างกายในเจนีวา

“แต่การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้บางอย่างยังก่อให้เกิดความท้าทายที่เป็นเอกลักษณ์และไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นด้านจริยธรรม สังคม ระเบียบข้อบังคับ และเทคนิค” นายกีบรีเยซุสกล่าวเพิ่มเติม

นายเหอ เจี้ยนกุ้ย นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.

2561 ว่าตนได้ดัดแปลงดีเอ็นเอของเด็กหญิงฝาแฝดในทางตอนใต้ของจีน โดยใช้กรรไกรโมเลกุล ซึ่งโอ้อวดว่าเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กหญิงทั้งสองติดเชื้อเอชไอวี
จากนั้นนายเหอก็ถูกไล่ออกจากมหาวิทยาลัยที่สังกัดอยู่ ถูกตำรวจสอบสวน และถูกสั่งให้พักงาน

การประกาศของนายเหอกระตุ้นให้เกิดเสียงประณามในระดับโลกจากนักวิทยาศาสตร์ที่กล่าวว่า ขั้นตอนซึ่งยังไม่ผ่านการตรวจสอบเป็นเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณและอาจเป็นอันตราย และในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 องค์การอนามัยโลกก็ได้ตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้ ประมาณ 30 ประเทศมีกฎหมายห้ามการใช้งานทางคลินิกทั้งหมดในการแก้ไขเซลล์สืบพันธ์ุทั้งทางตรงและทางอ้อม

นายกีบรีเยซุสจากองค์การอนามัยโลกเน้นย้ำว่า ประเทศต่าง ๆ

ไม่ควรอนุญาตให้มีการแก้ไขจีโนมของเซลล์สืบพันธุ์มนุษย์เพิ่มเติมใด ๆ “จนกว่าจะได้รับการพิจารณาถึงผลกระทบทางเทคนิคและจริยธรรมอย่างถูกต้อง” องค์การอนามัยโลกกล่าวในแถลงการณ์

จากการยอมรับคำแนะนำของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ 18 คน องค์การอนามัยโลกได้ประกาศแผนสำหรับระยะเริ่มต้นของการลงทะเบียน เพื่อรวมทั้งการทดลองทางคลินิกทางเซลล์สืบพันธุ์และทางโซมาติก

การกลายพันธุ์แบบโซมาติกเกิดขึ้นในเซลล์ร่างกายเดี่ยวและไม่สามารถถ่ายทอดได้ ในขณะที่การกลายพันธุ์แต่กำเนิดสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ เอเจนซ์ ฟรานซ์-เพรส

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button