เรื่องเด่น

การผลิต ที่ปนเปื้อน

จีนไม่สามารถปกป้องพลเมืองจากอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพที่ปนเปื้อน ซึ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล

เจ้าหน้าที่ ฟอรัม

สาธารณรัฐประชาชนจีนเปิดเผยว่าในช่วงต้นของเทศกาล ตรุษจีน พ.ศ. 2562 มีการแจกจ่ายผลิตภัณฑ์เลือดที่ปน เปื้อนเชื้อเอชไอวีแก่ประชาชน มีการจำหน่ายและแจกจ่าย กลุ่มยาอิมมูโนโกลบูลินจากหลอดเลือดดำของมนุษย์ที่มีการปนเปื้อนซึ่งส่วนใหญ่ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ในจังหวัดทางตะวันออกของมณฑลเจียงซี โดยบริษัทเซียงไฮ้ซินซิง ผู้จัดหาผลิตภัณฑ์เลือดเพื่อการแพทย์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน ซึ่งกำกับดูแลโดยบริษัทแม่ที่ดำเนินงานโดยรัฐ

“กลุ่มยาที่ไม่สมบูรณ์ประกอบด้วยขวดพลาสมาขนาด 50 มิลลิลิตร จำนวน 12,229 ขวดซึ่งจะหมดอายุในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563” ตาม รายงานที่ได้รับการเปิดเผยในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ เจ้า หน้าที่สืบสวนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนสั่ง
ห้ามการผลิตและสั่งเรียกคืนผลิตภัณฑ์เลือด แม้ว่าหน่วยงานกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานเดียวกับที่ทำการประกาศในตอนแรก ออกมาประกาศผลการทดสอบภายหลังว่า เอชไอวีซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์ และไวรัสตับอักเสบชนิดต่าง ๆมีผลเป็นลบ

รายงานที่ขัดแย้งกันนี้ยิ่งกระตุ้นความกังวลของผู้ป่วยและผู้บริโภค ชาวจีนเกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารและอุปกรณ์การแพทย์ใน ประเทศของตนยิ่งขึ้น “การเก็บกวาดย่อมรวดเร็วเสมอ อีกไม่นานคนเหล่านั้นจะบอกว่าการฉีดผลิตภัณฑ์นี้ดีต่อสุขภาพ” นายฉุย หย่งหยวน พิธีกรและผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จีนเขียนในเว็บไซต์ไมโครบล็อก ซีนา เว่ยป๋อ โดยแสดงความเห็นเกี่ยวกับการรายงานผลการสอบสวนเบื้องต้น ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ “นมผงปนเปื้อน ไม่ใช่ปัญหา วัคซีนปนเปื้อน ไม่ใช่ปัญหา การฉีดวัคซีนปนเปื้อน ไม่ใช่ปัญหา” นายฉุยกล่าวเสริม โดยอ้างอิงถึงภาวะความย่ำแย่ด้านสุขภาพในประเทศจีนช่วงสิบปีที่ผ่านมาหรือราว ๆ นั้น “สรุปสั้น ๆ คือ ถ้ามีคนตายเพียงไม่กี่คนก็ไม่ใช่ปัญหา”

พลเมืองที่โกรธแค้น

จีนยังคงเผชิญกับข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และ การผลิตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะให้คำมั่นสัญญาอีกครั้งว่าจะปฏิรูป ความหวาดระแวงต่อพลาสมาที่มีการปนเปื้อนเป็นเพียงหนึ่งในเหตุการณ์ล่าสุด ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับวัคซีนจำนวนมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้เด็กเล็กและครอบครัวของเด็กตกอยู่ในอันตราย และยังทำให้ประชากรทั้งหมดมีความเสี่ยงต่อโอกาสการเกิดการระบาดของโรค

เด็กได้รับการฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลในเมืองหวยเป่ย มณฑลอานฮุยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 หลังจาก
กรณีวัคซีนปลอมสร้างความหวาดกลัวต่อสาธารณชนเกี่ยวกับความปลอดภัยของยา เอเอฟพี/เก็ตตี้อิมเมจ

รัฐบาลเปิดเผยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ว่าเด็กชาวจีนกว่า 145 คนในมณฑลเจียงซูได้รับวัคซีนโปลิโอที่หมดอายุจากศูนย์สุขภาพท้องถิ่น ซึ่งจุดชนวนให้ผู้ปกครองที่ไม่พอใจนับพันคนออกมาประท้วงที่ด้านนอกศูนย์สุขภาพท้องถิ่นและสำนักงานรัฐบาล การเปิดเผยดังกล่าวเกิดขึ้นเพียงหกเดือนหลังจากมีการเผยถึงข่าวอื้อฉาวครั้งใหญ่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 เกี่ยวกับการที่บริษัทฉางชุน ฉางเซิง ไลฟ์ ไซเอนส์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฉางเซิง ไบโอเทคโนโลยี หนึ่งในผู้ผลิตวัคซีนราย ใหญ่ที่สุดของประเทศที่ดำเนินการโดยภาครัฐ ได้ผลิตและจำหน่าย วัคซีนสำหรับโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยักที่ด้อยประสิทธิภาพ มากกว่า 250,000 รายการ มีการฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับทารกนับพันคนภายใต้โครงการของจีนในมณฑลซานตงเมื่อ พ.ศ. 2560 นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่สืบสวนยังพบว่าบริษัทฉางชุน ฉางเซิง ไลฟ์ ไซเอนส์ ปลอมแปลงบันทึกการผลิตวัคซีนพิษ สุนัขบ้ามากกว่า 100,000 รายการ และบิดเบือนข้อมูลวัคซีนที่รายงานเป็นเวลามากกว่าสี่ปี ตามรายงานของเซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์

นางโม่ หลี่ หญิงวัยปลาย 20 เป็นผู้ปกครองของเด็กที่อาจได้รับวัค ซีนโรคบาดทะยักคุณภาพต่ำ “ฉันนึกถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่บริษัทวัคซีนไปจนถึงหน่วยงานกำกับดูแล คนในบริษัทนั้นไม่อาจเรียก ว่าเป็นมนุษย์ได้ด้วยซ้ำ พวกเขาเป็นปีศาจจากนรก” นางโม่กล่าวกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 หลังจากที่มีข่าวอื้อฉาวเกิดขึ้น

ผู้ปกครองที่โกรธแค้นอย่างนางโม่ได้ออกมาประท้วงหน้าสำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 โดย เรียกร้องให้มีการกำกับดูแลอุตสาหกรรมยาของจีนให้ดีขึ้น ผู้ตรวจสอบพบวัคซีนที่ด้อยประสิทธิภาพใน พ.ศ. 2560 แต่ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลจนกระทั่งเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561

“ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข” นางเฮ่อ ฟางเหม่ย แม่ของเด็กหญิงอายุ 2 ปีกล่าวกับ เดอะนิวยอร์กไทมส์ หลังจากการประท้วงในเดือนกรกฎาคม “ความกังวลของเราไม่ได้รับการแก้ไข”

พลเมืองจีนที่ได้รับการจัดอันดับและเก็บข้อมูลซึ่งไม่ใช่สมาชิกของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีสิทธิพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เริ่ม ไม่พอใจมากขึ้นกับข้อบกพร่องของจีนในการปกป้องสุขภาพของประชาชน แม้จีนจะอ้างว่าได้จัดตั้งระบบการกำกับดูแลระดับโลกขึ้น แต่หน่วย งานของจีนกลับล้มเหลวในการป้องกันการวิจัย การผลิต การจัดจำหน่าย และการบริหารจัดการวัคซีนรวมทั้งเภสัชภัณฑ์อื่น ๆ

ความไม่พึงพอใจของผู้ปกครองชาวจีนต่อคำสัญญาที่ไม่เป็นจริง ของจีน ดูเหมือนจะมีเหตุผลอย่างยิ่ง ไม่นานหลังจากเรื่องอื้อฉาวของบริษัทฉางซิงหน่วยงานกำกับดูแลเปิดเผยว่าสถาบันผลิตภัณฑ์ชีวภาพอู่ฮั่นของรัฐยังจำหน่ายวัคซีนที่ไม่มีประสิทธิภาพเช่นกัน ในเดือนพฤษภาคม 2561บริษัทดังกล่าวได้เริ่มเรียกคืนวัคซีนจำนวน 400,000 รายการและได้รับคำสั่งให้จ่ายค่าปรับที่ไม่เปิดเผยจำนวน ตามรายงานเว็บไซต์ Bloomberg.com ก่อนที่เหตุการณ์ล่าสุดจะบานปลาย จนได้เปิดเผยใน พ.ศ.2559 ว่าวัคซีนอันตรายหลายล้านรายการซึ่งมีมูลค่าประมาณ 90 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(ประมาณ 2.7 พันล้านบาท) ได้รับการจัดสรรให้กับเด็กชาวจีนทั่วประเทศ จากรายงานของเรดิโอฟรีเอเซียระบุว่า ในพ.ศ. 2558 วัคซีนที่หมดอายุทำให้มีเด็กเสียชีวิต 2 ราย และในเด็กเกือบ 400 คนในมณฑลเหอหนานมีปัญหาสุขภาพที่รุนแรง หนังสือพิมพ์ ไซน่าอโคโนมิคไทม์ เปิดเผยว่าในพ.ศ. 2553 วัคซีนที่ไม่ได้แช่เย็นทำให้ เด็กสี่คนในมณฑลชานซีและล้มป่วยอีก 70 คน ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของวัคซีนนี้มีเป็นเวลาเวลานานและ“ทุกคนที่อยู่ในวงในรู้” ผู้อำนวยการของศูนย์ควบคุมโรคของจีนสำหรับประชาชนกว่าครึ่งล้านคนกล่าวกับ เซาท์ไซน่ามอร์นิ่งโพสต์

การปฏิรูปที่ล้มเหลว

จีนได้จัดตั้งองค์การอาหารและยาจีนขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่ข่าวอื้อฉาวก็ยังคงมีออกมา เรื่อย ๆ หลังจาก ข่าวอื้อฉาวของวัคซีนแต่ละครั้ง หน่วยงานกำกับดูแลไม่ได้แจ้งให้สาธารณชนทราบอย่างทันท่วงทีและไม่ได้ลงโทษบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ของตนมากนัก และหลังจากวิกฤตแต่ละครั้ง จีนได้ใช้มาตรการเพื่อปรับปรุง ความปลอดภัยของอาหารและยา แต่ข่าวอื้อฉาวยังคงดำเนินต่อไปจนถึง พ.ศ. 2562 จีนประกาศ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ว่าจะจัดระเบียบองค์การอาหารและยา จีนใหม่ให้เป็นองค์การยาจีน ซึ่งจะมีการกำกับดูแลโดยองค์การบริหาร ของรัฐเพื่อการกำกับดูแลตลาด ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามล่าสุดใน การปฏิรูป ในขณะเดียวกัน หน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมอาหารจะ เปลี่ยนไปเป็นของหน่วยงานอื่น

ผู้ที่สูญเสียลูกของตนไปจากการดื่มนมปนเปื้อนถือป้ายที่มีข้อความว่า “เอาลูกของฉันคืนมา ขอเรียกร้อง ความเป็นธรรมทางตุลาการ” นอกศาลในมณฑลเหอเป่ยเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552
ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับนมพิษของจีนเรียกร้องการเอาผิด ค่าชดเชย และคำตอบขณะที่รอการตัดสินของผู้บริหารบริษัทที่รับผิดชอบต่อการเสียชีวิตดังกล่าว รอยเตอร์

จีนตอบสนองอย่างชัดเจนต่อการประท้วงและความวุ่นวายของประชาชน โดยเรียกเก็บค่าปรับ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.9 หมื่นล้านบาท) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2561 จากบริษัทฉางเซิง ไลฟ์ ไซเอนส์ และห้ามผู้บริหาร 15 คน รวมถึงประธานบริษัทไม่ให้ทำงานในอุตสาหกรรมยา ตามรายงานของรอยเตอร์ นอกจากนี้ยังปรับบริษัทฉางเซิง ไบโอเทคโนโลยี อีกประมาณ 89,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.7 ล้านบาท) บริษัทแม่แห่งนี้วางแผนจ่ายเงินชดเชยผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากวัคซีนประมาณ 29,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 880,000 บาท) ถึง 96,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.9 ล้านบาท) ตามรายงานของรอยเตอร์ นอกจากนี้ จีนยังร่างกฎหมายที่จะช่วยให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องผู้ผลิตยาเพื่อให้ได้ รับค่าเสียหายเชิงลงโทษ หากวัคซีนที่ด้อยประสิทธิภาพก่อให้เกิดการ เจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต แต่กว่ากฎหมายดังกล่าวจะบังคับใช้ ครอบครัวของผู้ประสบภัยก็หันไปพึ่งพาใครมากไม่ได้แล้ว

ในอดีต ผู้ปกครองที่ประท้วงผู้ผลิตวัคซีน ได้รับการปฏิบัติที่รุนแรง กว่าผู้บริหารและบริษัทที่กระทำผิด ซึ่งยังคงดำเนินการผลิตต่อหลัง จากกล่าว ขอโทษต่อสาธารณะหรือจ่ายค่าปรับที่ค่อนข้างน้อยโดยเฉลี่ย เพียง1.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 424 ล้านบาท) ตาม การวิเคราะห์ของเดอะนิวยอร์กไทมส์ เดอะการ์เดียนรายงานว่า เดิมทีบริษัทฉางเซิงถูกปรับเพียง 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 15 ล้านบาท) สำหรับวัคซีนที่ด้อยประสิทธิภาพ จนกระทั่งมีการร้องเรียนผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์วีแชทที่เปิดเผยรายละเอียดต่อสาธารณชน แต่ถูกลบออกไปในวันต่อมา หนังสือพิมพ์ดังกล่าวยังรายงานอีกว่าจีนปิด ปากหรือกักตัวผู้ปกครองที่ประท้วงด้วย แต่กระนั้น จีนก็ไม่สามารถต่อต้านการประท้วงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์และที่อื่น ๆ ต่อการจัดการด้านสา ธารณสุขของรัฐบาลในปีที่ผ่านมา และปัญหาในระบบก็ยังคงมีอยู่ ตามที่ผู้ เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมและสาธารณสุขกล่าวในรายงานของสื่อต่าง ๆ

พลเมืองของประเทศอื่น ๆ ควรตื่นตัวเช่นกัน ความล้มเหลวของจีน ส่งผลกระทบไปทั่วโลก เพราะจีนผลิตยาที่จัดจำหน่ายในประเทศอื่น ๆด้วย เช่น ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 บริษัท เจ้อเจียง หัวห่าย ฟาร์มาซูติคอล ผู้ผลิตยาลดความดันโลหิต วัลซาร์แทน ของจีนถูกบังคับให้เรียกคืนยาในระดับนานาชาติหลังจากพบว่ามีการปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง ตามรายงานของซีเอ็นเอ็น บริษัทจีนเป็นผู้จัดหายามาก กว่า ครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯ และแบรนด์ดังกล่าวได้รับการสั่งจ่ายอย่างกว้าง ขวางในยุโรปเช่นกัน “ไม่เพียงมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับอันตรายจาก ผลิต ภัณฑ์ที่เรียกคืนเท่านั้น แต่ปัญหารองลงมาคือผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้รับการเรียกคืนยังมีอีกมาก” นายเคร็ก บีเวอร์ส ผู้ประสานงานด้านเภสัชกรรมคลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มหาวิทยาลัยศูนย์การแพทย์เคนทักกี กล่าวกับเว็บไซต์ WebMD.com

การบ่อนทำลายความเชื่อใจ

กระแสความพินาศที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าว ยังคงกัดเซาะความไว้วางใจ ในจีนและความเชื่อมั่นในความสามารถของนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดี ในการปฏิรูประบบการผลิตอาหารและยาที่ทุจริตของจีน แม้ว่านายสีจะลงทุนลงแรงเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนภายใต้อำนาจเผด็จการอันมั่นคงของตนโดยสัญญาว่าจะดูแลประชาชน แต่ข่าวอื้อฉาวด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ กลับทำลายความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมของนายสีลงเรื่อย ๆ นักวิเคราะห์หลายคนกล่าว

“ข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับวัคซีนอีกครั้งแสดงให้เห็นถึงความ ล้มเหลวของรัฐบาลจีนในการบังคับใช้กฎหมายและการ ตรวจสอบอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ แม้ว่าจะมีรายงานเกี่ยวกับกรณีอื่น ๆ มาหลายปีแล้วก็ตาม” นายแพทริค พูน นักวิจัยประเทศจีนขององค์การนิรโทษกรรมสากลกล่าวกับเดอะการ์เดียน

ครอบครัวจีนส่วนใหญ่มีบุตรเพียงคนเดียวเนื่องจากนโยบายของจีนในอดีตที่จำกัดขนาดครอบครัว ด้วยเหตุนี้ ความผิดของรัฐบาลที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กจึงถูกมองว่าน่ากลัวเป็นพิเศษ ตามรายงานของ ดร. เมอร์ริเดน วาร์ราล ผู้เชี่ยวชาญด้านประเทศจีนจากสถาบัน โลวี ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยในออสเตรเลีย

“ทำไมเรื่องนี้ยังคงเกิดขึ้นในประเทศจีนที่บอกประชา ชนว่ากำลังอยู่ในช่วงการฟื้นฟูอย่างแท้จริง?” ดร. วาร์ราล กล่าวกับเดอะนิวยอร์กไทมส์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 “ข่าวอื้อ ฉาวแบบนี้จะไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป”

โศกนาฏกรรมที่ผ่านมา

จีนมีประวัติอันยาวนานในการปล่อยให้ผลิตภัณฑ์อันตรายไปสู่ผู้บริโภค ชาวจีน จนกระทั่งทุกวันนี้ เป็นเวลามากกว่าหนึ่งทศวรรษหลังจากโศก นาฏกรรมเรื่องนมผงสำหรับทารก พ่อแม่จำนวนมากจะไม่ยอมป้อนนมสำหรับ ทารกที่ผลิตในประเทศจีนแก่บุตรของตน ตามรายงานของสื่อต่าง ๆ ใน พ.ศ. 2551 นมผงสำหรับทารกมีการปนเปื้อนเมลามีนซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพลาสติกและปุ๋ย ทำให้เด็กหกคนเสียชีวิตและทำให้เด็กทา รกคนอื่น ๆ ในประเทศจีนล้มป่วยมากกว่า 300,000 คน สารเมลามีนก่อ ให้เกิดนิ่วในไตซึ่งพบยากในเด็กและเจ็บปวดมาก ซึ่งในที่สุดจะเกิดไตวายและเสียชีวิต เด็กทารกอย่างน้อย 1,200 คนในประเทศจีนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตขั้นร้ายแรงในเวลาต่อมา การสอบสวนระบุว่าบริษัท 22 แห่งของจีนมีความเชื่อมโยงกับนมผงสำหรับทารกที่ปนเปื้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยบริษัทรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง ตามรายงานของรอยเตอร์

ชายคนหนึ่งจัดการกับสไบนางวัวแช่แข็งบางส่วนที่นำมาจากบราซิลบนถนนเล็ก ๆ ของฮ่องกงเส้นหนึ่ง ก่อนที่สินค้านี้จะถูกลักลอบนำเข้ามาในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ทางการจีนยึดเนื้อสัตว์แช่แข็งที่ลักลอบนำเข้ามาในประเทศจีนจำนวน 100,000 ตันในช่วงเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งบางส่วนมีอายุถึง 40 ปีและเริ่มละลาย ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ของรัฐ รอยเตอร์

หนึ่งในผู้กระทำผิดกฎหมายอันดับต้น ๆ อย่างบริษัทซานลู่ ทราบข้อมูลเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2551 ว่าเกษตรกรในท้องถิ่นได้เพิ่มเมลามีนในนมของตนเพื่อให้ระดับโปรตีนสูงขึ้น และพบว่า นมผงสำหรับทารกจากฟาร์มเหล่านี้มีเมลามีนมากกว่า 4,000 เท่าจากระดับเมลามีนที่ยอมรับได้ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก โดยบริษัทซานลู่ได้รับการร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเป็นเวลาอย่างน้อยเก้าเดือนก่อนหน้านั้น ตามรายงานในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ของควอตซ์ เว็บไซต์รวบรวมและคัดสรรข่าว เนื่องจากจีนเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่งในปีนั้น บริษัทซานลู่ซึ่งถือครองส่วนแบ่งการตลาดอยู่เกือบร้อยละ 20 ของตลาดนมผงสำหรับทารกจึงดำ เนินการระงับข่าว บริษัทซานลู่ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทรัฐวิสาหกิจ และ ขยายกิจการเป็นบริษัทร่วมทุนในเวลาต่อมา โดยขายหุ้นร้อยละ 43 ให้กับบริษัทในนิวซีแลนด์ ตามรายงานของควอตซ์

นางเทียน เหวินหัว ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทซานลู่ ประธาน และสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีน ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตในข้อหาผลิตและจำหน่ายนมผงสำหรับทารกที่ปนเปื้อน แม้ว่าบริษัทจะรู้ ว่าอาจเป็นอันตรายร้ายแรงก็ตาม ตามรายงานของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ผู้บริหารอีกหลายคนได้รับโทษในสถานรองลงมา ใน พ.ศ. 2552 มีการดำเนินคดีเกษตรกรผู้ผลิตนมโคและผู้จัดหาที่จัดจำหน่ายผลิต ภัณฑ์ปนเปื้อน ตามรายงานของเดอะการ์เดียน ในปีเดียวกันนั้น บริษัทซานลู่ถูกฟ้องล้มละลาย ตามรายงานของเว็บไซต์ china.org.cn

ผลจากการดำเนินการจัดการวิกฤตของจีนที่ผิดพลาดทำให้ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 53 ยังคงต้องการบริโภคนมผงสำหรับทารกยี่ห้อจาก ต่างประเทศ ตามการสำรวจใน พ.ศ. 2560 จากประชาชน 10,000 คนใน 44 เมืองของจีนโดยแม็คคินซี่แอนด์โค ความต้องการดังกล่าวมีมากจน ทำให้นมผงสำหรับทารกในฮ่องกงเกิดการขาดแคลน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนซื้อสินค้าประเภทนมผงสำหรับทารกคิดเป็นครึ่งหนึ่งของร้านค้าปลีกในออสเตรเลียผ่านช่องทางของผู้บริโภคสู่ผู้บริโภค ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตัน โพสต์ หนังสือพิมพ์เดอะซิดนีย์มอร์นิ่งเฮรัลด์รายงานว่าใน พ.ศ. 2558 ความต้องการนม ผงสำหรับทารกของจีนมียอดขายเกิน กว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6 พันล้านบาท)

ความกลัวเชื้อเอชไอวียังคงดำเนินต่อไป

จีนยังเกิดความสั่นคลอนจากข่าวอื้อฉาวเรื่องเชื้อเอชไอวีที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ทั่วทุกชุมชนด้วย โดยในทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) และทศวรรษ 2000 (พ.ศ. 2543 – 2552) ประชาชนจีนหลายพันคนติดเชื้อเอชไอวีหลังจากจำหน่ายพลาสมาใน เลือดของตน หรือได้รับการถ่ายเลือด หรือได้รับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผลิตภัณฑ์เลือดปนเปื้อนซึ่งเก็บรวบรวมไว้ในสถานที่ที่จีนเรียกว่าศูนย์ บริจาคผิดกฎ หมาย รายงานของเนชั่นแนลพับลิคเรดิโอ ซึ่งเป็นองค์กรข่าวที่ไม่แสวงกำไรโดยมีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐฯ ระบุว่าการปนเปื้อน ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากโรงงานขาดขั้นตอนที่ปลอดภัยในการเก็บพลาสมาและการถ่ายโอนผลิตภัณฑ์เลือด ประชาชนกว่าร้อยละ 43 ที่ได้รับเลือดจากศูนย์ดังกล่าวจึงติดเชื้อเอชไอวี กระทรวงสาธารณสุข ของจีนระบุ ประชาชน ในมณฑลที่มีการเก็บตัวอย่างเลือดยังคงได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ตามรายงานของซิกซ์โทน สื่อมวลชนสตาร์ท อัพของจีน ซึ่งอธิบายถึงหมู่บ้านที่เรียกกันว่าหมู่บ้านเอดส์ที่เกิดขึ้นจากหายนะได้อย่างชัดเจน

“ต้นตอของโรคเอดส์ในประเทศจีนคือตลาดพลาสมา” นางเกา เย่าเจี๋ยแพทย์ที่ช่วยเปิดเผยสาเหตุการระบาดในมณฑลเหอหนานกล่าวกับเดอะนิวยอร์กไทมส์ “นี่คือหายนะที่มนุษย์สร้างขึ้น และกลุ่มคนที่รับผิด ชอบในเรื่อง นั้นกลับไม่ถูกสอบสวนและไม่ได้กล่าวคำขอโทษแม้แต่คำ เดียว”

ในท้ายที่สุด ภัยพิบัติดังกล่าวทำให้จีนมีขั้นตอนการตรวจคัดกรองผลิตภัณฑ์เลือดที่ดีขึ้น แต่ทางการจีนยังคงทำให้พลเมืองของตนผิดหวังในแง่ของการจัดการโรคและดำเนินการรณรงค์ด้านสุขศึกษา หนึ่งในนั้นคือความ พยายามอย่างกว้างขวางในการคัดกรองชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งไม่มีการเริ่มดำเนินการจนกระทั่ง พ.ศ. 2547 ตามรายงานของซิกซ์โทน

ปัจจุบัน แม้ว่าการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีจะชะลอตัวทั่วโลก แต่จำนวนประชาชนในประเทศจีนที่อาศัยอยู่กับเชื้อเอชไอวีและเอดส์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอัตราที่น่าตกใจ ศูนย์ควบคุมโรคของจีนระบุในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ว่ามีประชาชน 850,000 คนในจีนที่ตรวจพบเชื้อเอชไอวี ตามรายงานของนิตยสารเดอะอีโคโนมิสต์ ซึ่งตัวเลขสูงกว่าปีก่อนถึงร้อยละ12และเป็นจำนวนเกือบสามเท่า ของตัวเลขที่ได้รับรายงานใน พ.ศ. 2553 ขณะเดียวกัน การติดเชื้อเอชไอวีใหม่ทั่วโลกลดลงร้อยละ 18 จาก 2.2 ล้านรายใน พ.ศ. 2553 เป็น 1.8 ล้านรายใน พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีข้อมูล ตามรายงานของอเวิร์ต ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลระ หว่างประเทศด้านเอชไอวีและเอดส์

รายงานของบีบีซีระบุว่าในไตรมาสที่สอง ของ พ.ศ. 2561 มีการรายงานว่าพบกรณีติดเชื้อใหม่ประมาณ 40,000 ราย กรณีที่พบมีผู้ป่วยอายุ 15 ถึง 24 ปีเพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งในสามทุกปี ระหว่าง พ.ศ. 2554 ถึง พ.ศ. 2558 ตามการศึกษาวิจัยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 ที่ตีพิมพ์ในวารสารการ แพทย์เดอะแลนเซ็ท

เดอะแลนเซ็ทรายงานว่า กว่าร้อยละ 81 ของกรณีผู้ติดเชื้อรายใหม่โดยทั่วไปคิดว่าเชื่อมโยงกับ การมี เพศสัมพันธ์ ไม่ใช่จากการบริจาคโลหิต เจ้าหน้าที่จีนให้เหตุผลว่าตัวเลข ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยบางส่วนมาจากการ ทดสอบที่แพร่หลายมากขึ้น แต่ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบางคนก็แย้งว่า ควรลงมือดำเนินการมากขึ้นเพื่อ หยุดการแพร่กระจายของโรค

การหวาดกลัวอาหาร

นอกจากหายนะนมผงสำหรับทารกแล้ว ยังมีข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับ อาหารในประเทศจีนตั้งแต่ไข่ปนเปื้อนเมลามีน กะหล่ำปลีเคลือบ ฟอร์มาลดีไฮด์ ไปจนถึงเนื้อแช่แข็งอายุ 40 ปี และน้ำมันปรุงอาหารรีไซ เคิลจากถังขยะ ผู้บริโภคกังวลอยู่ทุกวันว่าอาหาร อื่น ๆ อาจมีการ ปนเปื้อนด้วย ตามรายงานของสื่อต่าง ๆ เหตุผลหลักของความกังวล เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหาร คือการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยอย่างแพร่หลายของจีนในช่วงทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523 – 2532) และทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533 – 2542) ที่ปนเปื้อนพื้นที่การเกษตร สำหรับปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ตามที่รายงานใน พ.ศ. 2544 โดยศูนย์นโยบายการเกษตรของจีน ซึ่งเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรของจีน ในงานวิจัยชื่อ “สารกำจัดศัตรูพืชในฟาร์ม การผลิตข้าว และสุขภาพของมนุษย์ในประเทศจีน” พื้นที่หลายแห่งยังได้รับการปนเปื้อนจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ไม่ได้มีการตรวจสอบมา นานหลายทศวรรษด้วย

จีนเพิ่งจะเริ่มแก้ไขปัญหาที่ดินเกษตรกรรมที่ปนเปื้อนนี้ นายหวง หยางจง นักวิชาการอาวุโสด้านสุขภาพระดับโลกของคณะมนตรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวกับควอตซ์เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561

การระบาดของไข้หวัดหมูแอฟริกาในจีนที่ผ่านมาทำให้ความกลัวด้านความปลอดภัยของอาหารโดยรวมแทบไม่สงบลงจีนรายงานว่ามีการระบาดมากกว่า 100 ครั้งใน 25 มณฑลจาก 34 มณฑลของประเทศ ตามข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่ง สหประชาชาติ สุกรเกือบ 1 ล้านตัวจาก 340 ล้านตัวของทั้งประเทศถูกกำจัดระหว่าง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561 ถึงมกราคม พ.ศ. 2562 ตามรายงานของซี เอ็นเอ็นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 แม้ว่าไวรัสจะยังไม่ติด ต่อสู่มนุษย์ แต่ก็ยังไม่มีการบรรเทาหรือรักษาโรคไข้สุกรซึ่งเป็นสาเหตุ ให้เกิดแผลที่ผิวหนังและอวัยวะของสุกร และในรูปแบบที่รุนแรงที่สุดซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตสุกรเกือบทั้งหมด ตามรายงานของเจ้าหน้าที่สาธา รณสุขขององค์การสหประชาชาติ

ตามรายงานของรอยเตอร์ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ระบุว่าโรคนี้แพร่ระบาดในจีนเร็วกว่าประเทศอื่น ขณะที่มีการระบาดรุนแรง เจ้าหน้า ที่จีนย้ำครั้งแล้วครั้งเล่าว่า “การระบาดในแผ่นดินใหญ่ของจีนได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและอยู่ภายใต้การควบคุม” ตามที่สำนักข่าวซินหัวซึ่งเป็นสื่อของรัฐรายงาน แต่ในเดือนต่อ ๆ มาก็ยังรายงานว่ามีการระบาดมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางรายกล่าวว่าการขาดความโปร่งใสของจีนน่าจะมีส่วนทำให้เกิดการระบาดเร็วขึ้น โดยยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่องหลังจากการปฏิเสธครั้งล่าสุด เจ้าหน้าที่จีนในมณฑลหูหนานทางตอนใต้และมณฑล กานซูทางตะวันตกเฉียงเหนือ พบร่องรอยของไวรัสในผลิตภัณฑ์ จากเนื้อหมูรวมถึงเกี๊ยวแช่แข็งในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ตามรายงานของวอยซ์ออฟอเมริกา

ปัญหาในระบบ

นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า ปัญหาการผลิตอาหารและชีวการ แพทย์ของจีน เกิดจากข้อบกพร่องของระบบที่ฝักรากลึกมา ยาวนาน ประการแรก กระบวนการกำกับดูแลจากเบื้องบนของจีนปิดกั้นการทำงานของประชาชนและผู้มีบทบาทสำคัญอื่น ๆ อีกมากมายจากกระบวนการ “เนื่องจากกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางอาหารประกอบไปด้วยกิจกรรมเสริมสร้างซึ่งกันและกันหลาย อย่าง (การผลิต การตลาด และการบริโภค) และเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียต่าง ๆ (เช่น ผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้บริโภค เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล) จึงมีแนวโน้มเป็นอย่างยิ่งที่กรอบการกำกับดูแลและกฎหมายที่มีรัฐเป็นศูนย์กลางที่ออกคำสั่งจากเบื้องบนจะไม่เพียงพอต่อการลดวิกฤติด้านอาหารและความปลอดภัยของจีน” นายหวงเขียนในโพสต์บล็อกซีเอฟอาร์ พ.ศ. 2557 ข้อมูลเชิงลึกของนายหวงยังคงเป็นจริง หากดูจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จนกว่าจะมีการปฏิรูปที่ดีขึ้นและมีความโปร่งใสมากขึ้นในระบบทั่วประเทศ ประชาชนจีนและประเทศอื่น ๆ ในโลกโดยเฉพาะประเทศสมาชิกในกลุ่มการค้าจะยังคงกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารและสุขภาพที่ผลิตในประเทศจีนต่อไป บางที ประธานา ธิบดีสีอาจสรุปด้วยตัวเองได้ดีที่สุดในช่วงการชี้แจงใน พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นปีที่เข้ารับตำแหน่ง “หากพรรคของเราไม่สามารถจัดการกับความ ปลอดภัยด้านอาหารได้อย่างถูกต้องในขณะที่ปกครองประเทศจีนและปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินต่อไป บางคนอาจสงสัยถึงความสามารถในการทำงานของเรา” นายสีกล่าว ตามรายงานของเดอะนิวยอร์กไทมส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Back to top button