เรื่องเด่น

ความทะเยอทะยานในอาร์กติก

สาธารณรัฐ ประชาชนจีนกำลังเดิมพันการอ้าง สิทธิ์อันมิชอบต่อ ภูมิภาคขั้วโลก

น.อ. โจเซฟ เอ. มุสซาเชีย จูเนียร์ กองทัพอากาศสหรัฐฯ

ภูมิภาคอาร์กติกกลายเป็นพื้นสำคัญที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก การค้นหาเส้นทางที่สั้นกว่าจากแอตแลนติกไปยังเอเชีย เป็นความใฝ่ฝันและการแสวงหาอำนาจ ทางทะเลมาหลายศตวรรษ น้ำแข็งอาร์ติกที่ละลายลงเพิ่มความเป็นไปได้ในการ ประหยัดเวลาเดินเรือหลายวัน และหลายพันกิโลเมตรระหว่างกลุ่มการค้ารายใหญ่ น้ำ แข็งที่ลดลง ส่งผลให้ปริมาณการจรา จรทางทะเลในภูมิภาคแห่งนี้เพิ่มขึ้น และมีโอกาสจะเปิดเส้นทางข้ามอาร์กติกสอง เส้นทาง คือเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือ และเส้นทางเดินเรือทางตะวันตกเฉียง เหนือ การเพิ่มขึ้นของการขนส่งนี้มีโอกาส
สร้างความขัดแย้งที่เป็นไปได้ระหว่างประเทศต่าง ๆ

เส้นทางเดินเรือทางตะวันตกเฉียง เหนืออาจไม่มั่นคง ดังนั้น จึงไม่ใช่ตัว เลือกที่ใช้การได้สำหรับการขนส่งเชิงพาณิชย์ผ่านภูมิภาคอาร์กติก ซึ่งได้รับการนิยามว่าเป็นพื้นที่ภายในวงกลมอาร์กติก ประมาณเส้นละติจูดที่ 66.5 องศาเหนือของเส้นศูนย์สูตร ภูมิภาคอาร์กติกประกอบด้วยแอ่งมหาสมุทร อาร์กติกและส่วนเหนือของนอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ รัสเซีย แคนาดากรีนแลนด์และรัฐอะแลสกาของสหรัฐ อเมริกา เส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือน้ำแข็งน้อยกว่าเส้นทางเดินเรือทางตะวันตกเฉียงเหนือมาก และรัสเซียได้เดินเรือในน่านน้ำเหล่านี้มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473 – 2482) เส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือจะล่องไปตามชายฝั่งรัส เซีย ดังนั้น รัสเซียจึงอ้างว่า เส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือเป็นส่วนหนึ่งของน่าน น้ำในอาณาเขตของรัสเซีย รัสเซียนิยาม เส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือว่าเป็น “น่านน้ำสายประวัติศาสตร์” หรือน่านน้ำซึ่งรัฐได้ใช้อำนาจอธิปไตยในอดีต เมื่อ พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาส่งเรือสำรวจไปตามเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนืออันเป็นการกระทำที่ได้รับอนุญาตภายใต้กฎหมายทางทะเลซึ่งเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล และเรือสหรัฐฯ ถูกกองทัพเรือโซเวียตแล่นขวาง เส้นทางข้างหน้า ตามรายงานการวิเคราะห์ของวิทยาลัยการทัพอากาศสหรัฐฯ เมื่อ พ.ศ. 2555

จีนสร้างสถานีวิจัย (ภาพระหว่างการก่อสร้างใน พ.ศ. 2559) ในคาร์โฮล ประเทศไอซ์แลนด์ ในฐานะส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ การสร้างบทบาทในอาร์กติก ดิแอสโซซิเอทเต็ด เพรส

ภัยคุกคามดังกล่าวต่อสิ่งที่เรียกว่าประชาคมโลกเป็นข้อกังวลหลัก สำหรับหลายประเทศที่ไม่ใช่แค่ในเขตอาร์กติกเท่านั้น แต่กับทุก ประเทศที่ต้องการใช้สิทธิในการเดินเรือและดำเนินการในน่านน้ำสา กลซึ่งปราศจากการบีบบังคับ เมื่อ พ.ศ. 2559 ในเอกสารสภาพแวดล้อม การปฏิบัติการร่วม พ.ศ. 2578 เสนาธิการร่วมกองทัพบกสหรัฐฯ ระบุว่าประชาคมโลกที่เปิดกว้างและเข้าถึงได้เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศในปัจจุบัน และส่งเสริมอำนาจของรัฐซึ่งใช้น่านน้ำดังกล่าวในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ การขนส่ง การศึกษาทางวิทยา ศาสตร์ หรือการเฝ้าระวังทางทหาร และการรักษาบทบาทเอกสาร ฉบับนี้คาดการณ์ว่าใน พ.ศ.2578 ประเทศต่าง ๆ จะค้นพบว่ามีการ ท้าทายในส่วนต่าง ๆ ของประชาคมโลก เนื่องจากรัฐและผู้มีบทบาทที่ ไม่ใช่รัฐบางรายอ้างกฎและบรรทัดฐานของตนภายในน่านน้ำเหล่านั้น โดยเฉพาะบางรัฐที่คาดว่าจะเริ่มบังคับใช้การตีความพฤติกรรมที่ยอมรับได้ในพื้นที่ร่วมทางอากาศและทางทะเลของตนเอง โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในช่องแคบเชิงยุทธศาสตร์ทางทะเลที่อยู่ใกล้กัน เอกสารดังกล่าวระบุว่า น่าหวาดกลัวว่ารัฐเหล่านี้จะพยายามขยายอำนาจควบคุมทางการปกครองเหนือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ โดยเปลี่ยน เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจพิเศษของตน โดยมียุทโธปกรณ์เพื่อปราบปรามศัตรูทางทะเลที่มีศักยภาพและมีจำนวนมากรวมทั้งขีด ความสามารถด้านการรบเป็นกำลังหนุน

ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีน

ช่องแคบเบริงเป็นหนึ่งในแปดช่องแคบทางทะเลสากล ไม่ว่าเรือจะเดิน ทางผ่านเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือหรือเส้นทางเดินเรือทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทุกลำต้องแล่นผ่านจุดยุทธศาสตร์สำคัญนี้ (ดูที่ภาพแทรก: “น้ำแข็งที่ละลายเปลี่ยนแปลงโลก”)

เสรีภาพของการเดินเรือเป็นสิ่งสำคัญในการขนส่งเชิงพาณิชย์ การ ใช้ประโยชน์จากอาร์กติกที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางเดินเรือในทะเล เหนือในอนาคตอันใกล้ เป็นที่กังวลและเป็นที่สนใจจากหลายประเทศ เพราะอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่ง การจัดส่งสินค้าจากยุโรปไปยังเอเชียผ่านเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือเร็วกว่าการใช้ เส้นทางขนส่งเดิมถึงร้อยละ 40 ซึ่งสามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงได้มาก และช่วยให้สินค้าเข้าถึงตลาดได้โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งในสามจากปกติ

ผู้ส่งออกรายใหญ่ของเอเชียกำลังมุ่งเป้าไปที่ทางเหนือ แต่ไม่มีใครที่จะมีความตั้งใจแรงกล้าไปมากกว่าจีน จีนพึ่งพาการขนส่งระหว่าง ประเทศอย่างมากสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจ กว่าร้อยละ 46 ของ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขึ้นอยู่กันการส่งออก ตามรายงาน พ.ศ. 2555 ในวารสารอินเตอร์เนชั่นแนลแอฟแฟร์ เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และนักวิชาการหลายรายสงสัยว่า ผลประโยชน์ของจีนที่มีต่อ อาร์กติก คือการใช้อิทธิพลเพื่อเพิ่มอำนาจในภูมิภาค ผ่านความร่วมมือกับประเทศในอาร์กติกและการมีบทบาทในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งไม่เพียง มีผลประ โยชน์ในทางเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงด้านความมั่งคงด้วย

จีนได้ดำเนินการเชิงรุกเพื่อสร้างความสัมพันธ์เชิงยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ผ่านความพยายามเชิงพาณิชย์ในการยกระดับผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และยังสร้างการมีบทบาทในภูมิภาคดังที่คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านความมั่นคงระหว่างประเทศระบุไว้ใน “รายงานเกี่ยวกับนโยบายอาร์กติก” พ. ศ. 2559 ประเทศที่จีนประสบ ความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ด้วยมากที่สุดคือไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็น สมาชิกองค์การนาโตและสหภาพยุโรป จีนมีบทบาททางการทูต อย่างมากในไอซ์แลนด์และมีสถานเอกอัครราชทูตที่ใหญ่ที่สุดในเมือง หลวงเรคยาวิก บทบาทนี้ช่วยให้จีนทำข้อตกลงการค้าเสรีกับไอซ์แลนด์ ซึ่งเป็นครั้งแรกระหว่างจีนกับประเทศในยุโรป ตามรายงาน พ.ศ. 2558 ใน โพลาร์เรคคอร์ด ซึ่งเป็นวารสารวิชาการแบบพิชญพิจารณ์

เรือตรวจการณ์ ดักลาส มันโร ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ แล่นผ่านธารน้ำแข็งในอุทยานแห่งชาติเกลเซียร์เบย์ รัฐอะแลสกา
จ.ท. เทรนตัน เฮอร์ชี/หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ

ในช่วงทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) จีนเริ่มดำเนินการวิจัยอาร์กติก ใน พ.ศ. 2547 จีนจัดตั้งสถานีวิจัยถาวรที่นีย์อเลซุนใน หมู่เกาะสวาลบาร์ดของนอร์เวย์ จีนพยายามรักษาฐานที่มั่นนี้ให้มั่นคงโดยเสนอให้มหาเศรษฐีจีนซื้อที่ดิน 218 ตารางกิโลเมตรในสวาลบาร์ดรัฐบาลนอร์เวย์มองว่านี่เป็นการเคลื่อนไหวเชิงยุทธศาสตร์ของจีนและหยุดการดำเนินการนี้โดยการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อเข้าควบคุมการพัฒนาในพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งนี้อย่างเต็มที่ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ เดอะบาเรนท์ ออปเซอเวอร์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559

จีนเสนอตัวเป็นสมาชิกถาวรของสภาอาร์กติกและอ้างว่าตนเป็น “รัฐใกล้อาร์กติก” เมื่อประมาณ พ.ศ. 2536 จีนได้ซื้อเรือฝ่าน้ำแข็งเสวี่ยหลง ซึ่งทำให้จีนมีความสามารถในการปฏิบัติการในอาร์กติกสูง และใน พ.ศ. 2559 จีนได้สร้างและเปิดตัวห่ายปิง 722 เรือฝ่าน้ำแข็งลำที่สองที่มีขีดความสามารถให้เฮลิคอปเตอร์ลงจอดได้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 จีนเปิดตัวเรือฝ่าน้ำแข็งเสวี่ยหลง 2 ลำแรกที่ต่อขึ้นในประเทศในอู่ต่อเรือที่เซี่ยงไฮ้ ในขณะเดียวกัน จีนได้มอบหมายให้ห่ายปิง 722 ประจำการที่กองเรือเหนือของกองทัพเรือจีนด้วย ตามรายงานของนิตยสาร ป็อปปูลาร์แมคคานิกส์ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนที่ระบุไว้ในสมุดปกขาวของกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 ในการเปลี่ยน จากการป้องกันชายฝั่งเป็นการป้องกันโพ้นทะเล ใน พ.ศ. 2553 พลเรือตรีชาวจีนนายหนึ่งกล่าวว่า “ด้วยผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ของประเทศที่ขยายตัวขึ้น กองทัพเรือจึงต้องการปกป้องเส้นทางการ คมนาคมของประเทศและความปลอดภัยของเส้นทางเดินเรือทางทะเลที่สำคัญของเราให้ดียิ่งขึ้น” จากรายงานในฤดูใบไม้ผลิ พ.ศ. 2556 ใน นาวัลวอร์คอลเลจรีวิว ยุทธศาสตร์อาร์กติกของจีนเน้นความร่วมมือ มากกว่าการเผชิญหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการตอบโต้จากรัฐชายฝั่ง อาร์กติก อย่างไรก็ตาม ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 พล.ร.ต. หยิ่น จัว ชาวจีนประกาศว่า “อาร์กติกเป็นของผู้คนทั่วโลก และไม่มีประเทศใดมี อำนาจอธิปไตยเหนืออาร์กติก” นี่เป็นการบอกใบ้ให้ประเทศชายฝั่งอาร์กติกรู้ว่า ไม่ควรพยายามที่จะปิดกั้นเส้นทางทางทะเลของอาร์กติกไว้

ความทะเยอทะยานของจีน

ใน พ.ศ. 2558 กองทัพจีนปรากฏตัวขึ้นในอาร์กติก จีนได้แล่นเรือของ กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนจำนวนห้าลำในทะเลเบริงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และในระหว่างการเยือนอะแลสกา ของนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนก่อนหน้า โดย
เรือดังกล่าวเข้าสู่น่านน้ำอาณาเขตของสหรัฐฯ นอกชายฝั่งอะแลสกา เข้ามาในระยะ 12 ไมล์ทะเลจากแนวชายฝั่ง เรือของจีนทำการลาดตระเวนด้วยเสรีภาพในการเดินเรือตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลสำหรับการเดินเรือผ่านโดยสุจริตใจ ซึ่งไม่จำเป็นต้องแจ้งเตือนและ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนก็ไม่ ได้แจ้งเตือนให้รัฐชายฝั่งทราบ ตามรายงานของซีเอ็นเอ็น

ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนต่อสหรัฐฯ และประเทศชายฝั่งอาร์กติกทุกประเทศว่า จีนสามารถและจะจัดตั้งกองทัพเพื่อปกป้องเส้น ทางทางทะเลอาร์กติกและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของจีน เรือ ของจีนอยู่ในบริเวณช่องแคบเบริง ซึ่งเป็นช่องทางที่ทำให้จีนและ ประเทศเอเชียอื่น ๆ ทั้งหมดเข้าถึงอาร์กติก จุดบังคับทางทะเลนี้เป็นจุดบรรจบของเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือและเส้นทางเดินเรือทาง ตะวันตกเฉียงเหนือ และเป็นจุดผ่านที่เรือขนส่งพลังงานและการค้าทั้งหมดต้องผ่านเพื่อไปยังอาร์กติก การปรากฏบทบาทของจีนแสดงให้เห็นว่าจีนมีความสามารถในการเข้าถึงทางทะเลเพื่อปกป้องพื้นที่ดัง กล่าว ด้วยกองทัพ

สหรัฐฯ ไม่มีบทบาททางทหารที่สำคัญภายในหรือรอบช่องแคบเบริง นอกจากนี้ พล.ร.อ. พอล เอฟ. ซูคุนฟต์ผู้บัญชาการ หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ กล่าวว่าจีนวางตำแหน่งเรือวิจัยด้านนอกขีด จำกัดทางทะเล 200 ไมล์จากเขตเศรษฐกิจพิเศษของสหรัฐฯ ในพื้นที่ที่อาจอ้างว่าเป็นขีดจำกัดของแนวไหล่ทวีปของทวีป ตามที่ พล.ร.อ. ซูคุนฟต์ระบุ จากการลาดตระเวนตามเสรีภาพในการเดินเรือในอะแลสกา แสดงให้เห็นว่าจีนมีจุดยืนที่ได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ในการ สร้างความกดดันให้กับสหรัฐฯ ในกรณีที่เกิดการเผชิญหน้าจีนอาจทำการเคลื่อนไหวในเชิงยุทธศาสตร์บริเวณช่องแคบเบริง หรือที่บางคนในตอนนี้เรียกว่า “ประตูเบริง”

การใช้อำนาจรุกไปยังเป้าหมาย

เป็นครั้งแรกที่จีนเข้าร่วมในการฝึกซ้อมภายใต้รหัสวอสตอค พ.ศ. 2561 ของรัสเซีย ซึ่งมีบุคลากรเกือบ 300,000 คนของรัสเซียเข้าร่วม จีนส่งกำลังพล 3,200 นาย ยานพาหนะและอุปกรณ์ทางทหาร 1,000 ชิ้น ตลอดจนอากาศยานปีกตรึงและปีกหมุน 30 ลำเข้าร่วม การฝึกครั้งนี้มีการขนส่งเรือของกองทัพเรือรัสเซียผ่านช่องแคบ เบริง และได้รับการออกแบบมาเพื่อฝึกปฏิบัติการป้องกันดินแดนทางตะวันออกของรัสเซียและเส้นทางเดินเรือในทะเลเหนือ จีนต้องการแสดงให้เห็นว่าตนสามารถต่อสู้ในสงครามภาคพื้นดิน และเป็นการ
ส่งข้อความที่ชัดเจนถึงคู่แข่งและภูมิภาคนี้ว่ากองทัพของ จีนสามารถปฏิบัติการในดินแดนที่ไม่คุ้นเคยได้อย่างไม่ยากเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอาร์กติก

ยานยกพลขึ้นบกเบาะอากาศของกองทัพเรือสหรัฐฯ ขึ้นฝั่งในอัลวุนด์ ประเทศนอร์เวย์ ในระหว่างการฝึกซ้อมไทรเดนต์จังเชอร์ พ.ศ. 2561 กองบัญชาการกองทัพร่วมพันธมิตรเนเปิลส์

พล.ร.ต. สตีฟ “เว็บ” โคห์เลอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ กองบัญชาการสหรัฐฯ ประจำภาคพื้นอินโดแปซิฟิกระบุว่าหากจะแข่งขันเพื่ออิทธิพล ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะต้องมีบทบาท องค์ ประกอบสำคัญที่สหรัฐฯ ขาดไปในภูมิภาคอาร์กติกคื บทบาทดังที่ แสดงให้เห็นไปก่อนหน้านี้ มีประเทศชายฝั่งอาร์กติกอื่น ๆ และแม้ กระทั่งประเทศที่ไม่ใช่ประเทศชายฝั่งอาร์กติกอย่างจีนมีบทบาทมั่นคงอยู่แล้ว

แม้ว่าสหรัฐฯ ไม่มียุทโธปกรณ์ถาวรอยู่เหนือวงกลมอาร์กติกแต่หน่วยทหารของกองทัพอากาศและกองทัพบกสหรัฐฯ ที่อยู่ใน อะแลสกาก็เพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการในอาร์กติก นอกจากนี้ หน่วยนาวิกโยธินสหรัฐฯ ยังคงฝึกฝนขีดความสามารถเกี่ยวกับอาร์กติกในการฝึกร่วมกัน เช่น ไทรเดนต์จังเชอร์ของนาโต อาคารของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ที่อยู่ใกล้มหาสมุทรอาร์กติกที่สุดอยู่ในเมืองโคดิแอค รัฐอะแลสกา กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯระบุในยุทธศาสตร์ อาร์กติก พ.ศ. 2556 ว่าจะ “แสวงหาแนวทางใหม่ที่ต้นทุนต่ำและสร้างผล กระทบต่อโลกน้อย เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในอาร์กติก”

กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้เขียนไว้ในแผนงานอาร์กติกประจำ พ.ศ. 2557 ว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ จะลงทุนตามเป้าหมายในขีดความสามารถเกี่ยวกับอาร์กติกเพื่อป้องกันความไม่แน่นอนและปกป้องผลประโยชน์ของ ประเทศที่ยั่งยืน ในยุทธศาสตร์อาร์กติก พ.ศ. 2556 หน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ ระบุว่าสหรัฐฯ ต้องคิดและปฏิบัติตามยุทธ ศาสตร์ในภูมิภาคนี้ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของช่องแคบเบริง การขาดความตระหนักถึง ขอบเขตทางทะเลในภูมิภาคนี้ของสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ความจำเป็นที่จะต้องมีบทบาทเบื้องหน้าเพื่อปกป้องอาณาเขตและทรัพยากรของสหรัฐฯ และเพื่อปกป้องเสรีภาพในการเดินเรือ ยุทธศาสตร์นี้ยืนยันว่าการมีบทบาทบนฝั่งและในทะเลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้กระทรวงกลาโหมทุ่ม ทรัพยากรของสหรัฐฯ ไปที่ความเสี่ยงและภัยคุกคามสูงสุดในภูมิภาค ปัจจุบัน บทบาทนี้ยังคงไม่เพียงพอเนื่องด้วยท่าเรือน้ำลึกที่อยู่ใกล้ที่สุด และสถานีหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ อยู่ห่างออกไปประมาณ 1,600 กิโลเมตร ยุทธศาสตร์นี้เน้นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการแก้ปัญหาร่วม ทั้งภาครัฐเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานและขจัดความซ้ำซ้อน

โครงการท่าเรือสหรัฐฯ

การแก้ปัญหาที่ได้รับการพิจารณาว่าจะต่อต้านความทะเยอทะยาน ของจีนในอาร์กติกคือการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในอาร์กติก ซึ่งจะตอบสนองต่อความตั้งใจในยุทธศาสตร์อาร์กติกทั้งหมดที่กล่าวมาก่อน หน้านี้ สร้างการมีบทบาท และทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญที่สามารถ ใช้ร่วมกับพันธมิตรในอินโดแปซิฟิก เพื่อให้มีบทบาทในช่องบังคับทางทะเลสากลที่มีความสำคัญนี้ กองทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ ได้ศึกษาแนวคิดในการสร้างท่าเรือน้ำลึกนี้ เรือตรวจการณ์และเรือฝ่าน้ำแข็งของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ มีความยาว 10 ถึง 12 เมตร และเรือวิจัยขององค์การบริหารสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติมีความ ยาว 4.5 ถึง 9.5 เมตร ด้วยเหตุนี้ เรือประเภทนี้จึงประจำการอยู่นอกอาร์กติก เมืองโนมในอะแลสกาเป็นผู้ท้าชิงรายใหญ่ในการวิจัยของกองทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ และถือเป็นหนึ่งในสองเมืองที่เหมาะ กับการสร้างท่าเรือที่สุด

การศึกษาของกองทหารช่างกองทัพบกสหรัฐฯ สรุปได้ว่าท่าเรือประ เภทนี้สามารถใช้เป็นฐานปฏิบัติการและเหมาะสมที่สุดเนื่องด้วยอยู่ ใกล้กับช่องแคบเบริง ในฐานะสถานที่ปฏิบัติการแนวหน้า อาจมีการนำกำลังยุทโธปกรณ์ไปใช้เมื่อกองทัพเรือสหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ ต้องการ ท่าเรือดังกล่าวอาจกลายเป็นฐานทัพถาวรสำหรับเรือฝ่าน้ำ แข็ง ของหน่วยยามฝั่งสหรัฐฯ เมืองโนมยังมีสนามบินที่เหมาะสมที่สา มารถปรับปรุงเพื่อรองรับปฏิบัติการส่งกำลังมายังแนวหน้าของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และอากาศยานพันธมิตร

ซึ่งอาจต่อต้านความทะเยอทะยานและบทบาทของจีนด้วยความพยายามร่วมกันของสหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก หากจีนลงมือ ตามคำกล่าวของ พล.ร.อ. ฟิลิป เอส. เดวิดสัน แห่งกองบัญชาการสหรัฐฯ ภาคพื้นอินโดแปซิฟิก การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนี้จะช่วยให้สหรัฐฯ พันธมิตร และประเทศแนวร่วมสามารถ “เอาชนะได้โดยไม่ต้องสู้”

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button